'นำได้' ดีกว่า 'ได้นำ'
...อย่าก้าวสู่ตำแหน่ง ?ผู้นำ? เพียงเพราะทำงานมานาน
ดร.วินซ์ โมรินาโร (Vince Molinaro) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภาวะผู้นำ กล่าวถึงผู้นำที่เลวร้าย 10แบบที่ลูกน้องอยากจะร้องตะโกนออกมา ได้แก่
1. ผู้นำไร้ความสามารถ (Incompetent leaders) ผู้นำที่ดึงดันจะนำ คิดว่าตัวเอง ?ยิ่งใหญ่? เก่งกล้าเหนือกว่าใคร ด้วยการตัดสินใจที่โง่เขลา และจบลงด้วยการทิ้งร่องรอยความหายนะไว้ให้กับองค์กร
2. ผู้นำอ่อนแอ (Wimpy leaders) ผู้นำที่ไร้ซึ่งความกล้าหาญในการเล่นบทบาทผู้นำ มักเลือกวิธีหรือทำอะไรที่ง่ายที่สุด หลีกเลี่ยงงานยาก มักโลเล ไม่กล้าตัดสินใจ ไร้จุดยืนหรือหลักการในการนำ
3. ผู้นำเกียจคร้าน (Lazy leaders) ผู้นำที่คิดว่างานของตนคือ การใช้คนอื่นให้ทำทุกอย่าง ไม่ต้องทำงานหนักด้วยตนเอง ผู้นำประเภทนี้จะมีสองมาตรฐาน ในการตัดสินตัวเองกับคนอื่น ๆ ดังคำกล่าวที่ว่า ?ทำในสิ่งที่ฉันพูด แต่อย่าทำในสิ่งที่ฉันทำ (?don?t do as I do, do as I say?.)
4. ผู้นำหน่อมแน้ม (Infantile leaders) ผู้นำที่ทำตัวเหมือนเด็ก ๆ ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ เมื่อไม่ได้อะไรดั่งใจก็ร้องเอะอะโวยวาย ระเบิดอารมณ์ออกมาเหมือนเด็กเล็ก ๆ
5. ผู้นำเห็นแก่ตัว (Selfish leaders) ผู้นำที่นำเพื่อตนเองเป็นหลัก คำนึงแต่สิทธิและผลประโยชน์ของตนเอง ไม่สนใจองค์กร ลูกค้า หรือพนักงานที่ตนกำลังนำ คิดแต่เพียง?ฉัน ฉัน และฉัน? เท่านั้น:
6. ผู้นำหวั่นไหว (Insecure leaders) ผู้นำที่ขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ ไม่มั่นใจว่าตนเองอยู่ในสถานะเช่นไร ทำอะไรได้บ้าง รวมทั้งไม่กล้าไว้วางใจคนอื่นด้วย มักจะจ้างคนที่ด้อยกว่า เพื่อให้ตนควบคุมได้
7. ผู้นำอีโก้จัด (egomaniac leaders) เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ ผู้นำประเภทนี้คิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ทุกอย่างหมุนอยู่รอบ ๆ ตนเอง ทำตัวอยู่เหนือผู้อื่น ทุกคนต้องฟังและรับใช้ตน
8. ผู้นำโหดร้าย (Abusive leaders) ผู้นำที่ชอบใช้อำนาจบาตรใหญ่ หยาบคาย ก้าวร้าว ไม่เคารพให้เกียรติ ดูถูกดูแคลนคนอื่น ไม่ยอมรับความผิด ใช้อารมณ์รุนแรงหรือถึงขั้นลงไม้ลงมือเมื่อเวลาโกรธ
9. ผู้นำฟังแต่ข่าวดี (Good news leaders) ผู้นำประเภทนี้ชอบที่จะฟังแต่เรื่องดี ๆ หลงไปกับภาพมายา แทนที่จะเผชิญหน้ากับความจริง ใครที่มาพูดเรื่องไม่ดี มาแจ้งข่าวร้าย จะถูกตำหนิติเตียน ไม่ชอบหน้า ดังนั้น เพื่อเอาตัวรอด ทุกคนจึงมักพูดในสิ่งที่ผู้นำต้องการได้ยิน มากกว่าพูดความจริงที่เลวร้าย
10. ผู้นำกลัวคนชัง (Please like me leaders) ผู้นำประเภทนี้ทำทุกอย่างเพื่อให้คนอื่นชื่นชอบยอมรับตน ไม่ว่าจะเป็นการพยายามทำตัวเป็นเพื่อนที่ดี เห็นด้วยกับทุกคน ในทุกเรื่อง หลีกเลี่ยงความขัดแย้งและการเผชิญหน้าทุกรูปแบบ
ผู้นำที่กล่าวมาข้างต้น เป็นลักษณะของผู้นำที่ไม่ดีในสายตาของคนภายใต้ และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมลดลง
ปัญหาคือ ผู้นำแบบนี้มีอยู่ทั่วไปแทบทุกองค์กร ....สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง อยู่ที่การคัดเลือกคนที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน หรือตำแหน่งบังคับบัญชา ซึ่งมักพิจารณาที่ประสบการณ์ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในการทำงานนั้น มากกว่าที่จะคัดเลือกที่ ?ภาวะผู้นำ? เป็นเหตุให้คนที่ไม่เหมาะสม เมื่อมีอำนาจมากขึ้น แทนที่จะใช้เพื่ออย่างสร้างสรรค์ กลับใช้สร้างปัญหา
คำแนะนำสำคัญสำหรับคนทำงานทุกคน คือ เราจำเป็นต้องพัฒนา ?ภาวะผู้นำ? (leadership) หรือ สภาพของความเป็นผู้นำในตัวเรา ตั้งแต่ยังไม่ได้อยู่ในตำแหน่งหรือบทบาทที่ต้องนำอย่างเป็นทางการ
ต้องมีครบ 3 องค์ประกอบ ?ดี เก่ง กล้า? ในหนังสือข้อคิดเพื่อผู้นำ ผมได้ให้ข้อคิดไว้ว่า ?ผู้นำไม่ได้เป็นบุคคลที่ตั้งขึ้นมาเพื่อคอยออกคำสั่งหรือชี้นิ้วเพียงอย่างเดียว แต่ถูกตั้งมาเพื่อนำทิศทาง คอยแนะนำฝึกคนให้เป็นคนที่มีคุณภาพ? ลักษณะผู้นำที่ดี จึงต้องมีทั้งความดี ความเก่ง ความกล้า เป็นพลังในการขับเคลื่อนการนำสู่เป้าหมายที่วางไว้ร่วมกัน
ความดี - มีคุณลักษณะผู้นำที่เหมาะสม เช่น มีความซื่อตรงเที่ยงธรรม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมก่อนส่วนตัว นำอย่างมีอุดมการณ์ วิสัยทัศน์ ยึดมั่นในหลักการ จรรยาวิชาชีพ มีเหตุมีผล ไม่ยึดอีโก้ของตัวเองเป็นใหญ่ ไม่ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง ไม่มัวเมาในอำนาจ
ความเก่ง - มีความเป็นมืออาชีพ ทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อส่วนรวมเสมอ มีความสามารถในการแก้ปัญหา ความคิดริเริ่ม มีทักษะในการนำทีม สร้างทีม และขับเคลื่อนทีมให้บรรลุเป้าหมาย
ความกล้า ? มีความมุ่งมั่นสู่เป้าหมาย กล้าตัดสินใจ ไม่หวั่นไหว หวั่นเกรงต่อปัญหาที่เกิดขึ้น มีสายตาจับต้องไปสู่เป้าหมาย สามารถนำได้ทั้งในภาวะปกติ ในภาวะวิกฤต และในภาวะแห่งการเปลี่ยนแปลง
ชีวิตการทำงานของคนส่วนใหญ่ เหมือนการเดินขึ้นบันได จากขั้นแรกสู่ขั้นต่อ ๆ ไปที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จากพนักงานธรรมดา เป็นพนักงานระดับอาวุโส และก้าวขึ้นเป็นหัวหน้างาน ผู้บริหาร ตามประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ และโอกาสของแต่ละคน
เราทุกคนสมควรได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำในตัวเขา ตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถก้าวขึ้นเป็น ?ผู้นำ? ได้อย่างประสบความสำเร็จ เมื่อวันนั้นมาถึง..
ปีที่ 17 ฉบับที่ 729 วันที่ 17-24 มีนาคม 2558
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com
แหล่งที่มาของภาพ : http://www.stepbystep.com/wp-content/uploads/2013/05/Difference-Between-Transactional-and-Transformational-Leadership2.jpg
Tags:
Post date:
Monday, 16 March, 2015 - 13:43
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ค่าแรงขั้นต่ำ: ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการบริหารจัดการ
Total views: อ่าน 102 ครั้ง
การหมิ่นประมาท คือ ฆาตกรรมชื่อเสียง
Total views: อ่าน 69 ครั้ง
Passive Outcome
Total views: อ่าน 195 ครั้ง
เกียรติระบบ : Honour System สังคมให้เกียรติ หลู่เกียรติ ทอนเกียรติ ตู่เกียรติ
Total views: อ่าน 164 ครั้ง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร (ซ้ำ)
Total views: อ่าน 138 ครั้ง