สังคม

“ผู้เขียนขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับที่มาที่ไปและความแตกต่างของคำว่า ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) ทุนมนุษย์ (Human Capital) และ ศักยภาพสูงสุดของความเป็นมนุษย์ (Human Potentiality) เพราะสิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมและให้คุณค่าในการพัฒนามนุษย์ 

การทำงานเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์ทุกคน เมื่อเราเติบโตพ้นวัยเด็ก เราจะเข้าสู่ “วัยทำงาน” ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ยาวนานที่สุด อาจจะมากกว่าครึ่งชีวิต ในการทำงานถ้าทำงานเพื่อเงิน โดยที่ไม่เห็นคุณค่าหรือไม่ได้ชอบงานที่ทำ ย่อมไม่มีความสุขในการทำงาน และถ้าเราไม่สามารถบูรณาการระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวได้อย่างกลมกลืน อย่างมีประสิทธิภาพ แม้มีเวลามากก็อาจไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้

ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่สนับสนุน ยุทธศาสตร์การสร้าง คนดี คนเก่ง คนกล้า ซึ่งมองว่าสิ่งนี้เป็นประเด็นสำคัญของประเทศ และก็เป็นฟันเฟืองหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดผลในภาคปฏิบัติ ผ่านทาง งานบรรยาย บทความ และหนังสือ 

การสร้างทายาทเป็นปัจจัยความสำเร็จที่ยั่งยืนขององค์กร ซึ่งหลายองค์กรประสบความสำเร็จ แต่ประสบปัญหาไม่สามารถยืนระยะอยู่ได้ยาวนาน เนื่องจากปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ การขาดทายาทรับช่วงต่อ โดยมีคำกล่าวของชาวจีนที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า “ไม่เกิน 3 ชั่วคน จะเกิดการเปลี่ยนแปลง” หมายความว่า องค์กรธุรกิจหรือองค์กรประเภทใด ๆ ก็ตาม ไม่อาจรุ่งเรืองมั่นคงไปได้เกิน 3 รุ่น การรักษาองค์กรให้มั่งคั่งและมั่นคงมีอายุยืนยาวนับ 100 ปี หรือมากกว่า 3 รุ่นขึ้นไป นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้นำองค์กร เพราะองค์กรจะต้องฝ่าฟันและก้าวข้ามสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ความถดถอยตามวัฏจักรธุรกิจ กระแสการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโลก การปฏิวัติทางเทคโนโลยีรวมถึง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเกิดโรคระบาด จะเห็นว่า ทายาท คือ บุคคลสำคัญที่จะทำให้องค์กรคงอยู่หรือหายไป การสร้างทายาทจึงเป็นปัจจัยความอยู่รอดขององค์กร เราจะสร้างทายาท เพื่อสร้างองค์กรให้อย่างยั่งยืนได้อย่างไร ผมจึงเสนอแนวทางการสร้างทายาท เพื่อสร้างองค์กรยั่งยืน 3 ประการ ดังนี้

        การสัมผัส ซึ่งรวมถึงการสัมผัสตัว การจับมือ จูบ การโอบกอด ดูเหมือนเป็นเพียงการแสดงออกของความรัก ความเป็นมิตร และความสัมพันธ์ที่ดี แต่การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ พบว่า การสัมผัสส่งผลไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความสุข แต่ยังทำให้สุขภาพดี ซึ่งอาจทำให้มีชีวิตยืนยาวในที่สุด (Field, 2011) การสัมผัสเป็นกิจกรรมที่สามารถสื่อสารอารมณ์ไปยังผู้ที่ถูกสัมผัสได้ การทดลองที่ออกแบบให้อาสาสมัครได้รับการสัมผัส โดยมองไม่เห็นผู้ที่มาสัมผัสและการสัมผัสนั้น แล้วให้อาสาสมัครทายอารมณ์ของอีกฝ่ายหนึ่ง พบว่า กลุ่มคนที่เข้าทำการทดลองมากกว่าครึ่งหนึ่งสามารถทายอารมณ์ของอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างถูกต้อง (Hertenstein et al., 2006 & 2009) การสัมผัสจึงเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกไปยังผู้ถูกสัมผัส การสัมผัสด้วยความรักและปรารถนาดีจึงเป็นการส่งสัญญาณไปให้ผู้รับได้รับกำลังใจและมีความสุข

“ปัจจุบันการศึกษาของโลกกำลังก้าวสู่สังคมความรู้แต่การศึกษาของไทยเรายังอยู่ในช่วงเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคดังกล่าว ยังไม่ได้เข้าสู่ยุคสังคมความรู้อย่างแท้จริงการจะเข้าสู่ยุคดังกล่าว ผู้เขียนมีความคิดว่าต้องเกิดการปฏิวัติความคิดขนานใหญ่ทั้งประเทศ เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาของจริง” 

“หนึ่งในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าคือสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน ที่อาจต้องอาศัยกระบวนทัศน์และวิธีคิดแบบใหม่ การมีวิสัยทัศน์ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศของผู้บริหารที่ควรมุ่งไปสู่การก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้ได้”

“ขอแนะอีกหลักการ สำหรับการคัดเลือกพนักงาน ด้วยการพิจารณาแบบ Neo-CV เป็นการมองชีวิตทั้ง กระบวนการตั้งแต่ ความคิด ความรู้ ตัวตน และวิถีชีวิตซึ่งจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ตัวตน ความหลงใหลของคนๆ นั้นได้ผ่านการแสดงออกทั้งด้วยคำพูดและการกระทำ” 

ขอเสนอกลยุทธ์ระดับนโยบายรัฐ ในการฟื้นคืนชีพการท่องเที่ยวไทยประเทศ ที่ควรกำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว โดยตั้งอยู่บนต้นทุนที่เป็นจุดแข็งของประเทศ 4 ด้าน คือ อาหาร การท่องเที่ยว การบริการสุขสภาพ และการดูแลผู้สูงอายุ 

ก่อนวิกฤตโควิด ภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สร้างรายได้ให้ประเทศไทยประมาณร้อยละ 20 ของ GDP หรือประมาณ 3.1 ล้านล้านบาท โดยมีรายได้มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.93 ล้านล้านบาท และนักท่องเที่ยวไทย 1.08 ล้านล้านบาท

ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวกระจายไปสู่ธุรกิจสายการบิน การเดินเรือ ธุรกิจรถเช่าโรงแรม ร้านอาหาร และยังมีธุรกิจอื่นที่ได้รับประโยชน์โดยอ้อม โดยเฉพาะเศรษฐกิจท้องถิ่นเศรษฐกิจภาคการเกษตร และภาคบริการอื่นๆ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการจ้างงานทั้งโดยตรงและโดยอ้อมถึงประมาณ 8 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของกำลังแรงงานของประเทศ

ผมเรียกตัวเองว่าเป็น นวัตกรที่ประหยัด (Thrifty innovationist) เพราะ เป็นคนที่ชอบคิดสิ่งใหม่ตั้งแต่เด็ก 

 เมื่อใช้สิ่งของต่าง ๆ แล้วรู้สึกยังไม่ดีพอ เช่น ไม่ประหยัดเวลา ไม่สะดวก ขั้นตอนยุ่งยาก ผมจะคิดเสมอว่า ‘น่าจะทำให้ดีกว่านี้ได้’ โดยนวัตกรรมทางความคิดที่ผมเคยคิดเมื่อยังเป็นเด็ก ขณะนี้มีคนทำให้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋าแบบมีล้อ อาหารที่สามารถอุ่นได้ในตัว รถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น