การก่อการร้ายและสอดคล้องกับสถานการณ์ของไทย

คอลัมน์ : แนวคิด ดร.แดน ในหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์

ช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ดูเหมือนทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เจ้าหน้าที่และชาวบ้านได้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก สถานการณ์ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ ในขณะที่ภาครัฐได้พยายามหาสาเหตุและจับตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินการอย่างต่อ เนื่อง

หลายฝ่ายได้พยายามวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ โดยมีมุมมองต่อเหตุการณ์ความไม่สงบที่แตกต่างกัน บ้างก็เชื่อว่าปัญหาเกิดขึ้นความพยายามแบ่งแยกดินแดน บ้างก็เชื่อว่าเกิดจากความขัดแย้งของฝ่ายปกครอง เช่น ทหาร ตำรวจ และข้าราชการกับคนในพื้นที่ คนส่วนหนึ่งเชื่อว่าสาเหตุมาจากความยากจนซึ่งเกิดจากคนไม่มีงานทำ ขณะที่คนบางส่วนเชื่อว่าเป็นเพราะความขัดแย้งทางศาสนาหรือวัฒนธรรมหรือเกิด จากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น

การก่อการร้ายและสอดคล้องกับสถานการณ์ของไทย


นิตยสารอิโคโนมิสต์เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมามีบทความเรื่องหนึ่ง ที่น่า สนใจ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการก่อการร้ายและสอดคล้องกับสถานการณ์ของไทยเวลานี้ ชื่อว่า ?Exploding misconceptions: Alleviating poverty may not reduce terrorism but could make it less effective? ผมคิดว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อประเทศ จึงอยากจะแบ่งปันเนื้อหาของบทความนี้ให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาร่วมกัน

บท ความนี้พยายามจะแก้ความเข้าใจผิดของคนส่วนใหญ่ที่เชื่อว่าการก่อการร้าย นั้นเป็นเพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจ หากพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้นจะสามารถลดการก่อการร้ายลงได้ ผู้เขียนอธิบายว่าความคิดที่ว่าความยากจนนั้นเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย นั้นมีเหตุมีผล เพราะหากการก่อการร้ายเกิดขึ้นโดยกลุ่มคนที่ไม่มีอะไรจะเสีย มันก็สมเหตุสมผลที่เราจะเชื่อว่าเหตุก่อการร้ายส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นโดยคน ยากจน ไม่มีการศึกษา สิ้นหวังทางเศรษฐกิจ ซึ่งผู้ก่อการร้ายจำนวนหนึ่งมีคุณลักษณะตามที่กล่าวมา อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ถูกสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายจำนวนหนึ่งไม่ใช่คนยากจน บางคนเป็นผู้มีฐานะดี การศึกษาดี เช่น ไฟซอล เชห์ซาด ที่ถูกสงสัยว่าเป็นผู้วางระเบิดที่ไทมส์สแควร์ระบุว่าตนเองจบเอ็มบีเอและ เป็นลูกของเจ้าหน้าที่กองบินชั้นสูงของปากีสถาน หรือ อูมาร์ ฟารูค อับดุลมูตาลลาบที่ถูกกล่าวหาว่าพยายามจะระเบิดเครื่องบินสายทรานส์แอ็ตแลนติ ค จบปริญญาจาก ยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน และเป็นลูกชายของนายธนาคารที่มีฐานะร่ำรวยในไนจีเรีย เป็นต้น คนเหล่านี้ถือว่าเป็นข้อยกเว้นของความเชื่อที่ว่าผู้ก่อการร้ายต้องยากจนและ ไร้การศึกษาใช่หรือไม่?

ในบทความดังกล่าวได้ยกหลักฐานงานวิจัยจำนวน มากเพื่อตอบคำถามนี้ เช่น อลัน ครูเกอร์จากมหาวิทยาลัยปริ้นซ์ตัน ได้รวบรวมข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจสังคมของผู้ก่อการร้าย จากการสำรวจในปีค.ศ. 2008 พบว่า ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าผู้ก่อการร้ายโดยทั่วไปมีฐานะยากจนหรือไร้การศึกษา

คลอด เบอร์เรบีจากแรนด์คอร์ปอเรชั่น ได้เปรียบเทียบลักษณะของผู้ก่อการร้ายระเบิดพลีชีพที่เข้าร่วมขบวนการฮามาส และจิฮาดของอิสลามในเขตเวสแบงก์และกาซ่ากับผู้ชายทั่วไปในปาเลสไตน์ พบว่า เกือบร้อยละ 60 ของผู้ก่อการร้ายระเบิดพลีชีพมีการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมปลาย ขณะที่ผู้ชายทั่วไปในปาเลสไตน์มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้น ผู้ก่อการร้ายที่มาจากครอบครัวที่ยากจนมีจำนวนน้อยกว่าคนทั่วไปมากกว่าครึ่ง ขณะที่ครูเกอร์ได้ทำการทดสอบลักษณะเดียวกันในเลบานอน โดยการเก็บข้อมูลชีวประวัติของนักรบของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ซึ่งยืนยันว่าคนเหล่านี้มีการศึกษาดีและไม่ได้มาจากครอบครัวที่ยากจนกว่าคน ทั่วไปที่อยู่ในเขตภาคใต้ของเลบานอนหลายคนอาจมีข้อโต้แย้งว่า ความยากจนอาจเป็นต้นเหตุของการก่อการร้ายได้ แม้ว่าผู้ก่อการร้ายจะไม่ใช่คนยากจนก็ตาม ความโกรธแค้นต่อความยากจนในประเทศที่พวกเขาอยู่ อาจทำให้คนมีฐานะจากประเทศยากจนเข้าร่วมกับองค์กรผู้ก่อการร้ายได้

ผู้ เขียนบทความได้ยกผลศึกษาของครูเกอร์ที่ได้ทดสอบความถูกต้องของข้อโต้แย้ง นี้ โดยการรวบรวมข้อมูลการก่อการร้าย 956 เหตุการณ์ระหว่างปีค.ศ. 1997 ? 2003 พบว่า ประเทศยากจนที่สุด มีอัตราอ่านออกเขียนได้ต่ำที่สุด หรือเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำกว่าโดยเปรียบเทียบ ไม่ได้ผลิตผู้ก่อการร้ายออกมามากกว่าประเทศอื่น และเมื่อพิจารณาเฉพาะการระเบิดพลีชีพพบว่า ประชาชนในประเทศยากจนที่สุดมีแนวโน้มที่จะทำการระเบิดพลีชีพน้อยที่สุด ในทำนองเดียวกัน หากพิจารณาสัญชาติของผู้ก่อความไม่สงบชาวต่างชาติทั้งหมดที่ถูกจับในอิรัก ระหว่างเดือนเมษายนถึงตุลาคม ค.ศ. 2005 ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าประเทศที่ยากจนกว่าผลิตผู้ก่อการไม่สงบออกมาจำนวน มากกว่า

ในบทความนี้ยังได้ตอบคำถามที่ว่า เหตุใดคนที่ฐานะดีกว่าโดยเปรียบเทียบและมาจากประเทศที่ฐานะดีกว่าโดยเปรียบ เทียบจึงกลายเป็นผู้ก่อการร้ายได้? คำตอบคือ อาจเป็นไปได้ว่าการมีการศึกษาในระดับหนึ่งทำให้คนใส่ใจบ้านเมืองมากขึ้น นอกจากนี้ประเภทของคนที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายต้องการตัวนั้นก็สำคัญเช่นกัน เพราะการก่อการร้ายนั้นซับซ้อน ไม่เหมือนกับอาชญากรรมบนท้องถนนทั่วไปซึ่งมักจะดึงดูดคนระดับล่าง ดังนั้นกลุ่มก่อการร้ายจึงต้องการคนที่มีทักษะ มีการศึกษาดีเพื่อทำให้ภารกิจขององค์กรสำเร็จ ทั้งนี้จากการศึกษาฐานข้อมูลของผู้ก่อการร้ายพลีชีพของปาเลสไตน์ระหว่างปี ค.ศ. 2000 ? 2005 เบอร์เรบีและเอฟราอิม เบนเมเลคแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า ผู้ก่อการร้ายระเบิดพลีชีพที่การศึกษาสูงจะได้รับมอบหมายให้ทำภารกิจที่ สำคัญ ซึ่งในการก่อการร้ายครั้งนั้นจะทำให้คนเสียชีวิตมากกว่า แต่มีโอกาสล้มเหลวหรือถูกจับได้ระหว่างปฏิบัติภารกิจน้อยกว่า

ข้อค้น พบที่ว่า ผู้ก่อการร้ายที่มีการศึกษาสูงกว่ายิ่งอันตรายมากกว่านั้น ทำให้สรุปความได้ว่า สภาพทางเศรษฐกิจอาจมีผลต่อประสิทธิภาพของการก่อการร้าย ซึ่งข้อสรุปนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาของเอสเตบัน คลอร์ แอฟราอิม เบนเมเลค และคลูด เบอร์เรบีจากมหาวิทยาลัยฮีบรูในเยรูซาเล็ม ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลผู้ก่อการร้ายระเบิดพลีชีพชาวปาเลสไตน์ทั้งหมดระหว่างปี ค.ศ. 2000 ? 2006 และพบว่าระดับของทักษะของผู้ก่อการร้ายสูงขึ้นเมื่อสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ พวกเขาได้อธิบายว่าการว่างงานสูงนั้นทำให้องค์กรผู้ก่อการร้ายในปาเลสไตน์ สามารถที่จะดึงคนมีการศึกษา มีวุฒิภาวะมาเข้าร่วมได้มากขึ้น ดังนั้นสภาพเศรษฐกิจที่ดีกว่าอาจทำให้ประสิทธิภาพในการก่อการร้ายลดลง เนื่องจากองค์กรผู้ก่อการร้ายสามารถดึงคนที่มีคุณภาพ มีทักษะได้น้อยลง

ใน บทความได้สรุปประเด็นที่สำคัญไว้ตอนท้ายโดยยกงานวิจัยเกี่ยวกับชาติกำเนิด ของผู้ก่อการร้ายส่วนใหญ่ว่า ประเทศที่ให้สิทธิทางสังคมและการเมืองน้อยกว่ามีแนวโน้มที่จะผลิตผู้ก่อการ ร้ายออกมามากกว่า ปัจจัยทางการเมืองต่างหากที่จะเป็นอาวุธที่สำคัญในการต่อสู้กับการก่อการ ร้าย ไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าการก่อการร้าย นั้นซับซ้อนมากกว่าที่จะอธิบายและ แก้ไขด้วยมุมมองทางเศรษฐกิจอย่างเดียวเท่านั้น และผมเข้าใจว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นยั่งรากลึกและไม่ได้แก้ไขได้ง่ายๆ ผมจึงขอเป็นกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ดูแลความสงบในพื้นที่ภาคใต้ อย่างกล้าหาญและภาครัฐที่จะนำความสงบและสันติสุขกลับมายังพี่น้องประชาชนได้ ในเร็ววันครับ


ผู้ที่สนใจสามารถอ่านงานศึกษาดังกล่าวเพิ่มเติมได้ที่
"What Makes a Terrorist? Economics and the Roots of Terrorism", by Alan B. Kreuger, Princeton University Press
"Economic Conditions and the Quality of Suicide Terrorism", by Efraim Benmelech, Claude Berrebi and Esteban F. Klor, NBER Working Paper No. 16320, August 2010
Human Capital? and the Productivity of Suicide Bombers" by Efraim Benmelech and Claude Berrebi, Journal of Economic Perspectives, 2007. A version (with a different title) is available as NBER working paper No 12910

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

pump