November 2013

อารยวาที : ดีเบตเพื่อทุกฝ่ายชนะ

หลังจากที่พิจารณาแล้ว เราแต่ละคนจะเกิด ?จุดยืน? ต่อเรื่องนั้น ๆ ที่ชัดเจนขึ้น แต่อาจจะเป็นจุดยืนที่แตกต่างกันเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย หรือฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายค้าน

การตัดสินใจโดยใช้ ?อำนาจ? ที่มากกว่า อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด นอกจากอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งแล้ว ยังอาจทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างไม่รอบคอบ และทำให้ส่วนรวมต้องรับผลกระทบเชิงลบตามมา

อารยพิจารณา : รอบคอบ เพื่อผลดียั่งยืน

ในการสนทนา ปรึกษาหารือ เพื่อหาข้อตกลงหรือจุดยืนที่ยอมรับร่วมกัน อาจเป็นการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน การหาทางออกเมื่อเกิดข้อขัดแย้ง  หรือการหาทางเลือกที่ดีที่สุดอย่างเป็นเอกฉันท์ ควรใช้แนวทางที่ผมเรียกว่า อารยสนทนา หรือ การสนทนาพูดคุยกันในทุกระดับ ตั้งแต่ระหว่างคน 2 คนจนถึงสนทนาสาธารณะ มีเป้าหมายเพื่อหาข้อตกลงหรือจุดยืนที่ยอมรับร่วมกัน โดยมีหลักปรัชญาอารยะเป็นตัวกำกับ 

อารยสนทนาเป็นกระบวนการสนทนาที่มีทั้งหมด 12 ขั้นตอน  เราได้เรียนรู้ไปแล้ว 4 ขั้นตอนแรก อันได้แก่ อารยสดับ เริ่มต้นด้วยการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ  ขั้นที่สอง อารยปุจฉา การซักถามจนเข้าใจกระจ่าง ขั้นที่สาม อารยปริทัศน์ การมีมุมมองที่เปิดกว้าง มุ่งส่วนรวมและชนะทุกฝ่าย  และเคลื่อนต่อไปสู่ขั้นตอนที่สี่ คือ อารยถกแถลง การนำมุมมองของแต่ละคน แต่ละฝ่ายที่แตกต่างกันนั้น มาร่วมกันถกแถลง  

อารยปริทัศน์ : มุมมองแบบชนะ- ชนะ

แหล่งที่มาของภาพ : http://www.stevewiens.com/wp-content/uploads/2013/04/looking-glass-721.jpg
การสนทนาที่แท้จริง เมื่อฟังแล้ว ต้องคิดตาม ต้องเกิดข้อสงสัย และต้องตั้งคำถามเป็น และเมื่อเกิดการซักถามจนเข้าใจกระจ่างแล้ว เราจะเกิด ?มุมมอง? ต่อเรื่องดังกล่าว ซึ่งอาจจะเหมือนกันหรือแตกต่างกัน ในแต่ละคน

คนในสังคม เมื่อรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม มักจะวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเหล่านั้น ไปตามมุมมองความคิดของตน ในเรื่องเดียวกัน อาจมีมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย

อารยถกแถลง : ต่างมุม ร่วมกันมอง


แหล่งที่มาของภาพ : http://criticalthinking-mc205.wikispaces.com/file/view/groups.jpg/245853969/groups.jpg

ในวงสนทนาที่มีการตั้งประเด็นพูดคุยที่ชัดเจน เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนั้น  ซึ่งอาจเป็นการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน การหาทางออกเมื่อเกิดข้อขัดแย้ง  หรือการหาทางเลือกที่ดีที่สุดอย่างเป็นเอกฉันท์ร่วมกัน การสนทนาจะไปสู่ข้อสรุปที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ จะต้องใช้แนวทางที่ผมเรียกว่า อารยสนทนา หรือ ารสนทนาพูดคุยกันในทุกระดับ ตั้งแต่ระหว่างคน 2 คนจนถึงสนทนาสาธารณะ มีเป้าหมายเพื่อหาข้อตกลงหรือจุดยืนที่ยอมรับร่วมกัน โดยมีหลักปรัชญาอารยะเป็นตัวกำกับ 

จีนเป็นความหวังของเศรษฐกิจไทย

เดลินิวส์
คอลัมน์ “แนวคิด ดร.แดน”

โอกาสของประเทศไทยผ่านการร่วมมือระหว่างไทยและจีน


แหล่งที่มาของภาพ : http://www.mekongchula.com/backoffice/modules/news_activity/medias/images/iz36kiqo81.jpg

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจไทยมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจไปตามกระแสเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลาโดย

ถึงแม้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรปยังจะต้องประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ทั้งนี้ โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าประเทศไทยควรหันไปสร้างความร่วมมือกับประเทศจีนมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากปัจจุบันเศรษฐกิจของจีน จะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยและจีนยังคงมีลักษณะของความเป็นประเทศญาติมิตร เพราะคนไทยประมาณ 7 - 8 ล้านคน มีเชื้อสายจีน ตลอดจนวัฒนธรรมและประเพณีของจีนได้เข้ามาในประเทศไทยอย่างแพร่หลายและสอดคล้องกับการที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับคนจีนโพ้นทะเลที่อยู่ทั่วโลก ดังนั้น ไทยควรใช้โอกาสนี้พัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าไปพร้อมกับประเทศจีนที่กำลังก้าวเข้าสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ผมจึงขอเสนอช่องทางที่จะเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศไทย - จีน ดังนี้

การส่งเสริมการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มประเทศอาเซียน


แหล่งที่มาของภาพ : http://catennis.squarespace.com/storage/beginner-investing.jpg?__SQUARESPACE_CACHEVERSION=1323320721001

เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเติบโตอย่างมากในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมาโดยมีความเชื่อมโยงและพึ่งพิงกับเศรษฐกิจโลกที่มีการพัฒนาในระดับสูง เนื่องจากลำพังทรัพยากรภายในประเทศเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะพัฒนาประเทศให้ก้าวไปอย่างรวดเร็วจนทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่เสมอ (dynamism) ของเศรษฐกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเศรษฐกิจโลกมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา มีประเทศเกิดใหม่จากภูมิภาคอื่นที่พัฒนาตามหลังมา ประเทศในอาเซียนจึงต้องปรับตัวไปหาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อหนีการไล่ตามนั้น และหาจุดที่เป็นจุดแข็ง (niche) ที่คู่แข่งไม่สามารถสู้ได้อยู่ตลอดเวลา การวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ จึงเป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับทุกประเทศในภูมิภาคนี้

'หลักคิดบวก'ก็'บวก'ตลอดชีวิต

แพ้ชนะเริ่มต้นที่ความคิด ถ้าเราไม่คิดที่จะแพ้ แม้วันนี้ดูเหมือนเราพ่ายแพ้ แต่แน่นอนว่ามันจะไม่อยู่กับเราตลอดไป

คนคิดบวกไม่ใช่คนที่ไม่เคยแพ้ ไม่ใช่คนที่ไม่เคยเศร้า ไม่ใช่คนที่ไม่เคยท้อ แท้ แต่คือคนที่ไม่เคยทิ้งเป้าหมาย ไม่เคยทิ้งอุดมการณ์ที่ดี ไม่เคยทิ้งหลักคิดที่ยึดมั่น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จึงสามารถฉุดตัวเองให้ลุกขึ้นก้าวเดินต่อไปได้ไม่ว่าจะล้มลงกี่ครั้งก็ตาม