กทม. ต้นแบบ ?เมืองรักการอ่าน?
ที่ผ่านมา รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจต่อปัญหาการอ่านหนังสือน้อยของคนไทย แต่ได้มีการสนับสนุนให้เกิดโครงการกระตุ้นการอ่านมากมาย เช่น การสร้างอุทยานแห่งการเรียนรู้ โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งห้องสมุดโครงการวางทุกงาน อ่านทุกคน โครงการสัปดาห์หนังสือแห่งชาติปีละ 2 ครั้ง ฯลฯ และในส่วนของกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมาได้มีแผนงานและโครงการที่สอดคล้องกันไม่ว่าจะเป็น โครงการจัดสร้างห้องสมุดให้เกิดขึ้นทุกเขต บ้านหนังสือ และการจัดโครงการโรงเรียนรักการอ่าน จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม.มีทักษะการอ่านทีดีขึ้น
โครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่ดี แต่ยังไม่เพียงพอในการปลูกฝังวัฒนธรรมการอ่านให้กับคนในชาติ หากปราศจากการรณรงค์ต่อเนื่อง ถูกวิธี และเหมาะสมกับพฤติกรรมของคนในสังคม
ผมเสนอว่า ควรสร้างเมือง กทม. เป็นเมืองต้นแบบ ldquo;เมืองรักการอ่านrdquo; ให้เกิดขึ้น โดยพิจารณาว่ากรุงเทพฯ น่าจะเป็นเมืองที่เหมาะสมในการปลูกฝังวัฒนธรรมนี้ เนื่องด้วยมีลักษณะเด่นและมีปัจจัยหลายประการที่เอื้อ กล่าวคือ
เป็นเมืองที่ประชาชนมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าภูมิภาคอื่นในไทย อีกทั้งสภาพความเป็นอยู่ที่ต้องแข่งขันสูงไม่ว่าจะเป็นการเรียน การดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน ทำให้มีแนวโน้มต้องการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถเพื่อสามารถแข่งขันกับคนอื่นได้
เป็นศูนย์รวมความเจริญ ทั้งด้านเทคโนโลยีและมีสถานที่ที่เอื้อต่อการจัดให้มีบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดการกระตุ้นการอ่านมาก
เป็นที่ตั้งของหน่วยงานอื่นที่สนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการส่งเสริมการอ่าน สามารถนำองค์กรเหล่านี้มาจัดตั้งเป็น ภาคีร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนผลักดันให้เกิดขึ้นจริง
เป็นแหล่งที่มีบริการอินเทอร์เนตความเร็วสูงที่สะดวกรวดเร็ว และครอบคลุมในทุกพื้นที่ ที่สามารถเป็นช่องทางในการเข้าถึงข่าวสารต่างๆ ทั่วโลก ได้อย่างเท่าทัน
ผมขอเสนอการพัฒนากรุงเทพฯ สู่ ldquo;เมืองรักการอ่านrdquo; อาทิ
กำหนดวิสัยทัศน์ ldquo;เมืองรักการอ่านrdquo; กรุงเทพฯ ควรมีวิสัยทัศน์เพื่อตอบสนองการพัฒนาคนในเมือง นอกเหนือจากวิสัยทัศน์อื่น ๆ ที่ตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ เช่น การสนับสนุนให้กรุงเทพฯเป็นเมืองแฟชั่น กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางด้านการเงินของภูมิภาค เป็นต้น แต่ในส่วนของกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้บริหารท้องถิ่นควรมีบทบาทกำหนดวิสัยทัศน์ เพื่อพัฒนาคนกรุงเทพฯ ในระยะยาวด้วย โดยวิสัยทัศน์หนึ่งที่ควรจะมีนั่นคือ วิสัยทัศน์ระยะยาวในการทำให้กรุงเทพฯเป็น ldquo;เมืองรักการอ่านrdquo; ซึ่งจะช่วยให้เกิดการวางแผนระยะยาว แทนการดำเนินโครงการระยะสั้น ซึ่งมักจะไม่เห็นความสำเร็จในการปลูกฝังวัฒนธรรมใหม่ได้อย่างแท้จริง
ดังนั้น เสนอว่า กรุงเทพฯ ควรร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ สมาคมห้องสมุด กระทรวงศึกษาธิการ สมาคมนักเขียน สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ตลอดจนคณาจารย์ และนักเรียน นักศึกษา ร่วมกันตกลงกำหนดวิสัยทัศน์นี้ขึ้น จากความปรารถนาร่วมกันที่อยากปลูกฝังวัฒนธรรมนี้ให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง โดยกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์ให้ชัดเจนจากการประเมินร่วมกันว่าต้องการให้เกิดขึ้นจริงเมื่อไร เช่น ภายในปี พ.ศ.2555 และประกาศวิสัยทัศน์นั้นให้กระจายสู่คนในเมืองรับทราบ เช่น ทุกโรงเรียน ทุกชุมชน ทุกหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
กำหนดเป้าหมายพื้นฐานในการอ่าน การรณรงค์เพื่อให้คนในสังคมรักการอ่าน ไม่ใช่เพียงการ ldquo;อ่านอะไรก็ได้rdquo; แต่ต้องรู้จักเลือกว่าจะอ่านอะไร รู้จักคิดว่าอ่านไปเพื่ออะไร และรู้จักวิธีอ่านว่าจะอ่านอย่างไร เพื่อให้คนในสังคมเข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญการอ่านแท้จริง เช่น
เลือกอ่านอย่างชาญฉลาดสิ่งที่พบเสมอคือ คนที่คุ้นเคยกับการอ่านหนังสือจำนวนมากจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเลือกอ่าน เช่น ไม่รู้ว่าควรอ่านหนังสืออะไร มองไม่เห็นประโยชน์ของการอ่าน บางคนใช้เวลาเดือนละหลายชั่วโมง ในการอ่านหนังสือพิมพ์ แต่ได้อ่านหนังสือที่มีประโยชน์ปีละไม่กี่เล่ม ดังนั้น ควรส่งเสริมให้ผู้อ่านมีเป้าหมายการอ่าน มิใช่เพียงบอกให้อ่าน แต่ต้องช่วยให้คิดเป็นด้วยว่าอ่านแล้วจะได้ประโยชน์อะไร ควรมีการให้คำแนะนำหนังสือประเภทต่าง ๆ ที่ควรอ่านสำหรับคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม โดยจัดให้ครบทุกกลุ่มคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะ ทุกระดับการศึกษา และควรส่งเสริมการจัดเสวนา จัดเวทีวิพากษ์เกี่ยวกับหนังสือ เพื่อให้ผู้ฟังประเมินได้ว่าเนื้อหาสาระของหนังสือมีคุณค่าพอที่จะอ่านหรือไม่ หรือส่งเสริมให้เกิดการโฆษณาประชาสัมพันธ์หนังสือของสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ตามสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนรู้จักหนังสือต่าง ๆ มากขึ้น
มีทักษะการอ่านที่มีประสิทธิภาพหรืออ่านหนังสือเป็นการรณรงค์เรื่องการอ่านต้องช่วยส่งเสริมให้คนในสังคมอ่านเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีทักษะการอ่านจะสามารถจับใจความได้รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกอ่านข้อมูลจำนวนมากอย่างชาญฉลาด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการอ่านได้ โดยไม่เสียเวลาอ่านมากเกินไป เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ในตอนเช้า ไม่จำเป็นต้องอ่านทุกตัวอักษร แต่อ่านเพียงหัวเรื่อง ความนำย่อมสามารถเข้าใจเรื่องราวได้การอ่านตำราจะอ่านอย่างไรให้สนุกและจดจำได้ และการอ่านหนังสือประเภทต่าง ๆ เช่นกัน ควรส่งเสริมการสอนประชาชนให้รู้จักเทคนิคการอ่าน เพื่อจูงใจให้อยากอ่านหนังสือมากขึ้น
เข้าถึงแหล่งรวมสื่อการอ่าน ประชาชนควรรู้ว่าหนังสือที่ต้องการอ่านนั้น สามารถหาซื้อ หรือหาอ่านได้ที่ใดบ้าง โดยส่งเสริมการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ร้านหนังสือผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนรู้ว่ามีร้านหนังสือใดที่จำหน่ายหนังสือที่เขาต้องการบ้าง ส่งเสริมให้มีห้องสมุดที่ทันสมัยและมีคุณภาพเขตละ 1 แห่งที่ได้มาตรฐานและประชาสัมพันธ์ที่ดี ให้ประชาชนรู้จัก รวมทั้งรู้แหล่งหนังสือที่ต้องการอ่าน เป็นต้น
หากเราดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่บนฐานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ผมเชื่อว่า กรุงเทพฯ จะสามารถเป็น ldquo;เมืองต้นแบบรักการอ่านrdquo; ได้ในที่สุด
เผยแพร่:
การศึกษาวันนี้
เมื่อ:
2008-06-28