?ตั้งครรภ์ระหว่างเรียน ควรได้เรียนต่อหรือไม่??
ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงในสังคมช่วงที่ผ่านมา จากการที่กรมอนามัยเตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยเจริญพันธุ์ ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีสาระสำคัญประการหนึ่งคือ คุ้มครองให้สถานศึกษาอนุญาตให้หญิงมีครรภ์ที่อยู่ในระหว่างเรียนต่อได้ในระหว่างตั้งครรภ์ และกลับมาศึกษาได้อีกครั้งหลังคลอดบุตร
ในประเด็นควรอนุญาตให้เด็กนักเรียนที่ตั้งครรภ์เรียนต่อได้หรือไม่นั้น ผมมองว่า การให้การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการ ?ให้โอกาส? และ ?ให้อนาคต? แก่ทุกคนที่เข้ารับการศึกษา และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ ดังนั้น จึงไม่ควรมีใครสักคนที่ถูกปิดกั้น รวมทั้งหญิงที่ตั้งครรภ์ด้วย ย่อมควรได้รับการเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาต่อไป

   ตั้งครรภ์ระหว่างเรียน


ที่มาของภาพ  http://www.lovecarestation.com/upload/media_library/2010/24-11-2010/672.jpg

บทสรุปการเมืองไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าขณะนี้ฝ่ายใดจะเป็นผู้ถือครองอำนาจ และไม่ว่าอนาคตจะเลือกตั้งใหม่อีกสักกี่ครั้ง ประชาธิปไตยของไทยยังไม่พัฒนา การจะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองและเข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้นั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่บนรากฐานขององค์ประกอบหลักสำคัญประการหนึ่ง คือ การใช้อำนาจอธิปไตยในการบริหารจัดการประเทศอย่างถูกต้องดีงาม สามารถนำความสุข สงบ มาสู่ประเทศชาติบ้านเมืองและประชาชนได้อย่างแท้จริง

     จากข่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส ได้ลงมติเห็นชอบกฎหมายห้ามหญิงชาวมุสลิมสวมเครื่องแต่งกายที่ปกคลุมร่างกายมิดชิด ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า หรือที่เรียกว่า ?นิกอบ? และ ?บุรกา? ตามที่สาธารณะ ฝ่าฝืนถูกปรับ 150 ยูโร (ประมาณ 6,100 บาท) และหากใครบังคับให้ผู้หญิงสวมผ้าปิดหน้า ต้องถูกปรับ 15,000 ยูโร (มากกว่า 610,000 บาท) ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกส่งให้วุฒิสภาพิจารณาลงมติในเดือน กันยายน


     วันที่ 1 ต.ค. 2553 ที่จะมาถึงนี้ ประเทศไทยจะมีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ที่มีชื่อว่า ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ซึ่งจะมารับหน้าที่ต่อจาก นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน ที่จะเกษียณอายุในเดือนกันยายนนี้   

     ดร.ประสาร เปิดเผยว่า ภารกิจแรกที่ต้องเข้ามาดูแลหลังจากรับตำแหน่ง คือ การดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างมั่นคง รวมทั้งต้องทำหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

          หากพิจารณาสังคมไทยในเวลานี้ การที่จะให้เกิดความปรองดอง / สมานฉันท์ ที่แท้จริงเกิดขึ้นได้นั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เพราะต้องใช้ความเสียสละของผู้ถืออำนาจ ที่ต้องกล้ายอมถอยออกมาจากพื้นที่แห่งอำนาจ เพื่อเปิดให้ทุกฝ่ายหันมาสมานฉันท์เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ทุกฝ่ายต้องพร้อมจะเสียสละสิ่งที่ตนต้องการ โดยมีเป้าหมายร่วม คือ เพื่อประโยชน์สุขและความสงบสุขของทุกคนในประเทศ

     เมื่อไม่นานมานี้นายกรัฐมนตรีได้แถลงการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ต่อรัฐสภา ในวงเงิน 2.07 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณขาดดุล 4.2 แสนล้านบาท (ร้อยละ 4.1 ของจีดีพี) และเพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี 2553 ถึง 3.7 แสนล้านบาท (ร้อยละ 21.8) เมื่อได้ฟังการอภิปรายและติดตามข่าวสารในเรื่องดังกล่าว ผมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับงบประมาณปี 2554 ดังต่อไปนี้



     นับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2553 ที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้เข้ายึดพื้นที่ในบริเวณย่านราชประสงค์ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 1 เดือนเศษแล้ว การชุมนุมที่บริเวณแยกราชประสงค์นั้นได้ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อผู้ประกอบการและแรงงานบริเวณนั้นเป็นอย่างมาก มีการประเมินว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีมูลค่า 5,244 ล้านบาท/เดือน หรือ 174 ล้านบาท/วัน ซึ่งรัฐบาลพยายามดูแลผู้รับผลกระทบโดยการให้เงินชดเชย 3,000 บาท แก่ลูกจ้างที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท 20,000 คน แต่ว่านายกรัฐมนตรีไม่เห็นชอบ เนื่องจากเห็

     ?โอกาสที่เราจะกลับคืนสู่ดินแดนแห่งความสงบ มีเอกภาพและสันติภาพ ยังมีความเป็นไปได้หรือไม่??

     เราทุกคนคงไม่มีใครอยากเห็นความแตกแยกของคนในชาติที่ไม่สามารถคืนเอกภาพดังเดิมได้ ดังนั้น แนวคิดหนึ่งที่เราจำเป็นต้องปลูกฝังให้อยู่ในสำนึกของคนทุกคน ทั้งในรุ่นนี้และรุ่นต่อไป นั่นคือ แนวคิดสังคมพหุเอกานิยม 

     กระทรวงพาณิชย์ได้รายงานว่าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.53 ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย 5 ประเทศ ได้แก่ กรอบเจรจาไทย - ออสเตรเลีย ไทย -นิวซีแลนด์ อาเซียน - จีน ไทย - ญี่ปุ่น อาเซียน - เกาหลี รวมทั้งข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า (AFTA) จะมีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยอย่างกว้างขวางมากขึ้น ทำให้โดยรวมแล้วประเทศไทยจะต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าเหลือร้อยละ 0 จำนวนกว่าหมื่นรายการ