"ภาวะผู้นำ" สร้างได้ในวัยเยาว์

วิกฤติเด็กและเยาวชนขาดภาวะผู้นำกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เด็กและเยาวชนจำนวนมากขาดมุมมองความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของการเป็น ldquo;ผู้นำrdquo;ขาดวุฒิภาวะและทักษะในการเป็นผู้นำ ใช้ชีวิตไหลไปตามกระแสค่านิยมสังคม ไม่กล้าแสดงความเห็นในเรื่องที่ต่างจากคนส่วนใหญ่ ไม่กล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ขาดการมีส่วนร่วมในสังคม เช่น การแสดงออกและการเสนอความคิดเห็นต่อปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ในประเทศ

ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว ldquo;ภาวะผู้นำrdquo; นับเป็นรากฐานสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัว ครอบครัว การทำงาน สังคมไทยต้องการคนรุ่นใหม่ที่มีภาวะผู้นำเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการนำทิศทางและพัฒนาประเทศ

การปฏิรูปภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาตินั้น เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในทุกภาคส่วนของสังคม อาทิระบบการศึกษาที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกในความคิดเห็นอย่างเสรี รวมทั้งการเป็นแบบอย่างผู้นำที่ดีของผู้มีสิทธิอำนาจระดับต่าง ๆ ในสังคม และที่ขาดไม่ได้คือ ldquo;ครอบครัวrdquo; (พ่อแม่) ซึ่งเป็นหน่วยย่อยพื้นฐานในสังคมแต่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชนไทย

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังคงมีพ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่มีความเข้าใจว่า ผู้นำ (leader) เป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เป็นเรื่องของบุญพาวาสนาส่ง ไม่ใช่ใคร ๆ จะเป็นผู้นำกันได้ง่ายๆดังนั้นการสร้างลูกให้เป็นผู้นำนั้นจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากและไกลตัวเกินกว่าที่พ่อแม่จะทำได้ ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วผู้นำไม่ใช่เป็นสิ่งที่เป็นมาตั้งแต่เกิด แต่คนทุกคนสามารถที่จะพัฒนาภาวะผู้นำ (leadership) ของตนเองได้

เนื่องจากการพัฒนาภาวะผู้นำนั้นเป็นเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ในการสั่งสม ประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจ การหล่อหลอมลักษณะชีวิต และการฝึกฝนทักษะในด้านต่าง ๆ เป็นระยะเวลานาน ภาวะผู้นำจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงการอ่านหนังสือพัฒนาทักษะ หรือจากการไปอบรม นั่งฟังบรรยายในห้องเรียนเท่านั้น แต่พ่อแม่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการปลูกฝังและพัฒนาภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับลูกตั้งแต่ในวัยเยาว์ เพื่อสะสมเป็นต้นทุนชีวิตให้กับลูกในระยะยาวต่อไป

พ่อแม่สามารถมีส่วนในการพัฒนาภาวะผู้นำให้แก่ลูก โดยเริ่มจาก

เป็นแบบอย่างในการนำครอบครัว
พ่อแม่เป็นบุคคลแรกที่ลูกจะเห็นแบบอย่างในการเป็นผู้นำทั้งในทางบวกและลบโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของผู้เป็นพ่อซึ่งอยู่ในฐานะผู้นำครอบครัว ตัวอย่างเช่น
...หากพ่อเป็นคนที่เจ้าชู้ มีบ้านเล็กบ้านน้อย ย่อมเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีของลูกในเรื่องผู้นำที่ไม่ซื่อสัตย์

...หากพ่อแม่เป็นผู้ที่ชอบใช้ความรุนแรงในการจัดการปัญหาต่าง ๆ ย่อมเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้แก่ลูกในเรื่องของผู้นำที่ชอบใช้อารมณ์ความรุนแรมากกว่าใช้เหตุผล

...หากพ่อเป็นผู้ที่ชอบบงการชีวิตคนในครอบครัวให้ทำตามความต้องการของตนเอง ย่อมเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้แก่ลูกในเรื่องของการเป็นผู้นำที่เผด็จการชอบใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ

...หากพ่อแม่เป็นผู้ที่ไม่มีการวางแผนในชีวิต แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวัน ๆ ย่อมเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้แก่ลูกในเรื่อของการเป็นผู้นำที่ขาดวิสัยทัศน์

...หากพ่อแม่ลำเอียงรักลูกไม่เท่ากัน ย่อมเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้แก่ลูกในเรื่องของการเป็นผู้นำที่ไม่มีความยุติธรรม

ดังนั้นพ่อแม่จึงควรสำรวจตนเองว่าเป็นผู้นำครอบครัวแบบใดและพร้อมเสมอที่จะปรับปรุงแก้ไขเพื่อเป็นแบบอย่างของผู้นำที่ดีให้แก่ลูกต่อไป
ชี้ทัศนคติมุมมองที่ถูกต้องในการเป็นผู้นำ พ่อแม่ควรสอนมุมมองที่ถูกต้องในการเป็นผู้นำให้ลูกได้เข้าใจ โดยอาจสอนผ่านข่าวสารบ้านเมือง ตัวอย่างบุคคลสำคัญ ภาพยนตร์ หรือยกตัวอย่างจากเรื่องจริงของบุคคลใกล้ชิดที่รู้จัก ฯลฯ ถึงความหมายของผู้นำในมุมมองที่ถูกต้อง อาทิ

ผู้นำไม่ใช่เฉพาะผู้ที่มีตำแหน่งนำหน้าเท่านั้น...
เนื่องจากคนทุกคนล้วนแล้วแต่สวมบทบาทในการเป็นทั้งผู้นำและผู้ตามสลับกันไปอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ขึ้นกับว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่เช่นพ่อนำลูกพี่นำน้องครูนำนักเรียนหัวหน้านำลูกน้องหรือแม้กระทั่งการนำตนเองตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ฯลฯ ดังนั้นการพัฒนาภาวะผู้นำจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องเรียนรู้ไม่มีข้อยกเว้น

ผู้นำไม่ใช่ผู้ที่คอยใช้อำนาจสั่งให้คนทำตามใจตนเอง...
แต่ผู้นำคือผู้ที่คอยรับใช้ผู้อื่น ด้วยใจเสียสละ เพราะผู้ตามย่อมตามผู้นำที่สามารถตอบสนองความต้องการของตนได้ แต่หากผู้นำมุ่งเพียงตอบสนองตามความต้องการของตนเอง เอาตนเองเป็นที่ตั้งแล้วย่อมไม่มีผู้ใดอยากจะติดตามผู้นำที่เห็นแก่ตัวคนนั้นอย่างแน่นอน

การเป็นผู้นำเป็นเรื่องที่ยากลำบากต้องเหนื่อยกว่าผู้อื่น
...ในความเป็นจริงแล้วการเป็นผู้นำนับเป็นโอกาสสำคัญในการให้เราได้ใช้ศักยภาพ แต่เป็นการฝึกฝนพัฒนาชีวิต ซึ่งจะส่งผลเป็นลักษณะนิสัยที่ติดตัวไปในระยะยาวไม่ว่าจะเป็นความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง อดทนพากเพียรพยายาม ความรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของคนที่ประสบความสำเร็จชีวิต

หล่อหลอมลักษณะชีวิตความเป็นผู้นำ
ผู้นำที่มีลักษณะชีวิตที่ดี ย่อมดำรงอยู่ได้นานกว่าผู้นำที่เก่ง เพราะความเก่งกาจสามารถอาจเสื่อมถอยลงไป แต่คุณลักษณะที่ดีของผู้นำจะช่วยธำรงความเป็นผู้นำได้อย่างยั่งยืน ในการพัฒนาภาวะผู้นำนั้นพ่อแม่จำเป็นต้องสร้างลักษณะชีวิตที่สอดคล้องกับการเป็นผู้นำที่ดีให้แก่ลูกด้วยการหล่อหลอมลักษณะชีวิตที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญ อันได้แก่ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม การรักษาคำพูดความรับผิดชอบ การมีวิสัยทัศน์ ความกล้าหาญ ความเอาจริงเอาจัง ความอดทน พากเพียร ความเสียสละ การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเลิศ เป็นต้นซึ่งการหล่อหลอมลักษณะชีวิตในด้านต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นนั้นต้องอาศัยระยะเวลา ดังนั้นพ่อแม่จึงต้องตระหนักและเริ่มสร้างลักษณะนิสัยดังกล่าวให้เกิดขึ้นโดยเร็ว ทั้งโดยการเป็นแบบอย่าง การสอน และการเปิดโอกาสให้แก่ลูกผ่านประสบการณ์ชีวิตจริง

ฝึกฝนภาวะผู้นำผ่านประสบการณ์จริงเนื่องจากการพัฒนาภาวะผู้นำเกิดขึ้นโดยการสั่งสมผ่านประสบการณ์จริง ดังนั้นพ่อแม่จำเป็นต้องเปิดโอกาสและเป็นผู้ที่สร้างโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ฝึกฝนผ่านประสบการณ์จริงหรือกิจกรรมต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น

มีสัตว์เลี้ยงเป็นของตนเอง
พ่อแม่ควรอนุญาตให้ลูกได้มีสัตว์เลี้ยงเป็นของตนเอง ตามความเหมาะสมของอายุลูกและพื้นที่ภายในบ้าน อาทิ สุนัข แมว ปลา ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการฝึกฝนลูกในเรื่องความรับผิดชอบ การดูแลผู้ที่อยู่ภายใต้ (ในที่นี้ไม่ใช่คนแต่เป็นสัตว์เลี้ยง) ไม่ว่าจะเป็นการให้อาหาร การอาบน้ำ การทำความสะอาดกรง /ตู้ปลา การสังเกตอาการหากสัตว์ป่วย รวมทั้งฝึกให้ลูกวางแผนในการแบ่งงานหรือกระจายงานให้กับสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวให้ร่วมกันดูแลสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

เกม / การละเล่น / กีฬา ที่ต้องเล่นเป็นกลุ่ม
พ่อแม่ควรจัดหาของเล่นหรือเกมแบบที่ต้องมีผู้เล่นมากกว่าหนึ่งคนให้กับลูก อาทิเกมเศรษฐี เกมงูไต่บันได เกมคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีผู้เล่นมากกว่าหนึ่ง หรือเกมตัวต่อที่ต้องมีการประกอบจึงสามารถเล่นได้ ให้ลูก ๆ มาช่วยกันต่อส่งเสริมให้ลูกเล่นกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีม อาทิ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล วอลเล่ย์บอลฯลฯเพื่อฝึกฝนในเรื่องของการทำงานเป็นทีม การแบ่งหน้าที่ บทบาทในการเป็นผู้นำและผู้ตาม โดยพ่อแม่ควรเปิดกว้างในการให้ลูกสามารถชวนเพื่อน ๆ มาเล่นที่บ้าน และสามารถไปเล่นที่บ้านเพื่อนได้ ตามความเหมาะสมและการประเมินในเรื่องการใช้เวลาและความปลอดภัยโดยอยู่ในสายตาของพ่อแม่

จัดโครงการต่าง ๆ
โดย ให้ลูกเป็นผู้รับผิดชอบตั้งแต่ต้นจนจบตัวอย่างเช่น

ทำสวนหน้าบ้าน
มอบหมายให้ลูกดูแลสวนหน้าบ้าน ทั้งในเรื่องของการหาต้นไม้มาปลูก การดูแล รดน้ำพรวนดิน การจัดซื้อปุ๋ย ยาฆ่าแมลง โดยให้ลูกเป็นผู้วางแผน ตัดสินใจ และแบ่งหน้าที่ในการทำงานให้กับสมาชิกในบ้าน

ดูแลโซนต่าง ๆ ภายในบ้าน
มอบหมายให้ลูกดูแลโซนต่าง ๆ ภายในบ้าน อาทิ ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องนอน ห้องรับแขกทั้งในเรื่องการตกแต่ง การทำความสะอาด หรือจัดซื้อ ในระดับที่เหมาะสมกับวัย เพื่อฝึกในเรื่องของการตัดสินใจและความรับผิดชอบให้แก่ลูก

จัดปาร์ตี้ที่บ้าน
จัดปาร์ตี้เชิญชวนเพื่อน ๆ ของลูกมาทานอาหารที่บ้านในโอกาสต่าง ๆ อาทิ ปีใหม่ วันเกิดลูก ฯลฯ โดยให้ลูกมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดงาน การเลือกอาหาร การตกแต่งสถานที่ ทำการ์ดเชิญ ประชาสัมพันธ์เพื่อน ๆ ให้มางาน คิดเกมการละเล่น การแสดงต่าง ๆ ภายในงาน ฯลฯเพื่อฝึกฝนทักษะการเป็นผู้นำในด้านการตัดสินใจ การวางแผน ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การติดต่อปฏิสัมพันธ์กับคน ทักษะในการแก้ปัญหาต่าง ๆให้แก่ลูก

เดินทางท่องเที่ยว
มอบหมายให้ลูกทำโครงการท่องเที่ยวภายในบ้านเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่การค้นหาข้อมูลในเรื่องสถานที่ แล้วให้ลูกเป็นผู้นำประชุมร่วมกันในครอบครัวเพื่อขอความคิดเห็นและตัดสินใจร่วมกัน รวมทั้งให้ลูกเป็นผู้หาข้อมูลในการเดินทาง และมีส่วนร่วมในการติดต่อประสานงาน วางแผนโปรแกรมการเดินทาง เพื่อฝึกฝนทักษะในการหาข้อมูล การปฏิสัมพันธ์กับคน การประสานงานการสื่อสาร การเคารพให้เกียรติความคิดเห็นของผู้อื่น ฝึกฝนการนำในที่ประชุมในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ

พบปะกลุ่มคนที่หลากหลาย
พ่อแม่ควรหาโอกาสในการพาลูกไปรู้จักกลุ่มคนที่หลากหลายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อาทิพาไปที่ทำงานให้ลูกได้รู้จักเพื่อน ๆ ของพ่อและแม่ พาไปบ้านญาติ ไปบ้านสงเคราะห์คนชรา บ้านเด็กกำพร้า พาไปทำธุระต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น ไปอำเภอ ไปทำงานที่ต่างจังหวัด ฯลฯเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้จักกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทั้งทางความคิด บทบาทฐานะทางสังคม นิสัยใจคอ ฯลฯ

สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ทั้งกิจกรรมในโรงเรียน การเข้าชมรมต่าง ๆ การส่งลูกไปเข้าค่ายช่วงปิดเทอมส่งเสริมให้ลูกสมัครเข้าประกวดในงานต่าง ๆ อาทิประกวดร้องเพลงการแสดงประกวดหนูน้อยสุขภาพดี ฯลฯเพื่อฝึกให้ลูกมีความกล้าในการแสดงความคิดเห็นและกล้าแสดงออกในเรื่องต่าง ๆ

ส่งเสริมบทบาทการเป็นผู้นำ
อาทิมอบหมายให้ลูกดูแลน้อง ส่งเสริมให้ลูกได้มีโอกาสเป็นหัวหน้าห้อง หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าหมู่ลูกเสือ โดยหากลูกปฏิเสธเพราะกลัวความยากลำบากและกลัวว่าจะต้องรับผิดชอบหนัก พ่อแม่ควรชี้แจงให้ลูกเข้าใจถึงผลดีต่าง ๆ ที่ลูกจะได้รับในการฝึกฝนการเป็นผู้นำ

ฝึกการตั้งเป้าหมาย
พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้จักการตั้งเป้าหมายในเรื่องต่าง ๆ ทั้งเป้าหมายส่วนตัว อาทิการใช้เวลา การใช้เงิน การเรียน การฝึกดนตรี กีฬา การพัฒนาความสามารถในเรื่องต่าง ๆ การเก็บเงินซื้อของที่อยากได้ ฯลฯรวมทั้งเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น อาทิตั้งเป้าในการประหยัดพลังงานให้ค่าน้ำไฟภายในบ้านลดลงในเดือนถัดไป เป็นต้น เพื่อฝึกฝนทักษะการเป็นผู้นำในเรื่องของการตั้งเป้าหมาย การมีวิสัยทัศน์ และการวางแผนเพื่อไปถึงความสำเร็จ

ภาวะผู้นำ เป็นเรื่องที่สร้างได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องบุญพาวาสนาฟ้าส่งให้มาเป็นผู้นำแต่อย่างใด ภาวะผู้นำเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเรียนรู้และพัฒนาอย่างจริงจังการพัฒนาภาวะผู้นำเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการฝึกฝนสั่งสมประสบการณ์ ยิ่งฝึกตั้งแต่เด็กยิ่งได้เปรียบ โดยพ่อแม่เป็นกุญแจสำคัญทั้งในเรื่องของการเป็นแบบอย่าง การสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการเป็นผู้นำ รวมทั้งการหล่อหลอมลักษณะชีวิตพื้นฐาน การเปิดโอกาสให้ลูกได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อสั่งสมเป็นต้นทุนชีวิตในการสร้างลูกให้เป็นผู้นำที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไปในอนาคต

admin
เผยแพร่: 
แม่และเด็ก
เมื่อ: 
2007-10-01