โครงการเช่ารถเมล์ NGV นัยซ่อนเร้นที่ควรติดตาม

 
ที่มา http://img167.imageshack.us/img167/7811/dscf2609jl1.jpg
 
 
โครงการเช่ารถเมล์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เป็นโครงการที่ถูกนำเข้าและถอนออกจากคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ไปพิจารณาศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมหลายครั้ง เนื่องจากโครงการดังกล่าวใช้งบประมาณหลายแสนล้านบาท เป็นโครงการที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก รวมถึงกระแสข่าวเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น

ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม 1 เดือน เพื่อสรุปเรื่องและนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม. อีกครั้ง ผมจึงเฝ้าติดตามและคาดหวังว่าการศึกษาของคณะกรรมการฯ จะทำให้โครงการเช่ารถเมล์
NGV มีความชัดเจน โปร่งใส และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากพิจารณาดูเนื้อหาโครงการเดิมที่ทางกระทรวงคมนาคมเสนอแผนการปรับโครงสร้าง ขสมก. เข้าในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี คือ การนำรถเมล์เก่า 3,
535 คัน ไปขายให้กับหน่วยงานต่าง ๆ แล้วแทนที่ด้วยการเช่ารถเมล์ติดเครื่องปรับอากาศที่ใช้ NGV จำนวน 6,000 คัน พร้อมทั้งเปลี่ยนระบบชำระค่าโดยสารเป็นแบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-ticket โดยเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย

เหตุผลที่ ขสมก.และกระทรวงคมนาคมพยายามเปลี่ยนมาใช้รถเมล์
NGV คือ ราคา NGV ถูกกว่าน้ำมันดีเซลมาก โดยรถเมล์ NGV มีต้นทุนการเดินรถต่อระยะทาง ต่ำกว่ารถเมล์รถร้อนและรถเมล์ปรับอากาศประมาณร้อยละ 30

หากวิเคราะห์ตัวเลขงบกำไรขาดทุนของ ขสมก.ในปีงบประมาณ 2550 เราจะพบว่า การลดต้นทุนจากค่าเชื้อเพลิงในอัตราเพียงร้อยละ 30 จะทำให้การขาดทุนลดลงได้สูงสุด 2,268 ล้านบาท จากเดิมที่ขาดทุนสุทธิ 5,882 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2550 และหากหักค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง (เนื่องจากเป็นรถเช่าจึงไม่ต้องซ่อมบำรุงเอง) อีก 1,915 ล้านบาท ยังไม่เพียงพอที่จะพลิกผลประกอบการจากแนวโน้มเดิมที่จะการขาดทุนสะสมเพิ่ม 2 เท่า ในอีก 10 ปี มาเป็นการลดการขาดทุนสะสมครึ่งหนึ่ง ในอีก 10 ปี ซึ่งหมายความว่า ขสมก. จะต้องมีกำไรประมาณ 3,500 ล้านบาทต่อปีหลังการปรับโครงสร้างแล้ว

นั่นเป็นนัยว่าต้องมี
ldquo;แหล่งที่มาของเงินrdquo; อื่นอีกประมาณ 5.2 พันล้านบาทต่อปี ที่จะทำให้ ขสมก. มีสภาพการเงินดีขึ้น หากจะพูดให้ชัดเจนก็คือ ขสมก.บังคับให้คนบางกลุ่มจ่ายหนี้แทน ขสมก.นั่นเอง

ผู้เสียหายจากโครงการนี้คือ กลุ่มผู้โดยสารซึ่งเป็นคนที่มีรายได้น้อย ซึ่งแต่เดิมสามารถนั่งรถเมล์ร้อนได้ โดยจ่ายค่าโดยสาร 7 บาท แต่ถ้า ครม. อนุมัติให้รถเมล์ร้อนทั้งหมดถูกแทนที่ด้วยรถแอร์
NGV ผู้โดยสารจะต้องจ่ายค่าโดยสาร 15 บาท นั่นหมายความว่า คนยากจนที่เคยนั่งรถเมล์ร้อนต้องจ่ายค่าโดยสาร เพิ่มขึ้น 2 เท่า ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้ว ต้นทุนการเดินรถลดลงอย่างน้อยร้อยละ 30

ขสมก. อาจอ้างว่า ค่าโดยสารถูกลงด้วยซ้ำ หากพิจารณาโดยการเปรียบเทียบค่าโดยสาร 15 บาทกับ 22 บาท ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในขณะนี้ แต่ความจริงแล้ว พฤติกรรมของผู้โดยสารที่มีรายได้น้อยมักจะนั่งรถเมล์ร้อนและนั่งในระยะทางใกล้ ๆ เนื่องจากรูปแบบชีวิตของคนจนมักอาศัยอยู่ใกล้ที่ทำงาน ในขณะที่คนที่มีรายได้สูงขึ้นนั้นมักรถนั่งโดยสารปรับอากาศและนั่งระยะทางค่อนข้างไกล ดังนั้นการเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย นอกจากจะเป็นการยัดเยียดให้คนจนจ่ายหนี้แทน ขสมก. แล้ว ยังถือว่าเอาเงินคนจนที่อยู่บ้านใกล้ ไปช่วยค่าโดยสารคนรวยกว่าที่อยู่บ้านไกลอีกด้วย

ฉะนั้น ประชาชนจึงต้องติดตามโครงการนี้อย่างใกล้ชิด ว่าผลการศึกษาของคณะกรรมการพิเศษที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายจะออกมาเป็นอย่างไร จะมีความชัดเจน โปร่งใส และมีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่
 
นำมาจากหนังสือพิมพ์โลกวันนี้ ฉบับวันอังคารที่5 สิงหาคม 2551

แสดงความคิดเห็น
admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2008-08-06