พูดโดนใจ เมื่อเข้าใจผู้ฟัง
ศาสตราจารย์ จอห์น คัลกิน ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการสื่อสาร กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า
ldquo;
การสื่อสารเป็นงานที่น่าขัน เพราะว่าภายในตัวมันเองไม่มีอะไรที่สลับซับซ้อนอย่างที่คนคิดกัน สำหรับบางคนอาจมิได้หมายถึงเพียงการพูดถึงเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้อื่นฟัง แต่หมายถึงการทำให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่เราพูด นักสื่อสารจึงควรพูดด้วยภาษาและนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องราวที่ผู้ฟังเข้าใจ ดังนั้น การเลือกใช้คำพูดจึงไม่สำคัญเท่ากับการทำความเข้าใจผู้ฟังเสียงก่อนrdquo;
การสื่อสารเป็นงานที่น่าขัน เพราะว่าภายในตัวมันเองไม่มีอะไรที่สลับซับซ้อนอย่างที่คนคิดกัน สำหรับบางคนอาจมิได้หมายถึงเพียงการพูดถึงเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้อื่นฟัง แต่หมายถึงการทำให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่เราพูด นักสื่อสารจึงควรพูดด้วยภาษาและนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องราวที่ผู้ฟังเข้าใจ ดังนั้น การเลือกใช้คำพูดจึงไม่สำคัญเท่ากับการทำความเข้าใจผู้ฟังเสียงก่อนrdquo;
การทำความเข้าใจผู้ฟัง เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราต้องทำ..ก่อนพูด
ทั้งนี้เพราะแท้จริงแล้ว เป้าหมายของการพูดต่อหน้าชุมชนที่ดี ย่อมมีวาระหรือมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ไม่เพียงแต่ให้ผู้ฟังได้ยิน รับรู้ หรือแม้แต่ชื่นชมในสิ่งที่เราพูด แต่จะต้องจูงใจให้ผู้ฟังตอบสนองต่อสิ่งที่เราพูด ในทิศทางที่เราตั้งเป้าหมายไว้
ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องรู้ว่า สิ่งที่เราพูดนั้น พูดให้ใครฟัง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ฟังได้รับอะไร การรู้ว่า ผู้ฟังของเราเป็นใครจะช่วยให้เราสามารถกำหนดเรื่อง วิธีการนำเสนอ การใช้ภาษา การยกตัวอย่างให้เหมาะสม
เรื่องที่ควรพิจารณาในการทำความเข้าใจผู้ฟัง ได้แก่
กลุ่มผู้ฟังเป็นใคร? คนที่จะมาฟังเรานั้นเป็นคนกลุ่มเดียวกันหรือไม่ อาทิ มีอาชีพเดียวกัน มาจากที่เดียวกันหรือไม่ หรือมีคนหลายกลุ่มปะปนกัน ถ้าเป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น กลุ่มอาชีพ หรือมาจากองค์กรเดียวกัน ย่อมช่วยให้เราเข้าใจในเบื้องหลังความเป็นมาของเขาได้
หากกลุ่มผู้ฟังมีความหลากหลาย เช่น เราอาจได้รับเชิญไปกล่าวปาฐกถาให้กับสโมสรแห่งหนึ่ง ซึ่งกลุ่มผู้ฟังเป็นสมาชิกของสโมสรนี้ แต่มาจากต่างที่ต่างถิ่น และมีอาชีพที่หลากหลาย เราจำเป็นต้องพยายามเข้าใจและหาตัวร่วมที่คล้ายกันในระหว่างคนเหล่านั้น เช่น รู้ว่าเพราะเหตุใด พวกเขาจึงมารวมกลุ่มในวันนั้น วัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มในวันนั้นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราในการกำหนดแนวทางการพูดให้ครอบคลุมและเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังมากที่สุด
นอกจากนี้ เราควรรู้ล่วงหน้าว่า ในการพูดของเรามีกลุ่มผู้ฟังเฉพาะเจาะจง ตั้งใจมาฟังหรือไม่โดยเฉพาะ หรือเป็นการพูดในที่สาธารณะซึ่งเปิดกว้างสำหรับบุคคลทั่วไป ไม่สามารถกำหนดกลุ่มผู้ฟังเจาะจงได้ เพื่อให้เราสามารถกำหนดและประเมินรูปแบบ ลีลา การพูดของเราว่าควรจะดึงดูดผู้ฟังให้สนใจเราได้อย่างไร
ผู้ฟังต้องการอะไร? เราต้องจำไว้ว่า คนจะเปิดใจรับข้อมูลข่าวสารได้ง่าย หากเรื่องนั้นอยู่ในความสนใจ ใกล้ตัว ตอบสนองความต้องการบางอย่างของเขาได้ ดังนั้น เราจึงควรรู้ล่วงหน้าเกี่ยวกับผู้ฟังในเรื่องต่าง ๆ อาทิ อาชีพของเขาเป็นอย่างไร ทำอะไร เขามีความต้องการ มีปัญหาอะไร ใครคือบุคคลที่คนเหล่านี้ยกย่องชื่นชม เรื่องตลก ๆ ที่เล่ากันในหมู่คนอาชีพนี้คืออะไร เพื่อที่เราจะได้ยก
ตัวอย่าง ความประทับใจหรือประสบการณ์ของเราบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับอาชีพหรือคนในวิชาชีพของเขา หรือกล่าวถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับผู้ฟังสอดแทรกเข้ามาในบทพูดของเราได้
เมื่อเรารู้จักผู้ฟัง สิ่งที่ควรจำไว้ใช้ในการพูดทุกครั้ง นั่นคือ ไม่ว่าหัวข้อการพูดของเราจะเป็นเรื่องใดก็ตาม ให้เราพยายามสอดแทรกในส่วนใดส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่จะพูด ในเรื่องที่ใกล้ตัวผู้ฟัง อาจจะเป็นเรื่องขำขันที่เหมาะกับรสนิยมของผู้ฟัง ปัญหาที่เขากำลังสนใจ บุคคลที่พวกเขาชื่นชม สิ่งเหล่านี้จะเป็นพลังดึงดูดผู้ฟังให้เกิดความสนใจในสิ่งที่เราพูดได้เป็นอย่างดี
การรู้จักผู้ฟังจะช่วยสร้างความใกล้ชิด ความรู้สึกเป็นกันเอง ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง อันช่วยส่งเสริมให้เกิดความสนใจฟังในสิ่งที่เราพูด เกิดความประทับใจในตัวเรา ที่สำคัญจะตามมาด้วยความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจ ยอมรับและตอบสนองต่อสิ่งที่เราพูดได้โดยง่าย
เผยแพร่:
งานวันนี้
เมื่อ:
2007-09-04