วิจัย

เมื่อมองการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมคิดว่า เราไม่ได้ออกแบบอนาคตอย่างมีวิสัยทัศน์  คนในชาติมองไม่เห็นอนาคตว่า ประเทศชาติจะลงเอยอย่างไรในระยะยาว เพราะมุ่งเน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พรรคการเมืองเน้นทำนโยบายระยะสั้นเอาใจประชาชน และเปลี่ยนนโยบายทุกครั้งที่เปลี่ยนรัฐบาล

     ประเทศมาเลเซียมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว หรือประเทศรายได้สูง (รายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ 15,000 ดอลลาร์ ตามเกณฑ์ของธนาคารโลก) ภายในปี 2020 โดยปัจจุบัน ประเทศมาเลเซียมีรายได้ต่อหัวประชากร (GNI per capita, Atlas method) ในปี 2016 อยู่ที่ 9,860 ดอลลาร์ ขณะที่ประเทศไทยมีรายได้ต่อหัวประชากรอยู่ที่ 5,640 ดอลลาร์ 

จากคำถามที่ว่า กรุงเทพและปริมณฑลควรจะเป็นมหานครของเอเชียในมิติใด? ผมได้ใช้ ?ทฤษฎีหลักหมุด? ที่ผมคิดขึ้นเพื่อตอบคำถามดังกล่าว ทฤษฎีนี้ทำให้เราสามารถตอบคำถามโดยพิจารณาตั้งแต่หลักปรัชญาที่เป็นนามธรรม หลักคิด หลักวิชา หลักการ ไปจนถึง หลักปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างสอดคล้องกันตลอดทาง ในบทความครั้งที่ผ่านมา ผมนำเสนอไปแล้ว 3 หลักในทฤษฎีหลักหมุดของผม คือหลักปรัชญา หลักคิด หลักวิชา และในบทความตอนนี้ ผมจะนำเสนออีก 2 หลัก เพื่อตอบคำถามว่า กรุงเทพและปริมณฑลควรจะเป็นมหานครของเอเชียในมิติใด

 
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความตั้งใจจะก้าวไปสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง เห็นได้จากนโยบายและวิสัยทัศน์ของประเทศในปัจจุบันที่อยู่ในช่วงปฏิรูปพัฒนาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศให้ก้าวไปสู่ความมั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีหลายประเทศที่สามารถก้าวข้ามจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางกลายเป็นประเทศเศรษฐกิจรายได้สูงได้ หนึ่งในนั้น คือ ประเทศไอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจและสามารถนำมาเป็นบทเรียนให้กับระบบเศรษฐกิจประเทศไทยได้
 
เศรษฐกิจของไอร์แลนด์มีการขยายตัวอย่างมาก รายได้ต่อหัวของประชากร (GDP per capita) ในปีค.ศ.1970 อยู่ที่ 10,297 ดอลลาร์ และเพิ่มขึ้นเป็น 45,735 ดอลลาร์ หรือสูงขึ้นถึง 4.4 เท่า ในปีค.ศ.2007 หากพิจารณาประเทศร่ำรวย 20 อันดับแรกของโลก ไอร์แลนด์ถือเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในช่วงปี 1973 ? 2007 นอกจากนี้หากพิจารณาวัฏจักรธุรกิจโลกทั้ง 4 ครั้ง คือ 1973 ? 1979, 1979 ? 1989, 1989 ? 2000, 2000 ?
 
จากข้อมูลในรายงานวิจัยเรื่องดัชนีชี้วัดคลังสมองทั่วโลก ประจำปี 2014 (2014 Think-Tank Index Report)ของ The Lauder Institute แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย พบว่า มีจำนวนคลังสมอง (Think-Tank) ทั่วโลกทั้งสิ้น 6,681 แห่ง แบ่งเป็นที่ทวีปอเมริกาเหนือ 1,989 แห่ง ทวีปยุโรป 1,822 แห่ง ทวีปเอเชีย 1,106 แห่ง ทวีปอเมริกากลาง-ใต้ 674 แห่ง ทวีปตะวันออกกลาง-เหนือ 521 แห่ง ทวีปแอฟริกา-ซับ ซาฮารา 467 แห่ง และทวีปโอเชียเนีย 39 แห่ง เมื่อเรียงลำดับจำนวนคลังสมองของแต่ละประเทศ พบว่า ประเทศที่มีจำนวนคลังสมองมากที่สุด คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีจำนวนทั้งสิ้น 1,830 แห่ง รองลงมาคือ ประเทศจีนและประเทศอังกฤษ มีคลังสมอง 429 และ 287 แห่งตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีประเทศที่มีจำนวนคลังสมอง 100-199 แห่ง อีก 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเยอรมนี อินเดีย ฝรั่งเศส อาร์เจนตินา รัสเซีย และญี่ปุ่น ส่วนประเทศที่เหลือมีจำนวนคลังสมองต่ำกว่า 100 แห่งทั้งสิ้น 

 
ประเทศยากจนที่สามารถพัฒนาตัวเองจนเป็นประเทศรายได้สูงในโลกนี้มีอยู่หลายประเทศ เกาหลีใต้เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความน่าสนใจและถือว่าเป็นบทเรียนที่ดีให้กับประเทศไทย
 
เกาหลีใต้ต้องเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่ย่ำแย่ภายหลังสงครามเกาหลีในช่วงปี ค.ศ.1950-1953 ดังนั้น นอกจากการรอรับการช่วยเหลือจากต่างประเทศรัฐบาลเกาหลีจึงมีความพยายามที่จะลดปัญหาความยากไร้ภายในประเทศผ่านการสนับสนุนให้ประชาชนทำอาชีพเกษตรกรรมและผลักดันให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนผลิตสินค้าภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งนี้การที่เกาหลีใต้ได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจลดลงภายหลังจากที่สภาพเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มเติบโตที่มากยิ่งขึ้นประกอบกับการลงทุนในภาคเกษตรกรรมไม่เหมาะสมแก่บริบทการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอีกต่อไปการวางแผนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจครั้งสำคัญของเกาหลีใต้ในทศวรรษที่ 1960 จึงเกิดขึ้นและส่งผลทำให้ประเทศเกาหลีใต้สามารถเปลี่ยนผ่านเป็นประเทศที่มีรายได้สูงในเวลาต่อมาในปี 1995 (รายได้เฉลี่ยต่อหัวคือ 12,403 ดอลลาร์สหรัฐ)