อารยะ

จำนวนผู้ประกอบการทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 400 ล้านคน (1 คนต่อประชากรโลก 19 คน) ในปี 2012 เป็น 1 พันล้านคน (2.3 คนต่อประชากรโลก 19 คน) ในปี 2020 เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ส่งผลให้ต้นทุนในการทำธุรกิจและต้นทุนในการผลิตสินค้าต้นแบบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงไม่เป็นการยากที่จะเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการในปัจจุบัน ปัจจุบัน คนหนุ่มสาว โดยเฉพาะ Gen Y มีความต้องการเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น เพราะต้องการทำงานที่เป็นอิสระตามความคิดของตัวเอง เป็นนายของตัวเอง หรือต้องการร่ำรวยอย่างรวดเร็ว และเกษียณอายุก่อนกำหนด แล้วใช้ชีวิตที่เหลือพักผ่อนและท่องเที่ยว

ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่สนับสนุน ยุทธศาสตร์การสร้าง คนดี คนเก่ง คนกล้า ซึ่งมองว่าสิ่งนี้เป็นประเด็นสำคัญของประเทศ และก็เป็นฟันเฟืองหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดผลในภาคปฏิบัติ ผ่านทาง งานบรรยาย บทความ และหนังสือ 

     ผมกล่าวเสมอว่า “ในเรื่องเดียวกัน คนที่มีหลักปรัชญาที่แตกต่างกัน จะมีจุดยืนและการตัดสินใจที่แตกต่างกัน” ยกตัวอย่าง เหมา เจ๋อตุง และเติ้ง เสี่ยวผิง บริหารจัดการประเทศจีนต่างกัน เพราะมีปรัชญาเบื้องหลังเกี่ยวกับมนุษย์ที่ไม่เหมือนกัน
     เหมา เจ๋อตุง มีหลักปรัชญาที่ว่า ‘มนุษย์เห็นแก่ผู้อื่น ยินดีเสียสละแบ่งปัน ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน’ทำให้เกิดเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางและระบบคอมมูน โดยมองว่าชาวนาเป็นแรงงานของรัฐ ทุกคนได้รับผลตอบแทนเท่ากัน
     เติ้ง เสี่ยวผิง มีหลักปรัชญาว่า ‘มนุษย์เห็นแก่ประโยชน์ตัวเองมากกว่าผู้อื่น’ และการจะทำเพื่อผู้อื่นนั้นจะต้องมีแรงจูงใจ จึงนำไปสู่การปฏิรูปเศรษฐกิจโดยการใช้แรงจูงใจแก่ชาวนาในชนบท และใช้กลไกตลาดแบบค่อยเป็นค่อยไป

ข้อมูลจากธนาคารโลก บ่งชี้ว่า ประเทศที่ประชาชนมีความรักชาติมากจะมีการคอร์รัปชันต่ำ ประชาชนจะสนใจเพื่อนร่วมชาติ และไม่ละเมิดกฎหมาย สิทธิของผู้อื่น ส่งผลให้ประชาชนมีความสุข โดยคนที่ทำร้ายสังคมหรือคอร์รัปชันจะถูกต่อต้านและคว่ำบาตร ในทางตรงกันข้าม ประชาชนที่ไม่รักชาติ จะทำลายซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ไม่สนใจเรื่องการฉ้อฉล กลโกง และความพินาศของประเทศ พฤติกรรมดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจ และความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศโดยตรง

“‘การสร้างชาติ’ จะต้องเกิดมาจากความร่วมมือของประชาชนทั้งประเทศ และมีเป้าหมายในการนำประเทศให้ก้าวไปสู่ความเป็นอารยะ กล่าวคือ ไม่ได้มุ่งแก้เพียงอาการของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ต้องแก้ไปถึงรากของปัญหาที่อยู่เบื้องลึก” ไม่ว่าเด็ก เยาวชน หรือผู้ใหญ่ ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างชาติได้  โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มคนสำคัญที่จะกลายเป็นกำลังหลักในอนาคตในการกำหนดทิศทางของประเทศชาติบ้านเมือง เป็นช่วงวัยที่มีพลัง มีมุมมองทัศนคติต่อประเทศและโลกที่เปิดกว้าง ก้าวทัน และว่องไวในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นทั้งผู้รับและผู้ดำเนินการพัฒนาประเทศในอนาคต เมื่อวันที่ 15 – 17 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา สถาบันการสร้างชาติ (NBI) และนักศึกษาหลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติ (นสช.) รุ่นที่ 2 ได้จัดค่ายเยาวชนสร้างชาติ (NBI – Youth Camp) รุ่นที่ 1  ณ ค่ายลูกเสือ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนักเรียนและนักศึกษาเข้าร่วมค่ายกว่า 300 คน และผมได้บรรยายในประเด็น “ทำไมเยาวชนต้องสร้างชาติ” ซึ่งจะขอนำเสนอในบทความตอนนี้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีเยาวชนจำนวนมากที่สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่โลกใบนี้ เช่น

         ผมได้อ่านบทความหนึ่งในนิตยสาร Forbes – The 400 Richest People in America ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ.2017 เกี่ยวกับ “เศรษฐีใจบุญที่สุด” ในสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ มีการจัดอับดับเศรษฐีที่ “ให้” มากที่สุด โดยพิจารณาจากปริมาณเงินที่ให้หรือบริจาคเป็นหลัก ทั้งนี้
ทำงาน 52 นาที พัก 17 นาที เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน....
 
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 จูเลีย กิลฟอร์ด (Julia Gifford) ได้นำเสนอบทความชื่อ The Rule of 52 and 17: It's Random, But it Ups Your Productivity  หรือ กฎทำงาน 52 นาที พัก 17 นาที เพิ่มผลิตภาพ ซึ่งเป็นบทสรุปจากการติดตามและสำรวจผู้ใช้แอพพลิเคชั่น DeskTime ซึ่งเป็นโปรแกรมในการช่วยติดตามการทำงานของผู้เข้ารับวิจัย เพื่อศึกษานิสัยของคนที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 
 
การสำรวจพบว่า ร้อยละ 10 ของผู้ที่สามารถสร้างผลิตภาพได้สูงสุด จะใช้เวลาพักได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพวกเขาจะใช้เวลาเฉลี่ยในการทำงานอย่างจริงจังต่อเนื่องเป็นเวลา 52 นาที และจากนั้นจะพักประมาณ 17 นาที ก่อนที่จะกลับมาทำงานอย่างตั้งอกตั้งใจต่อไป ซึ่งสามารถทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

"...ความสามัคคีนี้เป็นคุณธรรมสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งหมู่ชนอยู่รวมกันจำเป็นต้องมี ต้องถนอมรักษาและต้องนำมาใช้อยู่สม่ำเสมอ ถ้าแต่ละฝ่ายเข้ามาร่วมกันทำงานด้วยความตั้งใจดีด้วยความสามัคคี ความรู้ความสามารถ และด้วยความคิดที่สร้างสรรค์งานก็สำเร็จสมบูรณ์งดงามตามประสงค์ทุกอย่าง..."
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการเสด็จออกมหาสมาคม
งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2530
 
พระราชดำรัสนี้มีสาระสำคัญคือ ความสามัคคีเป็นคุณธรรมเกื้อหนุนค้ำจุนให้กิจการงานต่างๆ ที่ทำร่วมกันประสบผลสำเร็จตามความประสงค์ เกิดความเจริญก้าวหน้า เป็นคุณธรรมสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการถนอมรักษาและพัฒนาให้จำเริญงอกงามขึ้นท่ามกลางการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
 
ความสามัคคีหมายถึงอะไร? มีความสำคัญอย่างไร?

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่ ณ ขณะนี้ เป็นเหมือนภาพยนตร์เรื่องเดิมที่ฉายซ้ำแต่เปลี่ยนตัวแสดง เป็นวงจรการทำลายล้าง?คู่ขัดแย้ง"

ที่แท้จริงแล้ว ?ไม่สามารถ? ยุติได้ด้วยแรงกดดันของมวลมหาประชาชน เพราะแต่ละฝ่ายต่างก็มี ?มวลมหาประชาชน? ที่พร้อมออกจากบ้านมาแสดงพลังสนับสนุนในจำนวนนับล้านคนได้เช่นเดียวกัน!!

หลังจากที่พิจารณาแล้ว เราแต่ละคนจะเกิด ?จุดยืน? ต่อเรื่องนั้น ๆ ที่ชัดเจนขึ้น แต่อาจจะเป็นจุดยืนที่แตกต่างกันเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย หรือฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายค้าน

การตัดสินใจโดยใช้ ?อำนาจ? ที่มากกว่า อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด นอกจากอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งแล้ว ยังอาจทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างไม่รอบคอบ และทำให้ส่วนรวมต้องรับผลกระทบเชิงลบตามมา