โลกอยู่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น นับเป็นความท้าทายต่อภาครัฐในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพราะระบบภาครัฐแบบดั้งเดิมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ทั้งสายการบังคับบัญชาที่ยาว การยึดกฎระเบียบมากเกินไป การทำงานแบบแยกส่วน ขาดการมีส่วนร่วมของพลเมือง เน้นนโยบายระยะสั้น และไม่ให้น้ำหนักกับการตอบโจทย์สังคม จากการศึกษาวิจัยและการคิดมาตลอดชีวิต ผมได้ตกผลึกทางความคิดว่า ระบบที่ดี คือ ระบบที่จะทำให้คนชั่วทำดีโดยไม่รู้ตัว ในทางตรงกันข้าม ระบบที่ชั่ว คือ ระบบที่จะทำให้คนดีทำชั่วโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากเราไม่สามารถทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ และจะมีต้นทุนสูงมากในการควบคุมมิให้คนชั่วไปสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นและส่วนรวม

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2018 ผมในฐานะประธานสถาบันการสร้างชาติ ได้กล่าวปาฐกถาในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติว่าด้วยการสร้างชาติ ครั้งที่ 2 (ICNB 2018) ในหัวข้อเรื่อง “นวัตกรรมยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทเพื่อการสร้างชาติ”

บทความที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึงสัญญาณของสงครามอภิมหาอำนาจ (hegemonic war) ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ในบทความนี้ ผมจะกล่าวถึงอีก 5 แนวรบ ดังต่อไปนี้

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ประเทศจีนมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงมาก ทำให้จีนก้าวขึ้นมาท้าทายสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นอภิมหาอำนาจเดิม โดยมีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ภายในปี 2030

จากบทความที่แล้ว ผมได้นำเสนอพฤติกรรมและลักษณะเชิงจิตวิทยาที่สำคัญ 2 ลักษณะ จากประสบการณ์ที่ผมได้พบเจอ โดยเฉพาะในสถาบันการสร้างชาติ  ในครั้งนี้ ผมจะนำเสนออีก 2 ลักษณะที่สำคัญ ที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ เพื่อความสำเร็จในการสร้างผู้นำรุ่นต่อไป ดังต่อไปนี้ หมดเวลาสำหรับโรงเรียนแบบเก่าที่เน้น ‘ทางลัด’ มากกว่า ‘สอนคิด’   โรงเรียนหรือสถาบันการสร้างผู้นำแบบเก่า ส่วนมากจะมุ่งเน้นไปที่การให้คำแนะนำที่เรียกว่า ‘ทางลัด’ หรือเป็นลักษณะ ‘How to’ ผมมองว่าวิธีการแบบนี้ จะไม่เป็นประโยชน์ในระยะยาวทั้งต่อตัวคนรุ่นใหม่และองค์กร ถึงแม้ว่าทางลัดบางประการจะได้ชื่อว่าเป็นทางออกที่ชาญฉลาดและดูน่าเชื่อถือก็ตาม

ผมมีโอกาสได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อและสำนักข่าวของมาเลเซียหลายครั้งนับตั้งแต่ต้นปี หนึ่งในนั้น คือ การให้สัมภาษณ์ทางวิทยุคลื่น BFM 89.9 The Business Station เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2561 เกี่ยวกับการสร้างผู้นำภาคธุรกิจรุ่นใหม่เพื่อขับเคลื่อนการสร้างชาติในอนาคต อันเป็นประเด็นที่ควรตระหนักและให้ความสำคัญสำหรับการทำงานในยุคนี้

เมื่อเดือนที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญจากสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร ให้เป็นประธานเปิดงาน Real Tech # 2 By REP  Smart City for Life ซึ่งเป็นงานจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผมได้กล่าวปาฐกถา เรื่อง “The future of real estate” หรืออนาคตของอสังหาริมทรัพย์

ผมมองว่า มนุษย์เป็นนักโทษที่ติดอยู่ในกรงขังของ 2 มิติ คือกาละและเทศะ

กาละ คือ กาลเวลา (time) เทศะ คือ สถานที่ (space) มนุษย์ต้องอยู่ในสถานที่ใดที่หนึ่ง ไม่สามารถปรากฏอยู่หลายสถานที่ในเวลาเดียวกันได้ และต้องอยู่ในเวลาปัจจุบันเพียงเวลาเดียว ไม่สามารถอยู่ในอดีตหรืออนาคตพร้อมกันได้ เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้อยู่ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง จึงทำให้อสังหาริมทรัพย์มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์เสมอ ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์จำเป็นต้องครอบครองพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต เช่น การอยู่อาศัย การทำมาหากิน การพักผ่อน เป็นต้น

ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังเผชิญกับ Digital Disruption หรือการทำลายล้างสิ่งเก่า ๆ ออกไปด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เนื่องจากเทคโนโลยีด้านดิจิทัลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง และกว้างขวาง ส่งผลกระทบไปทุกแวดวง ทั้งการค้า การทำธุรกิจ การผลิต การใช้ชีวิต การใช้จ่าย พักผ่อน การศึกษา ฯลฯ ในขณะเดียวกัน โลกมีแนวโน้มเข้าสู่การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4th industrial revolution) ด้วย อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และการต่อยอดและผสมผสานหลอมรวมของเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ชั้นสูง ระบบอัตโนมัติรูปแบบใหม่ เทคโนโลยีบล็อคเชน (block chain) เครื่องพิมพ์ 3 มิติ การพัฒนาตัดต่อยีนทางพันธุกรรม คอมพิวเตอร์ควอนตัม เป็นต้น

โลกกำลังอยู่ในสังคมข้อมูลข่าวสารคาบเกี่ยวกับสังคมความรู้ ผู้ที่สามารถจัดการข้อมูลและเปลี่ยนข้อมูลเป็นความรู้ ย่อมมีความได้เปรียบเพราะการประยุกต์ใช้ความรู้จะนำไปสู่การต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังจะเห็นได้จากการนำเครื่องจักร หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาทำงานแทนมนุษย์มากขึ้น International Federation of Robotics คาดการณ์ว่า ภายในปี 2561 หุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลกจะมีจำนวนทั้งสิ้น 2.4 ล้านยูนิต และ BCG คาดว่า ในปี 2568 หุ่นยนต์หรือ AI จะเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ถึง 1 ใน 4 และธนาคารกลางอังกฤษคาดว่า ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า งานในอังกฤษและสหรัฐฯ กว่า 40-50% จะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ ในบทความตอนนี้ จะนำเสนอ 2 ประการสุดท้ายของแนวโน้มการเงินการธนาคารในศตวรรษที่ 21 ดังต่อไปนี้

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินการธนาคารที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนมากที่สุด คือ
การเปลี่ยนจาก “บริการออฟไลน์” สู่ “บริการออนไลน์” และจาก “สังคมใช้เงินสด” สู่ “สังคมไร้เงินสด” ทั้ง 2 แนวโน้มกำลังปรากฏมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคมไทย
อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากแนวโน้มข้างต้น ในบทความตอนนี้ ผมขอนำเสนออีก 2 แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับระบบการเงินการธนาคาร ดังนี้