การเมือง

คอร์รัปชันเป็นตัวชี้วัดด้านหนึ่งของการขาดคุณธรรมในสังคมไทย จากการสำรวจสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย โดยศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ?นิด้าโพล? ซึ่งได้ถามถึงปัญหาวิกฤตทางคุณธรรมที่มีความรุนแรงในสังคมไทย ผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า ประเด็นที่วิกฤตมากที่สุด คือ ปัญหาความไม่ซื่อสัตย์สุจริต การทุจริตคอร์รัปชั่น รองลงมา คือ ปัญหาขาดความสามัคคีและความขัดแย้งในสังคม และอันดับสาม คือ ปัญหาขาดจิตสำนึกสาธารณะ ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม
ในการตอบคำถามนี้ ผมคิดว่าเราควรทำเข้าใจเสียก่อนว่า หากปราศจากนามธรรมและรูปธรรม(ว่าจะเป็นมหานครอะไร?) การพัฒนาจะไร้ทิศทาง เพราะนามธรรมที่ไม่มีรูปธรรม จะขาดความกระจ่างแจ้ง ไม่สามารถปฏิบัติให้เห็นได้ แต่รูปธรรมที่ไม่มีนามธรรม จะทำให้การปฏิบัติไม่ตอบโจทย์ที่แท้จริง ขาดความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ หรืออาจมีการปฏิบัติมีความขัดแย้งกันเอง

     ตลอดปี 2559 มีเหตุการณ์ความรุนแรงและการก่อการร้ายที่สร้างความเสียหายรุนแรงเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ ล่าสุดคือ การก่อการร้ายในบริเวณใกล้เคียงกับสนามกีฬาเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2559 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 29 ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บ 166 คน ซึ่งผมขอแสดงความเสียใจมา ณ ที่นี้

จากการสำรวจ "ดัชนีประสิทธิผลภาคประชาชน" (People Sector Effectiveness Index ?
เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทย (Corruption Situation Index : CSI) เดือน ธ.ค. 2557 หากการสำรวจทำได้ดีและเป็นจริงก็แสดงว่า สิ่งที่พบนำกำลังใจแก่เราได้บ้าง เพราะโพลพบว่า สถานการณ์ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นปรับตัวดีขึ้นดีที่สุดในรอบ 5 ปี เอกชนจ่ายเงินเพิ่มให้ข้าราชการเพื่อรับงานจากภาครัฐมีจริงแต่ลดลงบ้าง
นี่เป็นครั้งแรกที่ประชาชนและภาคธุรกิจเห็นว่าสถานการณ์มีโอกาสน่าจะคลี่คลายและปรับตัวดีขึ้นได้ในอนาคต
 
การสำรวจครั้งนี้แม้ว่าจะเป็นสัญญาณที่ดี แต่หากจะคาดหวังอนาคตการทุจริตคอร์รัปชั่นจะดีขึ้น...ต้องดูหลังเลือกตั้งด้วย เมื่อรัฐบาลชุดนี้คืนอำนาจให้ประชาชนแล้ว...หลังจากนั้นจะเป็นภาพความจริงว่าจะลดลงจริงหรือไม่ หรือจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม!!
 
คอร์รัปชั่นจะลดลงอย่างต่อเนื่องแท้จริง หากนักการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศ ไม่หวังเข้ามาโกงกินเหมือนที่ผ่านๆ มา!!
ไม่มียุคใดที่คนในสังคมไทยทุกภาคส่วนจะตื่นตัว แสดงความรู้สึกไม่พอใจ และลุกขึ้นมาต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังมากเท่ายุคนี้  จนกล่าวกันว่านี่เป็นสัญญาณที่ดี หากช่วยกันจริงเรามีความหวังว่า ประเทศไทยจะโปร่งใส ไร้การทุจริตคอร์รัปชั่นในแวดวงต่าง ๆ ได้ในอนาคตอันใกล้นี้

จากบทความก่อนหน้านี้ ผมได้พิจารณาแนวคิดสำหรับปฏิรูปประเทศไทยจากนักวิชาการไทยในอเมริกา 1 ใน 15 ด้าน คือ การตั้งเพดานหนี้ที่แน่นอนเพื่อใช้ในการรักษาวินัยทางการคลัง ส่วนในบทความนี้ ผมจะพิจารณาอีกแนวคิดหนึ่ง คือ ?การออกกฎหมายให้รัฐบาลจัดทำงบประมาณสมดุลเท่านั้น?

การจัดทำงบประมาณสมดุลในทางเศรษฐศาสตร์นั้นสอดคล้องตามแนวคิดของเศรษฐศาสตร์ที่เน้นการจัดการด้านอุปทาน (Supply-side economics) และสำนักคลาสสิก (Classical economics) ที่เน้นเรื่องกลไลตลาด โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายการคลังแบบสมดุลและรัฐบาลไม่ควรไปเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาด

นักเศรษฐศาสตร์ที่เน้นการจัดการด้านอุปทาน มองว่าการแทรกแซงของรัฐนั้นทำให้ตลาดล้มเหลว (Market failure) มากขึ้น หรือจากที่ไม่มีปัญหา กลับจะทำให้เกิดปัญหาขึ้น เนื่องจากกลไกภาครัฐนั้นล้มเหลว (Government failure) ซึ่งเป็นผลจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น การสนับสนุนบางอุตสาหกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือการทำเพื่อหวังคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง หรือมุ่งเน้นนโยบายระยะสั้นเป็นสำคัญ เป็นต้น

    วิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองและทางความคิดในตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของไทยแล้ว เป็นที่น่าตกใจว่ายังได้ส่งผลกระทบลุกลามไปถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนไทยด้วย ซึ่งจากผลการสำรวจความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนไทย อายุระหว่าง 15-25 ปี ในเขตกรุงเทพฯ ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เรื่อง ?มองการเมืองไทยผ่านสายตาเยาวชน? เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2553 พบว่า เยาวชนไทยให้ความสนใจต่อเหตุการณ์ทางการเมืองค่อนข้างน้อยถึงไม่สนใจเลยถึงร้อยละ 62.1แม้ว่าในที่นี้ส่วนใหญ่จะยังเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของทุกคนในสังคมก็ตาม ขณะที่มีเด็กและเยาวชนไทยถึงร้อยละ 90.6 ระบุว่าในอนาคตไม่อยากเป็นนักการเมือง เนื่องด้วยนักการเมืองมีชื่อเสียงไม่ดี ไม่โปร่งใส ไม่ปลอดภัย และต้องรับผิดชอบคนหมู่มาก สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ หากไม่ได้รับการแก้ไขคาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเมืองไทยในอนาคต

หากเปรียบสังคมไทยเป็นเช่นเดียวกับบ้านหลังใหญ่ ปัจจุบันก็คงเป็นบ้านที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากต้องเผชิญกับมรสุมรอบด้านจากภายนอกบ้าน และยังต้องประสบกับปัญหาคนในบ้านทะเลาะกัน เกิดความแตกแยกทางสังคมและการแบ่งขั้วทางการเมืองที่ชัดเจนระหว่างขั้วอำนาจต่าง ๆ ท่ามกลางวิกฤตปัญหานานัปการนี้ จะมีทางใดเป็นทางออกของปัญหาที่มีอยู่ในขณะนี้

สิงคโปร์นับเป็นตัวอย่างหนึ่งในไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่อาจนับได้ว่า มีนักการเมืองส่วนใหญ่มีคุณภาพ โดยเฉพาะนักการเมืองที่มีตำแหน่งบริหารในกระทรวงต่าง ๆ รัฐบาลสิงคโปร์ได้คนที่มีความรู้ มีความสามารถทางการบริหาร มีความซื่อสัตย์ มีจริยธรรมในการทำงานสูง สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มาโดยบังเอิญ แต่มีกระบวนการในการคัดเลือกและพัฒนาผู้นำทางการเมืองรุ่นใหม่ ๆ อย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความสามารถ ไม่ใช่ว่ามีเงินแล้วจะไปซื้อตำแหน่งได้เหมือนเช่นในหลายประเทศ กระบวนการพัฒนานักการเมืองของสิงคโปร์นี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาอย่างยิ่ง อยากขอเล่าให้ฟังคร่าว ๆ