ตีตราป้ายโฆษณามาตรฐาน รับประกันปลอดภัย 100%

ที่มาของภาพ lt;http://news.sanook.com/story_picture/m/161509_001.jpggt;
การเพิ่มขึ้นของป้ายโฆษณา สื่อกลางแจ้งในกรุงเทพมหานคร นับเป็นสิ่งสะท้อนถึงความเฟื่องฟูของธุรกิจโฆษณา แต่อีกด้านหนึ่ง ป้ายเหล่านี้ได้ก่อความกังวลใจแก่คนกรุงเทพฯ อยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัย และเมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เรามักพบเห็นข่าวที่มีข้อความเหล่านี้ เช่น
....ldquo;ล้อมคอกยังเหลว ป้ายโฆษณาภัยประจำปีrdquo;
....ldquo;ฝนกระหน่ำป้ายโฆษณาล้มอื้อrdquo;
....ldquo;ฝนถล่มกรุง ป้ายโฆษณาล้มทับวินจักรยานยนต์rdquo;
....ldquo;พายุฤดูร้อนถล่มยับเยินป้ายโฆษณาพัง ทับสยองrdquo;
ความไม่ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ที่ปรากฏตามสื่ออยู่เป็นระยะ ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้พยายามหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งการตรวจสอบดูแลกันเองของผู้ประกอบการ การออกกฎหมาย ข้อบังคับ เพื่อให้การติดตั้งป้ายได้มาตรฐานทั้งในเรื่องความปลอดภัย อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมถึงไม่ก่อเกิดมลพิษทางสายตา
แม้จะมีมาตรการและการบังคับใช้กฎหมาย แต่ยังพบว่า ป้ายโฆษณาที่มีอยู่ทั่ว กทม. ประมาณ 1,700 ป้ายนั้น มีทั้งที่ก่อสร้างถูกต้องตามกฎหมายกำหนด และที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ตรงตามแบบ แต่ยังไม่สามารถหาตัวผู้เกี่ยวข้องมาดำเนินการแก้ไขให้มีมาตรฐาน ทำให้ประชาชนที่ต้องผ่านไปมาในบริเวณที่ติดตั้งป้าย เกิดความหวาดหวั่นเรื่องความปลอดภัยของตนและทรัพย์สิน
ทางออกหนึ่งที่ผมขอเสนอ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่พี่น้องชาวกรุงเทพฯ นั้น กทม. ต้องติดฉลากเพื่อรับรอง ldquo;ป้ายมาตรฐานrdquo; ไว้ตรงมุมใดมุมหนึ่งของป้ายที่ได้รับการตรวจและรับรองมาตรฐานแล้ว โดยฉลากที่ติดต้องใหญ่พอที่ประชาชนจะเห็นได้ชัดเจน เพื่อยืนยันความมั่นใจให้กับประชาชนว่า ป้ายทุกป้ายทั่วกรุงเทพฯ จะปลอดภัย
ป้ายโฆษณาทุกป้ายจะต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน รับประกันความปลอดภัย กรณีป้ายที่ไม่ผ่านเกณฑ์ กทม. ติดฉลาก ldquo;ป้ายอันตรายrdquo; และแจ้งผู้เกี่ยวข้องแก้ไข ปรับปรุง หรือรื้อทิ้ง
ส่วนแนวทางการดำเนินงาน กทม.จะต้องเป็นเจ้าภาพในการดึงภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็น สมาคมป้าย วิศวกร อาจารย์ นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญ ร่วมจัดทำดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของป้ายโฆษณา มาตรฐานสากลที่ป้ายโฆษณาควรมีและสอดคล้องกับกทม. รวมถึงนำหลักเกณฑ์เหล่านี้ไปประเมินป้ายโฆษณาทั่งกรุงเทพฯ ยกตัวอย่างเช่น มาตรฐานพื้นที่รับแรงปะทะลม ในระดับความสูงต่าง ๆ โครงสร้างที่เตรียมพร้อมสำหรับกรณีแผ่นดินไหว ระยะถอยร่นของป้ายโฆษณา ฯลฯ
ความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน เป็นสิ่งเรื่องที่สำคัญและเชื่อมโยงกับหลายฝ่าย ซึ่งการแก้ปัญหาต้องแก้ปัญหาอย่างจริงจัง และสร้างความร่วมมือในการกวดขันอย่างจริงจัง ไม่ใช่เพียงการแก้ไขแบบล้อมคอก หรือ รณรงค์เพียงชั่วคราวได้
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2008-05-13