ปกป้องลูกรักด้วย ?ทักษะความปลอดภัย?
...เด็กน้อยวัยซนพลัดตกสระน้ำหลังบ้าน ช่วยไม่ทัน ตายอนาถ
...ครูหื่นข่มขืนศิษย์ ฉวยโอกาสขณะเรียกมาติววิชาที่โรงเรียนวันหยุด
...รถยนต์ชนเด็กนักเรียนตายคาที่ขณะกำลังเดินไปโรงเรียน
...แม่อุ้มลูกซ้อนจักรยานยนต์ประสานงาสิบล้อ เด็กถูกทับตายคาล้อ
พาดหัวข่าวต่าง ๆ นี้เป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้บ่อยครั้งตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน อันนำมาซึ่งความเศร้าสลดใจของพ่อแม่ผู้สูญเสียทุกท่าน หากดูสถิติของเด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในแต่ละปี พบว่า ตัวเลขสูงขึ้นมากอย่างน่าตกใจ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุจากการจมน้ำที่เป็นแชมป์อันดับหนึ่งในการคร่าชีวิตเด็กไทยไปมากที่สุดกว่า 1,500 รายต่อปีรวมทั้งอุบัติเหตุทางรถยนต์ภัยจราจร ภัยจากการล่วงละเมิดทางเพศ ฯลฯ
เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า ในขณะที่ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองยังไม่ได้มีการออกกฎหมายหรือมีมาตรการที่ชัดเจนใด ๆ ในการดูแลรักษาความปลอดภัยสำหรับเด็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องถนนหนทาง ท่อระบายน้ำที่ไม่มีฝาปิด สวนสนุกหรือสนามเด็กเล่นที่มีเครื่องเล่นไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ฯลฯ ในฐานะเราซึ่งเป็นพ่อแม่ จะมีส่วนในการปกป้องลูกให้พ้นจากภัยอันตรายดังกล่าวได้อย่างไร
ประการแรก พ่อแม่ทำในส่วนของตนเองอย่างเต็มที่เพราะอุบัติเหตุที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งนั้นพบว่า มีสาเหตุมาจากความประมาทเลินเล่อของพ่อแม่นั่นเอง ตัวอย่างเช่น แม่มัวแต่ติดตามละครทีวีเรื่องโปรด จนปล่อยให้ลูกน้อยวัยคลานคลาดไปจากสายตา เมื่อนึกขึ้นมาได้อีกครั้งปรากฏว่าลูกน้อยคลานไปตกน้ำคลองหลังบ้านเสียชีวิตไปแล้ว
พ่อแม่ต้องตระหนักถึงบทบาทสำคัญของตนในการเป็นผู้ปกป้องดูแลความปลอดภัยให้กับลูก และทำหน้าที่นี้อย่างสุดกำลังความสามารถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้พ่อแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าคิดว่า ldquo;ไม่เป็นไรrdquo;... ldquo;ประเดี๋ยวเดียวrdquo;...ldquo;เดี๋ยวก่อนrdquo;ฯลฯเพราะเราอาจไม่มีโอกาสแก้ตัวใหม่ได้เลย หากเกิดเหตุการณ์น่าสลดใจขึ้น
นอกจากไม่ประมาทแล้วสิ่งสำคัญคือ พ่อแม่ควรเรียนรู้วิธีการป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูก การประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นสำรวจทุกพื้นที่ในบ้านว่ามีบริเวณใดในบ้านที่ยังไม่ปลอดภัยสำหรับลูกหรือไม่ รวมทั้งการสื่อสารกับลูกอย่างสม่ำเสมอในประเด็นเรื่องความปลอดภัยต่าง ๆตัวอย่างเช่นสอบถามลูกเสมอในเรื่องความปลอดภัยระหว่างการเดินทางไปกลับโรงเรียน ความปลอดภัยในโรงเรียน สนามเด็กเล่นเป็นอย่างไร มีมุมอันตรายอะไรบ้าง โรงเรียนมีซ้อมวิธีหนีไฟหรือไม่ ฯลฯ เพื่อหาแนวทางป้องกันแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
ประการที่สอง การสร้างทักษะความปลอดภัย หรือ ทักษะระวังภัย (safty skill) ให้แก่ลูกเนื่องจากเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต เป็นทักษะเพื่อการมีชีวิตรอด โดยพบว่าในผู้ใหญ่จะมีทักษะด้านนี้สูงกว่าเด็ก เนื่องจากได้สั่งสมประสบการณ์ชีวิตมากกว่าและหลากหลายกว่าอย่างไรก็ตามเราไม่สามารถปล่อยให้ลูกเรียนรู้จักทักษะความปลอดภัยนี้โดยการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง แต่ควรสอนและฝึกฝนทักษะความปลอดภัยให้แก่ลูกจนเกิดความเชี่ยวชาญเริ่มจาก
การฝึกทักษะความปลอดภัยขั้นพื้นฐานต่าง ๆ (basic safty skills)เพื่อการเอาตัวรอดในสถานการณ์ที่ยากลำบากต่าง ๆที่ลูกอาจต้องเผชิญในการดำเนินชีวิตประจำวันตัวอย่างเช่น
ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ เนื่องจากเป็นสาเหตุจากการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทย ดังนั้นจึงเป็นทักษะที่พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกได้ฝึกฝนตั้งแต่เด็กยิ่งเร็วยิ่งดี เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เมื่ออยู่ในน้ำเช่น สามารถลอยตัวในน้ำได้ สามารถว่ายน้ำกลับเข้าฝั่งได้ เป็นต้น
ทักษะความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เนื่องจากการเดินทางเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยเฉพาอย่างยิ่งในการเดินทางไปกลับบ้านและโรงเรียนของเด็ก ๆการสอนทักษะความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนจึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามให้ลูกไปเรียนรู้เอาเอง โดยประเด็นสำคัญที่ควรฝึกฝนลูก อาทิทักษะการข้ามถนน ทางม้าลาย สัญญาณไฟจราจรทักษะการขึ้นรถ-ลงโดยสารประจำทางอย่างปลอดภัย ต้องรถให้รถจอดสนิทก่อน ซ้อนท้ายจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกกันน็อค เป็นต้น โดยการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภารปฏิบัติ และพ่อแม่ต้องทำเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็นด้วยเช่นกัน
ทักษะในการปกป้องสิทธิของตนเอง เนื่องจากเด็ก ๆ ยังไม่รู้จักสิทธิในการปกป้องตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านร่างกาย จึงเป็นการเปิดช่องให้กับพวกชอบฉวยโอกาสกับเด็กในการล่วงละเมิดทางเพศ ทั้งจากญาติพี่น้อง คนแปลกหน้าอันถือเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อเด็ก ดังนั้นพ่อแม่จึงควรสอนให้เด็กเรียนรู้จักสิทธิในการปกป้องร่างกายของตนเอง โดยการปฏิเสธ ปัดป้อง ร้องขอความช่วยเหลือ เมื่อมีบุคคลใดเข้ามาแตะเนื้อต้องตัว สัมผัสในที่หวงห้าม อันทำให้เด็กรู้สึกไม่ปลอดภัย
ทักษะการขอความช่วยเหลือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ หรือในยามที่ตกอยู่ในการถูกคุกคามเด็ก ๆ อาจไม่รู้ว่าควรจะตอบสนองอย่างไรพ่อแม่ควรสอนและฝึกให้ลูกชุดประโยคที่สำคัญเหล่านี้จนติดปากอาทิldquo;ช่วยด้วยrdquo; ldquo;คนนี้จะมาทำร้ายหนูrdquo; รวมทั้งสถานที่ที่ลูกสามารถหนีและเข้าไปขอความช่วยเหลือ อาทิ ชุมชนที่มีคนหนาแน่นป้อมยามนอกจากนี้พ่อแม่ควรให้ลูกจดจำเบอร์โทรฉุกเฉินของหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน เช่น เหตุด่วนเหตุร้าย ให้โทร 191เป็นต้น และสอนให้ลูกจดจำชื่อตัวเอง พ่อแม่ เบอร์โทร ที่อยู่บ้าน จนขึ้นใจ หรือจดใส่กระดาษให้ลูกพกติดตัวหรือใส่กระเป๋าเสื้อลูกไว้ด้วยเช่นกันในกรณีฉุกเฉิน หลงทาง กลับบ้านไม่ถูกเพื่อเป็นประโยชน์ในการขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
ฝึกฝนทักษะการประเมินและจัดการความเสี่ยง เนื่องจาก ในหลายเหตุการณ์ดูเหมือนไม่น่าจะมีอันตรายใด ๆ เกิดขึ้นนั้นอาจมี ldquo;ความเสี่ยงrdquo; ต่อการได้รับอันตรายต่าง ๆ ซ่อนอยู่อย่างที่เราเองอาจไม่คาดคิด ดังนั้นพ่อแม่จึงควรสอนให้ลูกเรียนรู้จักการประเมินและการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อหาทางป้องกันลดความรุนแรง ของอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และเป็นประโยชน์สำคัญในการตัดสินใจหาทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุด
ประเมินความเสี่ยง เพื่อวิเคราะห์ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวนี้มีอันตรายอะไรที่ซ่อนอยู่หรือไม่อาทิ หากลูกอยากลงเล่นน้ำที่น้ำตกแห่งหนึ่ง พ่อแม่ควรชี้ให้ลูกฝึกวิเคราะห์และประเมินหาความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ ตัวอย่างเช่นทำไมน้ำตกแห่งนี้ถึงไม่มีคนลงเล่นน้ำเลย มีอะไรไม่ชอบมาพากลหรือไม่...จะมีวังน้ำวนอยู่ข้างใต้หรือไม่... น้ำจะลึกหรือไม่....เราว่ายน้ำแข็งขนาดไหน หรือ พอได้แบบงู ๆ ปลา ๆ เป็นต้น
จัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ในการลดความเสี่ยงและตัดสินใจหาทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุด โดยแนวทางการจัดการความเสี่ยงสามารถทำได้โดย
...การขอคำปรึกษา จากผู้รู้หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือต่าง ๆเช่น สอบถามจากชาวบ้านในบริเวณนั้นว่าน้ำตกแห่งนี้เป็นอย่างไรเล่นได้หรือไม่ น้ำลึกหรือไม่เป็นต้น
...หาวิธีการป้องกัน หาตัวช่วยซึ่งอาจเป็นคนหรืออุปกรณ์ เครื่องมือ ด้านความปลอดภัย เช่นหากกลัวว่าน้ำลึกเหยียบไม่ถึง แต่ประเมินแล้วว่าน่าจะปลอดภัยพอ จึงนำอุปกรณ์ชูชีพ หรือห่วงยางลงไปเล่นน้ำด้วยเป็นต้น
การฝึกโดยใช้เหตุการณ์สมมติ หรือ การใช้กรณีศึกษา โดยใช้วิธีการสมมติเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมลูกให้สามารถรับมือได้อย่างชาญฉลาด ในกรณีที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์นั้นจริง ๆโดยอาจใช้คำถามว่า ldquo;หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ลูกจะทำอย่างไรrdquo;ตัวอย่างเช่น สมมติว่าระหว่างทางที่ลูกกลับบ้าน มีโจรมาปล้น กระชากกระเป๋า ลูกจะทำอย่างไรเพื่อช่วยกันระดมความคิดเห็นถึงแนวทาป้องกัน การหาทางหนีทีไล่ โดยพ่อแม่สามารถเสนอความคิดเห็นและแนะนำลูกไปด้วยระหว่างทาง เช่นร้องเสียงดังให้คนช่วยหากโจรมีอาวุธอย่าสู้พร้อมชี้ให้เห็นว่าทางที่ดีหาวิธีการป้องกันตนเองไม่ให้ตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว โดยไม่กลับบ้านดึก ๆ ดื่น ๆ เดินทางเปลี่ยว ฯลฯ น่าจะดีกว่านอกจากนี้พ่อแม่ยังสามารถแบ่งปันลูกจากกรณีศึกษา เหตุการณ์จริงต่าง ๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือรายการทีวี เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจและหาแนวทางป้องกันต่อภัยที่อาจเกิดขึ้น
ประการสุดท้าย การผลักดันภาครัฐให้ออกกฎหมาย มาตรการป้องกันดูแลรักษาความปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชนในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆโดยการรวมพลังพร้อมสร้างเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน พ่อแม่ผู้ปกครองอื่น ๆ เพื่อสร้างสังคมแห่งความปลอดภัยให้ลูกหลานของเราในอนาคตต่อไป
หัวใจหลักสำคัญในเรื่องความปลอดภัยคือ ldquo;ความไม่ประมาทrdquo;พ่อแม่สามารถปกป้องลูกที่รักของเราให้พ้นจากภัยอันตรายต่าง ๆ ได้โดยการคิดอย่างรอบคอบ ไม่ประมาทเลินเล่อ ทำอย่างเต็มที่ในส่วนของตนในการปกป้องดูแลลูกให้พ้นจากภัยอันตราย สร้างและฝึกฝนทักษะความปลอดภัยให้กับลูกให้ติดตัวเป็นเกราะคุ้มภัย รวมทั้งการพยายามผลักดันให้สังคมไทยของเราเป็นสังคมที่ปราศจากอันตรายใด ๆ เพื่อให้เด็กไทยและลูกหลานของเราสามารถเติบโตขึ้นมาอย่างปลอดภัยและมีความสุข
Tags:
เผยแพร่:
แม่และเด็ก
เมื่อ:
2008-04-23