โอกาสในการพัฒนาโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือ
การจัดระเบียบโลกในอนาคต (Future World Order) ด้วยการพัฒนาโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือ 8 รูปแบบจะเป็นระเบียบโลกที่ความมั่งคั่งกระจายทั่วถึงทุกคนมากขึ้น เกิดระบบเศรษฐกิจที่ออกแบบเพื่อทุกคนมากขึ้น เป็นธรรมมากขึ้น และยังคงทำให้เกิดความมั่งคั่งได้
ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญให้ไปร่วม The 2018 RomeRoundtableMeeting ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี การประชุมนี้จัดโดยThe Global Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาทางออกให้กับความท้าทายที่โลกต้องเผชิญ และพูดคุยกันในเรื่องความคืบหน้าของโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือ (co-operative globalization)ซึ่งผมได้วิเคราะห์และแสดงความเห็นเรื่องนี้ไว้หลายประเด็น
ผมเสนอแนวคิดว่าการเปลี่ยนแปลงของระเบียบโลก ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน และคาดการณ์ไปในอนาคต สามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุค โดยแต่ละยุค โลกมีความเป็นโลกาภิวัตน์ที่แตกต่างกัน
ยุคที่ 1 ยุคสงครามเย็น (Cold War Order) (1945 – 1980s) ระเบียบโลกเป็นแบบเผชิญหน้า(Confrontational Order) โลกจึงมีความเป็นโลกาภิวัตน์แบบแบ่งแยก (Discriminative Globalization)คือ โลกเสรีนิยม และโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ยุคที่ 2 ยุคระเบียบโลกใหม่ (New World Order) (1980s- 2000s) ระเบียบโลกเป็นแบบเสรีนิยม (Liberal World Order) โลกในยุคนี้มีความเป็นโลกาภิวัตน์แบบถูกครอบงำ (Dominative Globalization) กล่าวคือ กระบวนการโลกาภิวัตน์นั้นถูกครอบงำโดยสหรัฐและประเทศตะวันตก เนื่องจากวาระต่างๆ ของโลกที่ถูกกำหนดโดยสหรัฐฯ และพันธมิตร
ยุคที่ 3 ยุคหลังระเบียบโลกใหม่ (Post New World Order) (2000s- ปัจจุบัน) ระเบียบโลกเป็นแบบปฏิบัตินิยม(Pragmatic World Order) ซึ่งโลกในยุคนี้เป็นโลกหลายขั้วอำนาจ (Multipolar world) ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์อันเนื่องจากการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจเก่าและมหาอำนาจใหม่ทำให้กระบวนการโลกาภิวัตน์เป็นแบบแข่งขัน (Competitive Globalization)
ยุคที่ 4 ยุคระเบียบโลกในอนาคต (Future World Order) ผมเสนอว่าระเบียบโลกในอนาคต จะเป็นระเบียบโลกที่ความมั่งคั่งกระจายทั่วถึงทุกคนมากขึ้น (Distributive Prosperity World Order) ซึ่งเป็นผลมาจากข้อเสนอของผมเรื่องโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือ 8 แบบ (8C Globalization) นับเป็นภาพอนาคตที่พึงประสงค์ของโลกาภิวัตน์ที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจโลกที่ถูกออกแบบเพื่อทุกคนมากขึ้น (Inclusive) เป็นระบบที่เป็นธรรมมากขึ้น (Fair) และยังคงทำให้เกิดความมั่งคั่งได้ (Prosperous)
โลกาภิวัตน์ในปัจจุบันเป็นอุปสรรคของการพัฒนาโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือ เนื่องจากปัจจุบันมหาอำนาจพยายามกำหนดระเบียบที่ตนเองได้ประโยชน์ ส่งผลทำให้เกิดระเบียบโลกที่หลากหลายนอกจากนี้มหาอำนาจมักเอาเปรียบประเทศเล็ก เนื่องจากมีอำนาจต่อรองเหนือกว่า รวมทั้งภาวะโลกที่มีหลายขั้วทำให้เกิดความเสี่ยงจะเกิดความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ โดยมหาอำนาจใหม่พยายามขยายอิทธิพล แต่มหาอำนาจเดิมพยายามจำกัดอิทธิพลของมหาอำนาจใหม่
อย่างไรก็ดี โลกยังมีโอกาสในการพัฒนาโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือ เนื่องจาก ที่ผ่านมาโลกาภิวัตน์ทำให้โลกมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ผมได้เสนอแนะแนวทางเพื่อส่งเสริมโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือเอาไว้หลายประการ เช่น
1. ส่งเสริมเป้าหมายเฉพาะเจาะจงในเรื่องโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือ เวลานี้ทั่วโลกใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจแม้ GDP มีจุดอ่อนหลายประการ แต่ยังไม่มีตัวชี้วัดอื่นที่ได้รับการยอมรับแพร่หลายเท่ากับ GDPนอกจากนี้ยังมี Millennium Development Goals (MGDs) ของ UN แม้จะเป็นตัวชี้วัดที่มีความครบถ้วนมากขึ้นแต่การมีเป้าหมายจำนวนมาก ทำให้ซับซ้อน เข้าใจได้ยาก
ผมเสนอว่าการส่งเสริมโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือ 8 แบบ ต้องสร้างตัวชี้วัดที่เข้าใจง่าย ใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เช่น เปลี่ยนจากMDGs เป็นดัชนีรวม (Composite index) ที่ผมเคยเสนอเอาไว้ คือ ดัชนีความอยู่ดีมีสุขของชาติ (National Well-Being Index) โดยถ่วงน้ำหนักตัวชี้วัดต่างๆ และส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญคู่ขนานไปกับ GDPโดยตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างเจาะจงจัดทำและเผยแพร่รายงานการวิเคราะห์และคาดการณ์ความก้าวหน้าส่งเสริมความรู้ความเข้าใจตัวชี้วัดนี้ แก่สื่อมวลชนและประชาชน ส่งเสริมให้ภาคกิจต่างๆ นำตัวชี้วัดไปใช้ประโยชน์เป็นต้น
2.นำผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในเรื่องธรรมาภิบาลระดับชาติและระดับโลกการทำให้เกิดโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือจำเป็นต้องมีการปฏิรูปธรรมาภิบาลระดับชาติและระดับโลก เช่น การปฏิรูปองค์กรเหนือรัฐที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังควรพัฒนาโครงสร้างและแนวทางความร่วมมือผมเรียกว่า ตรีกิจ นั่นคือ 3 ภาคกิจ (รัฐกิจ ธุรกิจ ประชากิจ) จัดระบบการกระจายความรับผิดชอบของ 3 ภาคกิจในภารกิจและการแก้ไขปัญหาต่างๆ และสร้างสถาบันระดับโลกที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาครัฐเช่น สภาภาคธุรกิจโลกหรือสภาภาคประชากิจโลก เป็นต้น เพื่อเข้ามามีส่วนในการดำเนินการในประเด็นต่างๆ ในระดับโลกมากขึ้น
3. พัฒนา โมเดลหลักหมุดเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือ 8 แบบการส่งเสริมโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือนี้จำเป็นต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องโดยใช้โมเดลหลักหมุดของผมทั้งหลักปรัชญา หลักคิด หลักวิชาการ หลักการ และหลักปฏิบัติเพื่อเป็นทางเลือกในการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศ และการดำเนินงานของภาคกิจต่างๆ โดยการร่วมมือกับนักวิชาการ มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้นี้รวมทั้งรวบรวมจัดหมวดหมู่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการนำความรู้ในเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ เป็นต้น
4.สร้างสรรค์โครงสร้างเชิงสถาบันที่ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันมากขึ้นหากจะทำให้เกิดโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือได้ ต้องมีการสร้างกลไกกระจายรายได้ใหม่ที่สามารถกระจายโอกาสและความมั่งคั่ง โดยไม่ทำลายแรงจูงใจในการผลิตทำให้เกิดผลประโยชน์ร่วมของทุกประเทศและทุกกลุ่มคนมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับบริบทการพัฒนาที่แตกต่างในแต่ละประเทศ
แม้ว่าการประชุมเพื่อพูดคุยเรื่องโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือ 8 แบบนี้จะจบไปแล้วที่กรุงโรม แต่ยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่ผมอยากเสนอต่อผู้นำทุกภาคส่วนทั้งรัฐกิจ ธุรกิจ และประชากิจทั่วโลกเพื่อกลับไปทำและเพื่อให้แน่ใจว่ากลไกโลกาภิวัตน์แบบร่วมมือ 8 แบบที่จะทำให้โลกมั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืน เพราะมีความเป็นธรรมสำหรับทุกคน สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงในอนาคต
ที่มา: cioworldmagazine.com
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com
Tags:
Post date:
Thursday, 5 September, 2019 - 11:12
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร
Total views: อ่าน 15 ครั้ง
คนไทยเรียนรู้อะไร จากบทเพลงสุดท้ายของพี่ศรี
Total views: อ่าน 19 ครั้ง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร
Total views: อ่าน 105 ครั้ง
บทบาทของไทยและอาเซียนต่อการรวมเกาหลีให้เป็นหนึ่งเดียว
Total views: อ่าน 1,927 ครั้ง
การสร้างคุณภาพชีวิตเมืองเพื่อการสร้างชาติ ด้วยโมเดลเมืองน่าอยู่ 12 มิติ: Dr.Dan Can Do’s Livable City Model
Total views: อ่าน 2,497 ครั้ง