โอกาสของประเทศไทยผ่านการร่วมมือระหว่างไทยและจีน
แหล่งที่มาของภาพ : http://www.mekongchula.com/backoffice/modules/news_activity/medias/images/iz36kiqo81.jpg
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจไทยมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจไปตามกระแสเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลาโดย
ถึงแม้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรปยังจะต้องประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ทั้งนี้ โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าประเทศไทยควรหันไปสร้างความร่วมมือกับประเทศจีนมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากปัจจุบันเศรษฐกิจของจีน จะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยและจีนยังคงมีลักษณะของความเป็นประเทศญาติมิตร เพราะคนไทยประมาณ 7 - 8 ล้านคน มีเชื้อสายจีน ตลอดจนวัฒนธรรมและประเพณีของจีนได้เข้ามาในประเทศไทยอย่างแพร่หลายและสอดคล้องกับการที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับคนจีนโพ้นทะเลที่อยู่ทั่วโลก ดังนั้น ไทยควรใช้โอกาสนี้พัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าไปพร้อมกับประเทศจีนที่กำลังก้าวเข้าสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ผมจึงขอเสนอช่องทางที่จะเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศไทย - จีน ดังนี้
1.ความร่วมมือด้านการเกษตร
จากนโยบายเกษตรสมัยใหม่ (new agriculture) ของรัฐบาลจีน ณ ปัจจุบัน ที่เน้นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมภายในประเทศ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศจีนประสบความสำเร็จ จนสามารถสร้างเทคโนโลยีทางการเกษตรที่มีคุณภาพ อาทิ เทคโนโลยีการพัฒนาพันธุ์ข้าว เทคโนโลยีการป้องกันภัยพิบัติด้านเกษตรกรรม และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงพันธุ์ เป็นต้น ดังนั้นหากประเทศไทยสามารถเพิ่มการร่วมมือกับประเทศจีนในการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการเกษตร จะทำให้ประเทศไทยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร และสามารถรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ประเทศจีนประสบความสำเร็จในการพัฒนาการเกษตร คือ ความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบของภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ปัจจัยหนึ่งที่เป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาการเกษตรในประเทศไทยนั้นคือ งบประมาณที่จำกัด ดังนั้น การร่วมมือกับประเทศจีนในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรจะเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่สำคัญในการพัฒนาการเกษตรภายในประเทศ อีกทั้งรัฐบาลไทยควรสนับสนุนให้ประเทศจีนนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาเผยแพร่ประเทศไทย ผ่านการตั้งศูนย์พัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ในประเทศ เหมือนอย่างที่จีนและญี่ปุ่นได้ร่วมมือกันในการตั้งศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ในประเทศญี่ปุ่น
2.ความร่วมมือในการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่นักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากที่สุด จากสถิติในปี 2012 และ 9 เดือนแรกของปี 2013 การเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีนได้สร้างรายได้แก่ประเทศไทยกว่า 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวสัญชาติอื่น อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของรายได้จากนักท่องเที่ยวจีนต่อรายได้ที่ได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมดของประเทศในปี 2013 คิดเป็น 17.4% ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากปี 2009 กว่า 13% ทั้งนี้ จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
2.ความร่วมมือในการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่นักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากที่สุด จากสถิติในปี 2012 และ 9 เดือนแรกของปี 2013 การเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีนได้สร้างรายได้แก่ประเทศไทยกว่า 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวสัญชาติอื่น อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของรายได้จากนักท่องเที่ยวจีนต่อรายได้ที่ได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมดของประเทศในปี 2013 คิดเป็น 17.4% ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากปี 2009 กว่า 13% ทั้งนี้ จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
สิ่งที่ประเทศไทยพึงกระทำคือ เพิ่มความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและจีน เพื่อที่จะทำให้การส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยในประเทศจีนมีความเป็นไปได้มากขึ้น อาทิ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายด้านการท่องเที่ยวของจีนที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการเดินทางมาเมืองไทยของนักท่องเที่ยวจีน เป็นต้น มากไปกว่านั้น กระทรวงการท่องเที่ยวไทยควรมีแนวทางที่จะยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น
3.ความร่วมมือในการส่งเสริมให้ภาษาจีน เป็นภาษาที่ 3 ในระบบการศึกษาไทย
ผมคิดว่าประเทศไทยควรสนับสนุนภาษาจีน ให้เป็นภาษาที่ 3 ในระบบการศึกษามากขึ้น เหตุเพราะภาษาจีนเป็นภาษาที่คนใช้มากที่สุดในโลก และปัจจุบันประเทศจีนมีความพยายามที่จะมีอิทธิพลทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม มากขึ้นในประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอาเซียน ดังนั้นการเรียนภาษาจีนของนักเรียนไทย จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับจีน อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมได้ดียิ่งขึ้น และลดอุปสรรคด้านภาษาในการทำงานร่วมกันระหว่างธุรกิจไทย - จีน ทั้งนี้ จะผลักดันให้ประชาชนไทยเรียนรู้ภาษาจีนจะช่วยให้ประชาชนชาวไทยมีศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลควรผลักดันให้เกิดขึ้นคือ การพัฒนาหลักสูตรภาษาจีนในระบบการศึกษา และความร่วมมือกับรัฐบาลจีนในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาจีน อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย - จีน เป็นต้น
ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com
ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com
Post date:
Tuesday, 19 November, 2013 - 12:30