ที่มาของภาพ http://www.animalliberationfront.com/News/AnimalPhotos/Animals_151-160/tiger_rabbits2.jpg

หลายท่านถามผมว่าเศรษฐกิจปีนี้จะเป็นอย่างไร ผมคิดว่า”เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเป็นกระต่ายที่วิ่งช้า

                

      ที่มาของภาพ  http://hilight.kapook.com/img_cms2/sport/100_14.jpg

    วิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองและทางความคิดในตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของไทยแล้ว เป็นที่น่าตกใจว่ายังได้ส่งผลกระทบลุกลามไปถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนไทยด้วย ซึ่งจากผลการสำรวจความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนไทย อายุระหว่าง 15-25 ปี ในเขตกรุงเทพฯ ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เรื่อง ?มองการเมืองไทยผ่านสายตาเยาวชน? เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2553 พบว่า เยาวชนไทยให้ความสนใจต่อเหตุการณ์ทางการเมืองค่อนข้างน้อยถึงไม่สนใจเลยถึงร้อยละ 62.1แม้ว่าในที่นี้ส่วนใหญ่จะยังเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของทุกคนในสังคมก็ตาม ขณะที่มีเด็กและเยาวชนไทยถึงร้อยละ 90.6 ระบุว่าในอนาคตไม่อยากเป็นนักการเมือง เนื่องด้วยนักการเมืองมีชื่อเสียงไม่ดี ไม่โปร่งใส ไม่ปลอดภัย และต้องรับผิดชอบคนหมู่มาก สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ หากไม่ได้รับการแก้ไขคาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเมืองไทยในอนาคต

ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของประเทศไทย คือการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรที่ดูเหมือนมีอยู่อย่างไม่จำกัด หรือทรัพยากรที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี (free access) อาทิ แหล่งน้ำธรรมชาติ ที่ดินสาธารณะ หรือแม้กระทั่งอากาศ ฯลฯ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว คือปัญหามลภาวะทางอากาศและน้ำในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปัญหาน้ำเสียในเขตเมือง ปัญหาการบุกรุกที่ดินสาธารณะ หรือปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า

กลไกตลาด ทางเลือกใหม่ การจัดการทรัพยากร

       

  ที่มาของภาพ http://www.vcharkarn.com/uploads/150/150460.jpg 

           กระแสโลกในปัจจุบัน เราเริ่มเห็นประเทศพัฒนาแล้วหันกลับมาใช้นโยบายแทรกแซงภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น จากเดิมซึ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้เหมาะสมและปล่อยให้กลไกตลาดเป็นผู้ตัดสินว่าอุตสาหกรรมใดมีโอกาสที่จะเติบโต  ขณะนี้บรรดาผู้นำประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจของโลกได้ประกาศชัดเจนถึงทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของตน ดังตัวอย่างของประธานาธิบดีโอบามาที่ได้กล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯต้องตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์มากขึ้น ดังนั้นแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯจึงจัดสรรงบประมาณจำนวนมากเพื่อสร้างนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม  เช่น  อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน รถไฟความเร็วสูงและยานยนต์ขั้นสูง หรือตัวอย่างของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นซึ่งได้กล่าวไว้เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการที่จะสร้าง ?บริษัทของญี่ปุ่น? ขึ้นมาใหม่ เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจกับรัฐให้มากขึ้น หรือกรณีของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปที่ประกาศว่าจะใช้นโยบายอุตสาหกรรมเชิงรุก ให้ความสำคัญกับภาคการผลิตมากขึ้น สนใจภาคบริการและอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้เข้มข้นน้อยลง เป็นต้น