ประชาธิปไตยทางตรง: แนวโน้มในอนาคต

ท่ามกลางกระแสการเมืองที่ร้อนระอุในปัจจุบัน ระบอบการเมืองประชาธิปไตยในระบบตัวแทนดูจะถูกมองว่าไม่สามารถหาทางออกให้ปัญหาได้ดีนัก เพราะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อไปเป็นผู้แทนของประชาชนกลายเป็นภาพพจน์ต้นเหตุของความวุ่นวาย ผมคิดว่าประชาธิปไตยทางตรงนั้นอาจเป็นทางออกที่น่าจะพิจารณาเสริมเข้ามาในระบบ และน่าจะเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอนาคตประเทศไทยมีแนวโน้มมาทางประชาธิปไตยทางตรงมากขึ้น นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.. 2540 ซึ่งให้สิทธิแก่ประชาชนในการออกเสียงทางการเมืองระดับชาติได้โดยตรงแทนการให้อำนาจ ส.. ในการดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียว เช่น การทำประชาพิจารณ์เป็นส่วนหนึ่งก่อนดำเนินการในโครงการสำคัญภาครัฐ การให้สิทธิในลงชื่อเพื่อตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารได้

แต่สิทธิดังกล่าวยังคงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่เล็กน้อยของประชาธิปไตยทางตรง ผมคาดว่าในอนาคตระบอบประชาธิปไตยทางตรงในประเทศไทยจะพัฒนากว่านี้อีกมากนัก

ในอดีตการประกวดร้องเพลง ประกวดนางงาม ฯลฯ มักใช้วิธีการตัดสินโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ หรืออย่างมากก็ใช้วิธีการลงคะแนนจากคนบางกลุ่ม เช่น คนดูหรือช่างภาพ แต่ในปัจจุบันการตัดสินการประกวดที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ คือ การโหวตจากผู้ชมทางบ้านทั่วประเทศผ่านทาง SMS (Short Message Service) โดยใช้โทรศัพท์มือถือบ้าง หรือการลงคะแนนผ่านทางอินเทอร์เน็ตบ้าง จากปรากฏการณ์นี้เราเห็นแนวโน้มอย่างหนึ่งว่า อำนาจในการตัดสิน (ใจ) นั้นกระจายจากเดิมที่มีผู้มีอำนาจไม่กี่คนไปเป็นมหาชนในปัจจุบัน

ผมคาดว่า ในอนาคตหากแน่ใจว่าป้องกันปัญหาการจัดตั้งกระแสได้ เราอาจได้เห็นการลงคะแนนของคนทั้งประเทศผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อย่าง โทรศัพท์มือถือหรืออินเทอร์เน็ต ในการตัดสินใจทางการเมืองที่สำคัญๆ เช่น นโยบายของรัฐ นอกจากการเลือกตั้งแต่เพียงอย่างเดียว

เนื่องจาก ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มีประชากรเป็นตัวเลข 8 หลัก จึงทำให้ต้นทุนทางธุรกรรมจากการได้มาซึ่งผลการตัดสินใจของประชาชนทั้ง
ประเทศนั้นสูงมาก ตัวอย่างที่เห็นชัดก็คือ การเลือกตั้ง ส
.. ในประเทศไทย ที่มีต้องใช้งบประมาณถึงกว่า 2,000 ล้านบาทต่อการเลือกตั้งเพียงครั้งเดียว ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขนี้ยังไม่รวมต้นทุนค่าเสียโอกาสอื่นอันไม่ได้ถูกประเมิน เช่น ค่าเสียเวลาในการทำงานของบริษัทเอกชนบางแห่ง จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่การผ่านกฎหมายทุกๆ ฉบับจะได้รับการตัดสินใจโดยประชาชนทุกคนในประเทศ

แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง การส่ง SMS ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือการส่งข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้การรวบรวมข้อมูลการตัดสินใจของประชาชนทั่วประเทศมีต้นทุนที่ต่ำลงอย่างมาก อย่างเช่นรายการ Academy fantasia ซึ่งเป็น Reality show ของ UBC นั้นใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาทในการจัดทำ แต่งบประมาณส่วนใหญ่นั้นเป็นไปเพื่อการประชาสัมพันธ์ ดังนั้นงบประมาณสำหรับระบบการโหวตผ่าน SMS ในการแข่งขันทั้ง 12 รอบนั้น น่าจะอยู่เพียงตัวเลข 7 หลัก ซึ่งถือต่ำมาก สำหรับการจัดการคะแนนโหวตที่มีนับล้านครั้งในแต่ละรอบ

ด้วยต้นทุนในการจัดการคะแนนโหวตที่ต่ำเช่นนี้ หากเราอนุมานกับระบอบการเมือง ทำให้เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าในอนาคตเทคโนโลยีด้านการสื่อสารจะถูกนำมาใช้เพื่อการลงคะแนนเสียงทางการเมือง ในอนาคตหากแก้ปัญหาการจัดตั้งปั่นกระแสทาง SMS โทรศัทพ์มือถือ และอินเตอร์เน็ตได้ เราอาจได้เห็นการลงคะแนนตัดสินใจในโครงการใหญ่ๆ ของภาครัฐผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่การลงชื่อถอดถอนครม. ผ่านทาง SMS อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตยทางตรงจากพลังขับเคลื่อนของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย

ในด้านผลดีนั้น ประชาธิปไตยทางตรงเป็นการให้อำนาจ (Empower) ประชาชนมากขึ้นกว่าระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ในอดีตประชาชนต้องเลือก ส.. เป็นผู้แทน เป็นเวลา 4 ปี โดยไม่มีสิทธิ์เปลี่ยน ไม่มีสิทธิ์ตอบโต้ ทำให้ ส.. อาจไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง แต่ในระบบประชาธิปไตยทางตรงนั้น ประชาชนจะมีอำนาจมากขึ้นในการตัดสินใจทางการเมือง ทั้งด้านนโยบายและด้านการตรวจสอบ ในอนาคตหาก
รัฐบาลคอร์รัปชั่นมากจนคะแนนเสียงตก รัฐบาลอาจถูกถอดถอนจากการโหวตของประชาชนได้ในทันที ไม่ต้องอาศัยการกดดันผ่านสื่อหรือ
การชุมนุมอย่างปัจจุบันซึ่งเกิดต้นทุนค่าโอกาสในการกดดันแต่ละครั้งค่อนข้างมาก

ใช่ว่าประชาธิปไตยทางตรงนั้นจะมีแต่ผลดีด้านเดียว แม้ประชาธิปไตยทางตรงจะให้อำนาจแก่ประชาชนก็จริง แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าผลการตัดสินนั้นจะถูกต้องหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น หากเราใช้หลักเกณฑ์ความถูกต้องของข้อสอบด้วยการโหวตของนักเรียน คำเฉลยที่ออกมานั้นย่อมไม่ถูกต้องทั้งหมดแน่นอน ดังนั้นประชาธิปไตยทางตรงต้องการเงื่อนไข นั้นก็คือจะต้องเกิดสังคมฐานความรู้ (Knowledge based society) ซึ่งประกอบด้วยประชากรที่มีวุฒิภาวะ (Maturity) เพื่อเป็นหลักประกันว่าผลการลงคะแนนนั้นจะเป็นไปตามความถูกต้อง ไม่ใช่เป็นการลงคะแนนด้วยอารมณ์หรือความหลงผิด

ดังนั้น เพื่อรับสถานการณ์ที่เทคโนโลยีสารสนเทศจะถูกนำมาใช้ในการลงคะแนนเสียงในอนาคต รัฐบาลน่าจะมีส่วนส่งเสริมวุฒิภาวะของประชาชนตั้งแต่ปัจจุบัน ด้วยการสร้าง ldquo;ปัญญาrdquo; ให้แก่ประชาชน ปัญญาในที่นี้มิได้หมายถึงความรู้ด้านวิชาการเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ตามความเป็นจริง โดยรู้จักวิเคราะห์แยกแยะข้อเท็จจริงออกจากข้อมูลที่ได้รับมาทั้งหมดได้ รวมถึงตัดสินใจเลือกด้วยเหตุผล ไม่ใช่ด้วยความรู้สึก

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2006-05-08