แก้เกณฑ์เออร์ลี่รีไทร์ ?ครู?

* ภาพจาก http://www.ffc.or.th/webboard/viewtopic.php?t=458
การดำเนินโครงการเออร์ลี่รีไทร์ในรัฐบาลชุดก่อน ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากข้าราชการครูทั่วประเทศ เนื่องจากมีข้อเสนอที่จูงใจ ในขณะเดียวกันก็มีเสียงคัดค้านจากนักวิชาการ ถึงผลกระทบของการเออร์ลี่ฯ ครู ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังครู ปัญหางบประมาณที่ไม่เพียงพอสำหรับโครงการเออร์ลี่ฯ และปัญหาครูบรรจุใหม่ที่อาจขาดประสบการณ์

จากรายงานล่าสุดของ สพฐ. ระบุว่า หากครูเออร์ลี่ฯ 100 คน รัฐสามารถบรรจุครูใหม่ได้เพียง 26 คน ในจำนวนครูที่เออร์ลี่ฯ ทั้งหมด ส่งผลให้อัตรากำลังครูขาดความสมดุล ส่วนหนึ่งมาจากเงื่อนไขการเออร์ลี่ฯ ที่ให้ผลตอบแทนสูงถึง 8-15 เท่าของเงินเดือน ดังนั้น เมื่อนำงบประมาณไปใช้ในโครงการเออร์ลี่ฯ จำนวนมาก จึงมีเงินไม่พอในการบรรจุครูใหม่เข้ามาทดแทนได้หมด

ด้วยเหตุนี้ กระทรวงศึกษาธิการจึงเร่งศึกษาข้อมูลโครงการเออร์ลี่ฯ ldquo;ครูrdquo; โดยมีแผนจะศึกษาผลกระทบของโครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2550 นี้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าโครงการเออร์ลี่ ฯ อาจต้องระงับ เพราะเกรงว่าจะทำให้ขาดแคลนครู ท่ามกลางเสียงคัดค้านของข้าราชการครูที่ต้องการเข้าโครงการเป็นจำนวนมาก
** ภาพจาก www.eduyala2.org/images/stories/ther.jpg

ผมอยากให้รัฐบาลชุดปัจจุบันรวมถึงรัฐบาลใหม่ ได้ทบทวนโครงการ โดยพิจารณาให้รอบครอบอีกครั้ง เพราะการเดินหน้าต่อไปหรือไม่นั้น อาจไม่สำคัญเท่าการวางกฎเกณฑ์ที่รัดกุม ไม่ให้เป็นการแก้ปัญหาเพื่อที่จะเกิดปัญหาตามมาอีก ซึ่งผมขอเสนอทางออก 6 ประการ ดังนี้

กำหนดให้เออร์ลี่รีไทร์ได้เฉพาะครูในสาขาวิชาที่ไม่ขาดแคลน
กลุ่มครูในสาขาที่ขาดแคลน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ฯลฯ ไม่ควรให้เออร์ลี่ฯ เพราะจะส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษา แต่รัฐจำเป็นต้องมีระบบการจูงใจที่มากเพียงพอ ในการดึงดูดให้ครูกลุ่มสาขาที่ขาดแคลนนี้ให้อยู่ในระบบต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการให้ค่าตอบแทน สวัสดิการ รางวัลจูงใจ ฯลฯ

กำหนดให้เออร์ลี่รีไทร์ได้เฉพาะครูในสถานศึกษาที่ไม่ขาดแคลนครู
กระทรวงศึกษาธิการควรสำรวจในแต่ละสถานศึกษาให้ชัดเจนว่า ครูที่เข้าร่วมโครงการเออร์ลี่ฯ นั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อจำนวนครูที่ปฏิบัติภารกิจการเรียนการสอนในสถานศึกษาแห่งนั้น อย่างไรก็ตาม หากสถานศึกษาขาดแคลนครู แต่มีความจำเป็นที่จะต้องมีครูเออร์ลี่ฯ ออกไป ควรมีตำแหน่งรองรับการบรรจุครูใหม่เข้ามาได้ ไม่ใช่ตัดตำแหน่งหรือโควต้าออก

กำหนดให้เออร์ลี่รีไทร์ได้เฉพาะครูที่มีความจำเป็นเฉพาะกรณี
เช่น มีปัญหาด้านสุขภาพหรือด้านจิตใจ มีปัญหาไม่ผ่านการประเมินผล มีปัญหาพฤติกรรรมไม่เหมาะสม หรือมีปัญหาการปฏิบัติงานที่ขาดประสิทธิภาพ เพื่อชักจูงให้ครูกลุ่มนี้ออกจากระบบการศึกษา และนำครูที่เป็นน้ำใหม่เข้ามาพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการต้องมีมาตรการสร้างความเข้าใจใหม่ว่า ครูที่จะเออร์ลี่ฯ ได้นั้น ต้องเป็นครูที่ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน หรือมีความจำเป็นเฉพาะกรณีเท่านั้น โดยกำหนดผลตอบแทนแก่ครูที่จะเออรี่รีไทร์ที่เพียงพอในการจูงใจให้คนกลุ่มนี้ออกจากระบบไป

กำหนดให้ก่อนเออร์ลี่รีไทร์ 1
ปี ครูต้องถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สถานศึกษา โดยอาจเป็นลักษณะของการทำคู่มือให้แก่ครูที่กำลังสอนอยู่ในสถานศึกษานั้น หรือครูที่กำลังจะถูกรับเข้ามาใหม่เพื่อถ่ายทอดอุดมการณ์ เทคนิคการสอน ประสบการณ์ หรือผลงานวิจัย ลงในคู่มือ ให้ครูรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และปฏิบัติเทคนิควิธีการสอนจากครูรุ่นก่อนที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณการฝึกอบรมและพัฒนาครูรุ่นใหม่ในระยะยาว

กำหนดระยะเวลาการเออร์ลี่รีไทร์ให้เหมาะสม
กระทรวงศึกษาธิการควรพิจารณาระยะเวลาของโครงการเออร์ลี่ฯ ldquo;ครูrdquo; แยกจากระยะเวลาตามวาระของข้าราชการพลเรือนทั่วไป โดยพิจารณาจากอัตรากำลังของครูที่มีอยู่ในขณะนั้น หากพบว่า การเออร์ลี่ฯ ldquo;ครูrdquo; ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนครู ควรยืดเวลาไปก่อน แต่ให้ครูที่ต้องการเออรี่รีไทร์สามารถลงชื่อร่วมโครงการไว้ก่อนได้
ความพยายามของกระทรวงศึกษาธิการ ในการพิจารณาโครงการเออร์ลี่ฯ อย่างเข้มงวด นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีของการพิจารณาในโครงการอื่น ๆ ต่อไป อย่างไรก็ตาม ผมอยากให้รัฐบาลหันมาพิจารณากฎระเบียบของการเออร์ลี่ฯ อย่างละเอียดมากขึ้น รวมทั้งกำหนดแนวทางในระยะยาว เพราะการแก้ปัญหาโครงการดังกล่าว คงไม่สามารถทำในลักษณะของการ ldquo;ล้มกระดานrdquo; เพื่อยุติโครงการฯ เพราะเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ซึ่งจะสร้างบรรยากาศความขัดแย้งในกลุ่มข้าราชการครูมากขึ้น

แสดงความคิดเห็น
admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2007-09-27