อารยะ

ในการสนทนา ปรึกษาหารือ เพื่อหาข้อตกลงหรือจุดยืนที่ยอมรับร่วมกัน อาจเป็นการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน การหาทางออกเมื่อเกิดข้อขัดแย้ง  หรือการหาทางเลือกที่ดีที่สุดอย่างเป็นเอกฉันท์ ควรใช้แนวทางที่ผมเรียกว่า อารยสนทนา หรือ การสนทนาพูดคุยกันในทุกระดับ ตั้งแต่ระหว่างคน 2 คนจนถึงสนทนาสาธารณะ มีเป้าหมายเพื่อหาข้อตกลงหรือจุดยืนที่ยอมรับร่วมกัน โดยมีหลักปรัชญาอารยะเป็นตัวกำกับ 

อารยสนทนาเป็นกระบวนการสนทนาที่มีทั้งหมด 12 ขั้นตอน  เราได้เรียนรู้ไปแล้ว 4 ขั้นตอนแรก อันได้แก่ อารยสดับ เริ่มต้นด้วยการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ  ขั้นที่สอง อารยปุจฉา การซักถามจนเข้าใจกระจ่าง ขั้นที่สาม อารยปริทัศน์ การมีมุมมองที่เปิดกว้าง มุ่งส่วนรวมและชนะทุกฝ่าย  และเคลื่อนต่อไปสู่ขั้นตอนที่สี่ คือ อารยถกแถลง การนำมุมมองของแต่ละคน แต่ละฝ่ายที่แตกต่างกันนั้น มาร่วมกันถกแถลง  

แหล่งที่มาของภาพ : http://www.stevewiens.com/wp-content/uploads/2013/04/looking-glass-721.jpg
การสนทนาที่แท้จริง เมื่อฟังแล้ว ต้องคิดตาม ต้องเกิดข้อสงสัย และต้องตั้งคำถามเป็น และเมื่อเกิดการซักถามจนเข้าใจกระจ่างแล้ว เราจะเกิด ?มุมมอง? ต่อเรื่องดังกล่าว ซึ่งอาจจะเหมือนกันหรือแตกต่างกัน ในแต่ละคน

คนในสังคม เมื่อรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม มักจะวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเหล่านั้น ไปตามมุมมองความคิดของตน ในเรื่องเดียวกัน อาจมีมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย

แหล่งที่มาของภาพ : http://criticalthinking-mc205.wikispaces.com/file/view/groups.jpg/245853969/groups.jpg

ในวงสนทนาที่มีการตั้งประเด็นพูดคุยที่ชัดเจน เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนั้น  ซึ่งอาจเป็นการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน การหาทางออกเมื่อเกิดข้อขัดแย้ง  หรือการหาทางเลือกที่ดีที่สุดอย่างเป็นเอกฉันท์ร่วมกัน การสนทนาจะไปสู่ข้อสรุปที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ จะต้องใช้แนวทางที่ผมเรียกว่า อารยสนทนา หรือ ารสนทนาพูดคุยกันในทุกระดับ ตั้งแต่ระหว่างคน 2 คนจนถึงสนทนาสาธารณะ มีเป้าหมายเพื่อหาข้อตกลงหรือจุดยืนที่ยอมรับร่วมกัน โดยมีหลักปรัชญาอารยะเป็นตัวกำกับ 

     แอมบรอส เบียร์ส (Ambrose Gwinnett Bierce: 1842?1913) นักเขียนชาวอเมริกัน ซึ่งรู้จักกันดีในฐานะผู้แต่งพจนานุกรมเสียดสีพฤติกรรมมนุษย์ ฉบับที่ใช้ชื่อว่า ดิคชันนารีของปีศาจ (The Devil's Dictionary) เขาได้ให้ความหมายของคำว่า ?คนน่าเบื่อ? ไว้ว่า หมายถึง ?คนที่พูด เมื่อคุณต้องการให้เขาฟัง? 

ในการเรียนรู้ ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจ แต่ไม่กล้าถาม ย่อมเท่ากับ ?ปิดประตู? การพัฒนาตนเอง ในการทำงาน ถ้าเราไม่มั่นใจในคำสั่งงาน แต่ไม่กล้าถามหัวหน้า ย่อมเท่ากับ ?เปิดประตู? ความล้มเหลวรอไว้ให้กับตนเอง
     ในการสนทนา ถ้าเราฟังอย่างเดียว พยักหน้ารับทุกอย่าง แม้ไม่เห็นด้วยในสิ่งที่สื่อสาร แต่เรากลัวขัดจังหวะ ไม่กล้าถาม ย่อมเท่ากับ ?จบการสนทนา? ตั้งแต่วินาทีที่เราไม่เข้าใจแล้ว

บทสรุปการเมืองไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าขณะนี้ฝ่ายใดจะเป็นผู้ถือครองอำนาจ และไม่ว่าอนาคตจะเลือกตั้งใหม่อีกสักกี่ครั้ง ประชาธิปไตยของไทยยังไม่พัฒนา การจะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองและเข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้นั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่บนรากฐานขององค์ประกอบหลักสำคัญประการหนึ่ง คือ การใช้อำนาจอธิปไตยในการบริหารจัดการประเทศอย่างถูกต้องดีงาม สามารถนำความสุข สงบ มาสู่ประเทศชาติบ้านเมืองและประชาชนได้อย่างแท้จริง