การศึกษา

“ผู้เขียนขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับที่มาที่ไปและความแตกต่างของคำว่า ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) ทุนมนุษย์ (Human Capital) และ ศักยภาพสูงสุดของความเป็นมนุษย์ (Human Potentiality) เพราะสิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมและให้คุณค่าในการพัฒนามนุษย์ 

ผมได้รับเชิญเป็นองค์ปาฐกในหัวข้อเดียวกับชื่อเรื่องบทความ โดยผมได้เสนอแนวทางการพัฒนานวัตกรรมด้วยการบูรณาการวิทยาการ 8 ประการ 

คิดเป็นระบบ ช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร? เป็นคำถามที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ผู้อ่านได้ลองพิจารณาข้อเสนอของผู้เขียน ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและแนวทางการพัฒนาประเทศ โดยยกตัวอย่างความสำเร็จจากประเทศสิงคโปร์ ที่เพิ่มรายได้ประชาชาติเป็นร้อยเท่าในช่วง 50 ปี

“สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษากับมหาเศรษฐีระดับโลกที่อยู่ในลิสต์Forbes 400 ปีนี้ ซึ่งผู้เขียนพบประเด็นบางอย่างที่สอดคล้องกันระหว่างการศึกษาและระดับความรวย แต่ไม่ได้หมายความว่ามีการศึกษาสูงกว่าจะรวยกว่า ในบทความจะเฉลยว่าอะไรคือปัจจัยสำคัญของการเป็นมหาเศรษฐีเหล่านั้น” 

เมื่อไม่นานนี้ ผมได้อ่านบทความหนึ่งในนิตยสาร Forbes – The 400 Richest People in America ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน 2017 เป็นเรื่องเกี่ยวกับระดับการศึกษาของเศรษฐีในสหรัฐอเมริกา โดยเปิดประเด็นว่า การศึกษาถึงระดับปริญญาเอกจำเป็นหรือไม่ เราจำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาสูงถึงระดับใด ถึงจะมีโอกาสเป็นมหาเศรษฐีระดับโลกได้

“ผู้เขียนขอเสนอการสร้างบุคลากรด้านนวัตกรรมที่ครอบคลุม 17 ปัจจัย โดยตั้งชื่อว่า STEMMAD-CINDERELLA ซึ่งมีความเชื่อว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาบุคลากรด้านนวัตกรรมได้ตามต้องการ ย่อมเป็นคานงัดที่สำคัญในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสร้างชาติ”
 
ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนานวัตกรรม ต้องอาศัยปัจจัยในหลายด้าน การสร้างบุคลากรเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ การสร้างบุคลากรด้านนวัตกรรม ผมได้เสนอ 17 ปัจจัย ที่เป็นกลุ่มความรู้ความเชี่ยวชาญที่จำเป็นต่อการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ผมตั้งชื่อว่า STEMMAD-CINDERELLA ประกอบด้วย
ผมเป็นคนชอบการเรียนรู้ หากเป็นไปได้จะพยายามเข้าสัมมนาและเรียนในหลักสูตรต่างๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะการอ่านหนังสือที่มีสาระ
 
และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ในตัวเอง ผมมองว่าการยอมให้เวลาไปกับการเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ จะทำให้ชีวิตเราทำประโยชน์ได้มากขึ้น

ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางรายได้ การศึกษา การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน สวัสดิภาพและสวัสดิการทางสังคม รวมไปถึง “ความเหลื่อมล้ำทางปัญญา” ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาและสร้างสังคมปัญญานิยมให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยเริ่มต้นจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร เพราะประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกิดการพัฒนาอย่างก้าวไกลในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม หากประเทศไทยยังนิ่งเฉย จะยิ่งทำให้เกิดช่องว่างความแตกต่างด้านสังคมแห่งปัญญาระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

“คุณภาพมนุษย์” เป็นตัวแปรสำคัญที่นำไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้อย่างก้าวกระโดด ประเทศพัฒนาแล้วมีการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ในระดับสูงมากเมื่อวัดโดยดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI)ที่มีตัวชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ อายุขัยเฉลี่ย (Life expectancy) การศึกษา (Education) และรายได้ต่อหัวประชากร (Income per capita) ในปี 2014ประเทศ 10 อันดับแรกที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงที่สุด ล้วนเป็นสมาชิกในกลุ่มOECD ทั้งสิ้น และ เกือบทุกประเทศในกลุ่มOECD มีค่า HDI อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงมาก (ยกเว้นตุรกีกับเม็กซิโกอยู่กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูง) โดยค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูงมากอยู่ที่ 0.875

ขณะที่ประเทศไทย มีคะแนนอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูงถือเป็นอันดับที่ 93 ของโลก(จาก 188 ประเทศ) และได้คะแนน 0.726 และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 เป็นรองจากสิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย ที่อยู่ในอันดับ 11 อันดับ 31 อันดับ 62 ของโลก ตามลำดับ

การศึกษาของประเทศไทยเราทุกระดับตั้งแต่ยุคอดีตจนกระทั่งปัจจุบันเป็นการศึกษาที่ยังไม่สามารถมีส่วนเสริมสร้างสมรรถนะสำหรับการทำงานหรือการประกอบอาชีพให้แก่ผู้เรียนเท่าที่ควร สะท้อนให้เห็นจากแต่ละปีมีผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย แต่ในที่นี้กลับพบว่า บางส่วนมีสมรรถนะและคุณภาพไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน อันเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสถานประกอบการ อาทิ การต้องสูญเสียทรัพยากรและงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรใหม่ เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์ฮาร์วาร์ดมีส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้ไม่เฉพาะแก่ประชาคมฮาร์วาร์ดเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มเด็กนักเรียนท้องถิ่นที่สามารถใช้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวนี้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางด้านศิลปะและประวัติศาสตร์ ช่วยให้การศึกษาเรียนรู้ของเด็กนักเรียนเหล่านี้มีชีวิตชีวา น่าสนใจ ลึกซึ้ง และสมจริงมากยิ่งขึ้น