ประเทศไทย 4.0

จากบทความตอนที่แล้ว ผมได้นำเสนอข้อเสนอแนะในการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่ประเทศไทย 4.0 ภายใต้ประเด็นหลักที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการโดยทุนวัฒนธรรมไปแล้ว ในบทความตอนนี้จะเป็นการให้ข้อเสนอแนะในมิติการสร้างนวัตกรรมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างนวัตกรรม

จากบทความตอนที่แล้ว ผมได้แสดงมุมมองต่อแนวคิดประเทศไทย 4.0 และกล่าวถึงความเกี่ยวข้องระหว่างทุนวัฒนธรรมกับการเป็นประเทศไทย 4.0 ซึ่งผมมองว่าทุนวัฒนธรรมเป็นเหมือนกิจกรรมต้นน้ำ (Upstream)ในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกับทุนวัฒนธรรม คือ กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งต้องทำหน้าที่พัฒนาทุนวัฒนธรรมและส่งมอบไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้นเพื่อสามารถนำไปสร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อไปได้ ผมมีข้อเสนอแนะในการใช้ทุนทางวัฒนธรรมโดยแบ่งเป็น 2 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการโดยทุนวัฒนธรรม และการสร้างวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างนวัตกรรม
รัฐบาลพยายามผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 หรือไทยแลนด์ 4.0 กล่าวคือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี เป็นการเน้นภาคบริการ แทนภาคอุตสาหกรรม เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ที่สร้างความมั่งคั่งผ่านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ เนื่องด้วยนโยบายนี้มีความสำคัญต่อทิศทางการพัฒนาของประเทศ ในบทความนี้ ผมจะนำเสนอมุมมองของผมในการใช้ทุนวัฒนธรรมในการขับเคลื่อนไปสู่ประเทศไทย 4.0 โดยให้ความสำคัญกับมิติทางเศรษฐกิจเป็นหลัก