กินอย่างปลอดภัยในกรุงเทพฯ
คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ล้วนต้องฝากชีวิตประจำวันไว้กับร้านอาหารริมทางและหาบเร่แผงลอย คนส่วนใหญ่ไม่มีเวลาทำอาหารทานเองหรือทำอาหารเพื่อพกไปทานที่ทำงาน เพราะต้องใช้ส่วนมากหมดไปกับการเดินทาง หรืออาจจะเพราะว่าการซื้ออาหารจากร้านริมทางนั้นสะดวกกว่าทำเอง หาซื้อได้ง่ายกว่า มีทางเลือกได้หลากหลายมากกว่า และราคาประหยัดกว่า ldquo;แม่ครัวถุงพลาสติกrdquo; น่าจะเป็นคำที่สะท้อนวิถีชีวิตแบบนี้ของชาวกรุงเทพฯ ได้ดี
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างร้านอาหารริมทางในประเทศไทยกับในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว คือความเข้มงวดในเรื่องความสะอาดปลอดภัยของอาหาร กล่าวคือ ผู้ที่จะประกอบกิจการร้านอาหารหรือร้านอาหารรินถนนในต่างประเทศจะต้องได้รับใบอนุญาตในการประกอบการจากหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องสุขอนามัย และจะต้องถูกควบคุมตรวจสอบอย่างเข้มงวดเป็นระยะ หากพบว่าร้านใดไม่ได้มาตรฐาน เช่น ตรวจพบพาหะนำโรคในร้าน หรือครัวมีความสกปรก ร้านเหล่านี้จะถูกถอดถอนในอนุญาต ในขณะที่ ยังไม่ได้มีระบบการออกใบอนุญาตประกอบกิจการร้านอาหารในประเทศไทย จึงยังไม่มีกลไกใดเข้าไปตรวจสอบความสะอาดและคุณภาพของร้านต่าง ๆ
แม้ทางภาครัฐจะทำโครงการ ldquo;อาหารสะอาด รสชาติอร่อยrdquo; เพื่อสนับสนุนให้ร้านอาหารทั่วทั้งกรุงเทพฯ และทุกจังหวัดทั่วประเทศไทยปรุงและขายอาหารที่สะอาดและมีมาตรฐาน แต่วัตถุประสงค์หลักของโครงการก็เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ทำให้น้ำหนักส่วนใหญ่ของโครงการอยู่ที่การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อเน้นย้ำกับนักท่องเที่ยวว่าจะได้ทานอาหารที่สะอาดและปลอดภัยจากร้านอาหารและแผงลอย
แต่หากเราได้ศึกษาเกี่ยวกับนโยบายอาหารปลอดภัยของประเทศอื่น ๆ อาทิ ญี่ปุ่น แคนาดา สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือแม้กระทั่งจีน เราจะพบว่า โครงการของประเทศต่าง ๆ เหล่านี้มีวัตถุประสงค์โดยตรงไปที่การมุ่งทำให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง ประเทศเหล่านี้เห็นตรงกันว่า การทำให้อาหารปลอดภัยมีความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของประชาชนให้แข็งแรง ไม่ว่าจะอาหารเหล่านี้จะถูกแปรรูปมาจากแหล่งใด ๆ ก็ตาม ซึ่งสิ่งนี้หมายถึงคุณภาพของประชากรในประเทศ และช่วยลดค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการเจ็บป่วยของประชาชน นอกจากนี้ โครงการต่าง ๆ ของประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ ยังมุ่งเน้นการทำให้ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยด้วยตนเอง มากกว่าการเพียงแค่รณรงค์ให้ประกาศนียบัตรกับร้านอาหาร ประเทศเหล่านี้เห็นพ้องต้องกันว่า การป้องกันสุขภาพควรเริ่มต้นจากการให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจเลือกซื้อและบริโภคอาหารจากแหล่งต่าง ๆ ได้
ผมคิดว่า เราควรใส่ใจกับประเด็นความปลอดภัยของอาหารมากกว่านี้ เพื่อสร้างหลักประกันว่า ประชาชนในกรุงเทพฯ จะได้ทานอาหารที่ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย
เผยแพร่:
หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์
เมื่อ:
2008-06-19