SOUTHERN SEABOARD: ภูมิภาคนำ หรือ โครงสร้างพื้นฐานนำการพัฒนา
โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern seaboard) ถูกนำกลับมาปัดฝุ่นอีกครั้งในรัฐบาลปัจจุบัน เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทดแทนพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก รัฐบาลมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) จัดหาพื้นที่พิเศษครอบคลุม 5 จังหวัด ประกอบด้วย สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ และนครศรีธรรมราช
ประการที่สอง โครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยสำคัญในการรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและบริการในพื้นที่ หากไม่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง การพลังงาน และนิคมอุตสาหกรรม จะเป็นการยากที่จะจูงใจให้ภาคเอกชนและนักลงทุนเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับโครงสร้างการผลิตในพื้นที่นี้หรือไม่ก็ตาม เพราะจะทำให้ผู้ลงทุนมีต้นทุนสูงในการขนส่งและการจัดหาแหล่งพลังงาน รวมทั้งยังขาดการสนับสนุนจากสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
ประการที่สาม ปัญหาสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ในอดีตไม่ได้เกิดจากความไม่พร้อมของพื้นที่ ทั้งนี้ผลกระทบส่วนหนึ่งที่เกิดจากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เช่น ปัญหามลภาวะ การขาดแคลนน้ำ เป็นต้น ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากความไม่พร้อมของพื้นที่ แต่เกิดจากความไม่เพียงพอและไม่ครบถ้วนของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและกฎระเบียบต่าง ๆ เช่น การสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานในการกำจัดมลภาวะ และขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันมลภาวะ เป็นต้น
สาระสำคัญของแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ คือ การสร้าง ldquo;สะพานเศรษฐกิจrdquo; เชื่อมฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ประกอบด้วย ระบบขนส่งแบบผสมผสาน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน (oil-based industry) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับก๊าซ (gas-based industry) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางทะเล (shipping-based activities) อุตสาหกรรมแปรรูป และการพัฒนาเมืองเพื่อเพิ่มความได้เปรียบของพื้นที่
ผลการศึกษาในอดีตของสภาพัฒน์ เสนอแนะให้ปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ จากการใช้โครงสร้างพื้นฐานเป็นตัวนำการพัฒนา มาเป็นการใช้ภูมิภาคเป็นตัวนำการพัฒนา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาภูมิภาคในพื้นที่เป้าหมายก่อน เพื่อให้ท้องถิ่นมีความพร้อมรองรับการลงทุนขนาดใหญ่
คำถามสำคัญจึงอยู่ที่ว่า แนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ควรใช้อะไรเป็นตัวนำ ระหว่างโครงสร้างพื้นฐานหรือภูมิภาค?
ข้อดีของการใช้โครงสร้างพื้นฐานเป็นตัวนำ คือ ความชัดเจนของนโยบายและการสนับสนุนจากภาครัฐ และความรวดเร็วของการพัฒนา เพราะโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นตัวดึงดูดการลงทุน แต่ข้อเสียคือความเสี่ยงในการลงทุนที่อาจเกินความจำเป็น หรือความเสี่ยงจากการไม่ได้ผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ไว้
ส่วนการใช้ภูมิภาคเป็นตัวนำมีข้อเสีย คือ ความล่าช้าของการพัฒนา แต่เชื่อว่ามีข้อดีคือจะช่วยเตรียมความพร้อมของภูมิภาคเพื่อรองรับการลงทุนขนาดใหญ่ ลดความเสี่ยงของการลงทุนภาครัฐ และสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาค รวมทั้งป้องกันผลกระทบจากการลงทุนที่มีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
แม้ว่าการใช้ภูมิภาคเป็นตัวนำมีหลักการที่ดี แต่การใช้โครงสร้างพื้นฐานนำการพัฒนา น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมกับโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ประการแรก ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของพื้นที่ภาคใต้คือตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย รูปแบบของโครงการจึงเป็นการสร้างสร้างท่าเรือและระบบขนส่งระหว่างชายฝั่งทะเลภาคใต้ทั้งสองด้าน รวมทั้งสร้างนิคมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียม เพราะโครงการนี้จะกลายเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันที่สำคัญของภูมิภาคในอนาคต ดังนั้นการพัฒนาเมืองเพื่อเพิ่มความได้เปรียบของพื้นที่จึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ เพราะความได้เปรียบของพื้นที่นี้อยู่ที่ตำแหน่งที่ตั้ง ไม่ใช่ความเป็นเมือง ขณะที่การพัฒนาเมืองจะเกิดตามมาเมื่อมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแล้ว แต่หากพัฒนาเมืองขึ้นก่อน อาจเกิดการพัฒนาที่ไร้ระเบียบ ดังที่เกิดขึ้นในเมืองต่าง ๆ ของประเทศ
ประการที่สอง โครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยสำคัญในการรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและบริการในพื้นที่ หากไม่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง การพลังงาน และนิคมอุตสาหกรรม จะเป็นการยากที่จะจูงใจให้ภาคเอกชนและนักลงทุนเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับโครงสร้างการผลิตในพื้นที่นี้หรือไม่ก็ตาม เพราะจะทำให้ผู้ลงทุนมีต้นทุนสูงในการขนส่งและการจัดหาแหล่งพลังงาน รวมทั้งยังขาดการสนับสนุนจากสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
ประการที่สาม ปัญหาสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ในอดีตไม่ได้เกิดจากความไม่พร้อมของพื้นที่ ทั้งนี้ผลกระทบส่วนหนึ่งที่เกิดจากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เช่น ปัญหามลภาวะ การขาดแคลนน้ำ เป็นต้น ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากความไม่พร้อมของพื้นที่ แต่เกิดจากความไม่เพียงพอและไม่ครบถ้วนของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและกฎระเบียบต่าง ๆ เช่น การสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานในการกำจัดมลภาวะ และขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันมลภาวะ เป็นต้น
การที่รัฐบาลนำโครงการดังกล่าวกลับมาดำเนินการอีกครั้ง ผมยังมีความกังวลว่ารัฐบาลกำลังดำเนินการภายใต้เงื่อนไขที่มีความเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากโครงการนี้เคยมีการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทเอาไว้แล้วในสมัยรัฐบาลชวน 1 และได้อนุมัติการก่อสร้างถนนสายกระบี่-ขนอม และเตรียมการจัดหาที่ดินตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ซึ่งผมเห็นว่าบริบทและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว
ภาครัฐจึงควรมีการทบทวนแผนแม่บทโครงการและผลการศึกษาในอดีตใหม่อีกครั้ง เพื่อกำหนดรูปแบบและที่ตั้งโครงการที่มีความเหมาะสมที่สุด โดยเฉพาะการศึกษาเป็นไปได้และความคุ้มค่าของการลงทุนอย่างรอบคอบอีกครั้ง เพื่อมิให้เกิดการลงทุนที่เกินความจำเป็น ขณะที่การกำหนดรายละเอียดของโครงสร้างพื้นฐานควรคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับโครงสร้างการผลิตและแหล่งทรัพยากรในภูมิภาค ตลอดจนประสานกับยุทธศาสตร์พัฒนาระหว่างประเทศด้วย
การพัฒนาโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานเป็นตัวนำ จำเป็นจะต้องมีแผนการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ครบถ้วนทุกด้าน ทั้งการขนส่ง การสนับสนุนการลงทุน ระบบสาธารณูปโภค การรองรับการขยายตัวของเมือง และการป้องกันผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีแผนการลงทุนระยะยาวเพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานสามารถรองรับการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อมิให้เป็นเหมือนสนามบินสุวรรณภูมิที่มีปัญหามากมาย และกำลังจะไม่เพียงพอในการรองรับผู้โดยสาร ทั้ง ๆ ที่เปิดใช้เพียงปีแรก
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2007-02-25