รัฐบาล

     การจัดอันดับ Global Innovation Index ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ขึ้นเป็นอันดับ 1 ด้านนวัตกรรม ทั้งที่เป็นประเทศเล็กบนเทือกเขาแอลป์ ไม่มีทางออกทะเล ขาดแคลนทรัพยากร? อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ที่ในศตวรรษที่ 18 มีแค่วัวกับแกะ แต่ปัจจุบัน กลับเป็นประเทศที่มีการจดสิทธิบัตรต่อประชากรอันดับ 1 ของโลก โดยภาคธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการสร้างนวัตกรรม

     บริษัทขนาดใหญ่ในสวิสเซอร์แลนด์ เช่น ABB, Roche, Nestlé และ Novartis แต่ละบริษัทยื่นจดสิทธิบัตร 400 – 600 ชิ้นต่อปี ขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนมากเป็นผู้นำในระดับนานาชาติ ในการใช้ประโยชน์จากความรู้ใหม่ล่าสุดในกระบวนการนวัตกรรมและในตลาดเฉพาะของสินค้าที่มีคุณภาพสูง และใช้ความเชี่ยวชาญพิเศษ
     ผมมีบทเรียนจากประเทศนวัตกรรมระดับโลกในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสร้างชาติมาฝากครับ

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้รับเชิญโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้บรรยายในหัวข้อ “การบริหารภาครัฐภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงในอนาคต” จึงใช้โอกาสนี้ ชี้ให้ข้าราชการที่เข้าร่วมฟังบรรยายเห็นว่า หากต้องการจะบริหารงานภาครัฐ อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างไร ผมเชื่อว่าประเทศชาติที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้วและมีรายได้สูง ล้วนไม่ได้พัฒนาโดยภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างตรีกิจ หรือ 3 ภาคกิจ คือ รัฐกิจ ธุรกิจ และประชากิจ โดยภาครัฐเป็นภาคส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน เนื่องจากมีอำนาจรัฐมีงบประมาณ และมีบุคลากรจำนวนมาก และภายใต้สภาวะที่มี การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ภาครัฐจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่บูรณาการมิติต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งผมมีข้อเสนอดังนี้

"Trumponomics" หรือแนวนโยบายเศรษฐกิจ ภายใต้การบริหารประเทศ ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นคำที่หลายท่านคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ซึ่งได้สร้างความกังวลใจอย่างมากให้กับหลายฝ่าย ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย

 

Trumponomics สะท้อนให้เห็นถึงแนวนโยบายกีดกันทางการค้า ไม่ว่าจะเป็น นโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ การถอนตัวจาก ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) การปรับปรุงข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งนโยบายลดภาษีเงินได้และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

     ตลอดปี 2559 มีเหตุการณ์ความรุนแรงและการก่อการร้ายที่สร้างความเสียหายรุนแรงเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ ล่าสุดคือ การก่อการร้ายในบริเวณใกล้เคียงกับสนามกีฬาเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2559 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 29 ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บ 166 คน ซึ่งผมขอแสดงความเสียใจมา ณ ที่นี้

ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่องประสิทธิผลภาครัฐ ประจำไตรมาสที่ 2 ในภาพรวม คือประชาชนให้คะแนนภาครัฐที่ร้อยละ 57.73 ขยับขึ้นจากไตรมาสที่แล้วที่ได้คะแนนร้อยละ 52.15 ซึ่งผมได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้ดัชนีประสิทธิผลภาครัฐมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 มากที่สุดสามอันดับ ดังนี้

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ศึกษาเรื่องการเลื่อนเวลาเกษียณอายุราชการจาก 60 เป็น 65 ปีและเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีในเดือนเมษายนนี้ เพื่อให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอายุเกษียณราชการ 
 
สาเหตุที่เสนอให้แก้ไขประเด็นดังกล่าว เนื่องจาก ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดต่องบประมาณในการดูแลบุคลากรทั้งในด้านของอัตราค่าจ้าง ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงเงินบำเหน็จบำนาญ ประกอบกับประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน เพราะกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ และอัตราการเกิดน้อย

เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 เดือน อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างเป็นทางการ การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของการพัฒนา ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประเด็นที่น่าสนใจ คือ AEC จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศของไทยในอนาคตอย่างไร?

สำนักข่าวไทย (Thai News Agency) รายงานว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2540 และ 2541ทำให้ผู้คนเสียชีวิตประมาณ 2,000 คน และสร้างความเสียหายทั่วโลกประมาณ 30-37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทยซึ่งเกิดเอลนีโญรุนแรงที่สุดในปี 2541 เช่นกัน ทางรัฐบาลต้องชดเชยความเสียหายทางเกษตรกรรมเป็นมูลค่าถึง 1,500 ล้านบาท

เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทย (Corruption Situation Index : CSI) เดือน ธ.ค. 2557 หากการสำรวจทำได้ดีและเป็นจริงก็แสดงว่า สิ่งที่พบนำกำลังใจแก่เราได้บ้าง เพราะโพลพบว่า สถานการณ์ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นปรับตัวดีขึ้นดีที่สุดในรอบ 5 ปี เอกชนจ่ายเงินเพิ่มให้ข้าราชการเพื่อรับงานจากภาครัฐมีจริงแต่ลดลงบ้าง
นี่เป็นครั้งแรกที่ประชาชนและภาคธุรกิจเห็นว่าสถานการณ์มีโอกาสน่าจะคลี่คลายและปรับตัวดีขึ้นได้ในอนาคต
 
การสำรวจครั้งนี้แม้ว่าจะเป็นสัญญาณที่ดี แต่หากจะคาดหวังอนาคตการทุจริตคอร์รัปชั่นจะดีขึ้น...ต้องดูหลังเลือกตั้งด้วย เมื่อรัฐบาลชุดนี้คืนอำนาจให้ประชาชนแล้ว...หลังจากนั้นจะเป็นภาพความจริงว่าจะลดลงจริงหรือไม่ หรือจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม!!
 
คอร์รัปชั่นจะลดลงอย่างต่อเนื่องแท้จริง หากนักการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศ ไม่หวังเข้ามาโกงกินเหมือนที่ผ่านๆ มา!!