การจัดสรรผลประโยชน์

บทความตอนนี้ ผมจึงขอนำเสนอ ?ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อผลลัพธ์ที่เลอค่า (Outdo Management Strategy)? หรือที่ผมเรียกว่าการบริหารอย่างมี ?ประสิทธิสาร (Esthetic-Worthiness)?

ผมสร้างคำว่า ?ประสิทธิสาร? ขึ้นมาจาก 2 คำ คือ ประสิทธิ+สาระ โดยคำว่า ?สาระ? มาจากคำว่า ?ผลสาร? อันหมายถึง แก่นสาระของผลที่เกิดขึ้น หรือสิ่งที่เป็นแก่นสาร เป็นประโยชน์ และเมื่อรวมกับคำว่า ?ประสิทธิ? แล้ว จึงหมายความว่า การทำให้สิ่งที่เป็นแก่นสาระหรือมีประโยชน์สำเร็จ ทั้งนี้สิ่งที่เป็นแก่นสาร จะต้องมีคุณค่าสูงสุดท่ามกลางสิ่งที่มีคุณค่าทั้งหลาย ซึ่งผมเรียกสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดนี้ว่า ?เลอค่า?

ปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายในสังคมไทยในปัจจุบัน ผมเห็นว่ามีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกิดจากกระบวนการบริหารที่ยังไม่ครบถ้วนทุกมิติ ผมได้ทบทวนเรื่องกรอบความคิดในการบริหารและพัฒนาไปสู่การสร้างโมเดลใหม่ "ยุทธศาสตร์การบริหาร 8E โมเดล" เมื่อหลายปีที่แล้ว

ในบทความนี้ ผมจะกล่าวถึง E ตัวที่ 4 ซึ่งผมขอสร้างคำเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "Esteemed Valuableness" และสร้างคำเป็นภาษาไทยว่า "ประสิทธิคุณ"

แนวโน้มโลกในอนาคตจะเกิดเศรษฐกิจหลายขั้วอำนาจมากขึ้น เพราะขั้วมหาอำนาจเดิมกำลังถดถอย ขณะที่เศรษฐกิจเกิดใหม่ ที่มีขนาดใหญ่มีศักยภาพในการขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหม่ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น

ประเทศเล็กๆ ต่างพยายามสร้างความยึดโยงกับมหาอำนาจต่างๆ เพื่อความมั่นคงและอยู่รอดของตนเอง เช่น อินโดนีเซียผลักดันตนเองหวังเป็นสมาชิกของ BRICS เมียนมาร์และกัมพูชา เปิดโอกาสให้มหาอำนาจทั้งหลายเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศ โดยแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ (เช่น แหล่งน้ำมันในทะเล)

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 ผมได้แถลงสรุปผลดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย (Thailand Effectiveness Index - TE Index) ประจำไตรมาสที่ 1 ณ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเปรียบเทียบดัชนีประสิทธิผลภาครัฐ (Public Sector Effectiveness Index: PBE Index) ดัชนีประสิทธิผลภาคเอกชน (Private Sector Effectiveness Index: PVE Index) และดัชนีประสิทธิผลภาคประชาชน (People Sector Effectiveness Index: PPE Index)

     ...ผมได้เรียนรู้แล้วว่า การทำในสิ่งที่ตัวเองเชื่อมั่น โดยไม่ได้ใช้เวลามากพอเพื่อครุ่นคิดให้รอบคอบ ได้ก่อให้เกิดผลพวงแห่งหายนะได้ ..Silk Road เป็นบทเรียนราคาแพงจากความไร้เดียงสาที่ผมเสียใจอย่างสุดซึ้ง Silk Road มันควรจะเป็นเรื่องของการให้ "อิสรภาพ" แก่ผู้คน ที่สามารถตัดสินใจตามแต่ความสุขของแต่ละคนอย่างไร้พรมแดน ... แต่มันกลับกลายเป็นที่เพิ่มความสะดวกสบายขึ้นให้กับคนติดยา

     เราทำงานแบบ "มืออาชีพ" หรือทำเพียงเป็น "อาชีพ"?
     เราสร้างผลงาน "ดีเลิศ" จนเป็นที่ยอมรับ หรือ ทำพอผ่าน ๆ ตามค่าตอบแทนที่ได้รับ..
     เรารับผิดชอบงานอย่างดี แม้ไม่มีใครคุม หรือ ถ้าหัวหน้าไม่คุม ก็ไม่กระตือรือร้นที่จะทำ..
     เรายินดีทุ่มเททำงานให้สำเร็จ เพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หรือ ถ้าส่วนตัวไม่ได้ประโยชน์ ก็ไม่ค่อยอยากทำ..

"จากนิทานเรื่องเต่ากับกระต่าย" เมื่อเต่ากับกระต่ายต้องมาวิ่งแข่งกัน หากมองด้วยสายตาธรรมชาติแล้ว กระต่ายย่อมชนะอย่างแน่นอน  แต่เพราะเต่าทำอย่างเต็มที่หรือทำอย่างดีที่สุด  จึงทำให้ในที่สุดเต่าเข้าเส้นชัยได้ก่อน  ในเหตุการณ์นี้ ถ้ามีใครไปสัมภาษณ์กระต่ายก่อนการแข่งขัน กระต่ายคงไม่รู้ว่าตัวเองจะแพ้  หรือถ้าได้ถามเต่าก่อนการแข่งขัน เต่าก็คงไม่รู้อีกเช่นกันว่าตัวเองจะชนะ


แหล่งที่มาของภาพ : http://www.gelder-gingras.ca/wp-content/uploads/2015/01/shutterstock_152986346.jpg 
 
ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 จัดโดย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 -ผมได้เสนอแบบตัวแบบใหม่สำหรับการบริหารองค์กรหรือประเทศ เรียกว่า ยุทธศาสตร์การบริหาร 8E (Dr. Dan Can Do 8E Model of Management Strategies) ซึ่งเป็นแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ทางการบริหารที่ครบวงจร ในบทความตอนนี้และบทความต่อ ๆ ไป แต่ละหลักคิดมาอธิบายขยายความให้กระจ่าง และยกตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เห็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนมากขึ้น 

         ถ้าให้เลือกร่วมงานกับคน 2 คน เราจะเลือกทำงานกับใคร?
         คนแรก หัวหน้างานรับประกันให้ว่า ?คน ๆ นี้ พูดคำไหนคำนั้น ....รับปากแล้ว เขาจะต้องทำจนสำเร็จให้ได้?
         คนที่สอง เพื่อนร่วมงานกล่าวว่า ?คน ๆ นี้ ต่อหน้าหัวหน้าทำเป็นขยันขันแข็ง แต่พอลับหลังแอบเอางานส่วนตัวมาทำเป็นประจำ?

ผมได้รับเชิญไปบรรยายในการประชุมพลังงาน ทรัพยากร และการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจัดโดย BOAO Forum for Asia และ Asian Strategy and Leadership Institute ที่ประเทศมาเลเซีย หัวข้อหลักของการประชุมในปีนี้ คือ "One Belt and One Road & Asian Energy/Resources Cooperation"
 
"One Belt and One Road" (OBOR) เป็นความริเริ่มของรัฐบาลจีน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมในอดีต ซึ่งเชื่อมโยงทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเส้นทางสายไหมประกอบด้วย 2 เส้นทาง คือ เส้นทางทะเล (the Maritime silk road) และเส้นทางบก (the Silk Road Economic Belt)