ยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนไทยในโลกไร้พรมแดน

ประชาชนในประเทศไทยมีเสรีภาพในการค้าขายมาตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนั้น เพียงแต่รูปแบบได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ไม่เพียงแต่การค้าขายระหว่างกันภายในประเทศเท่านั้น แต่ได้ขยายขอบเขตไปเป็นการค้าเสรีระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ประเทศต่าง ๆ มีการเชื่อมโยงเข้าหากันมากขึ้น ภายใต้กระบวนการที่ชื่อว่า ldquo;โลกาภิวัตน์rdquo; (Globalization)
กระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิด ldquo;ภาวะแห่งการพึ่งพากันrdquo; (Interdependence) ระหว่างประเทศมากขึ้น สินค้าและบริการมีการพัฒนาจนเป็น ldquo;มาตรฐานเดียวกันทั้งโลกrdquo; (Standardization) รวมทั้งสามารถ ldquo;เคลื่อนย้ายถ่ายโอนได้อิสระrdquo; (Mobility) และผู้คนจากทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการ หรือข้อมูลข่าวสารได้ในเวลาเดียวกัน (Simultaneity) โลกที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งด้านบวกและลบอย่างมาก โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโลกาภิวัตน์ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยหลายประการ
เศรษฐกิจแบบทุนนิยมขยายตัวมากขึ้น ในเชิงทฤษฎี การแข่งขันในตลาดเสรีจะทำให้การจัดสรรทรัพยากรมีประสิทธิภาพ เอกชนมีแรงจูงใจในการผลิตและพัฒนาตนเอง แต่ผู้ประกอบการในประเทศอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น และอาจนำไปสู่ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมติดตามมา
การถูกกีดกันทางการค้าจากมาตรการทางสังคม โดยเฉพาะมาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่ผู้บริโภคจะได้บริโภคสินค้าที่มีมาตรฐานสูงขึ้น
เศรษฐกิจผันผวนมากขึ้น อันเนื่องจากการพึ่งพาเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ปัจจัยการผลิตและเงินทุนเคลื่อนย้ายเสรีมากขึ้น และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลกรวดเร็ว ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะได้รับผลกระทบจากความไร้เสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นและอุตสาหกรรมดั้งเดิมของไทยมีความสามารถในการแข่งขันลดลง จะทำให้ความสำคัญของภาคเกษตรลดน้อยลง ภาคบริการมีความสำคัญมากขึ้น ในขณะที่การผลิตโดยใช้ทุนเข้มข้นมากขึ้น จากเดิมที่ใช้แรงงานเข้มข้น
บรรษัทข้ามชาติขยายตัว การเคลื่อนย้ายการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติ ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว และเกิดการจ้างงานมากขึ้น แต่อาจทำให้ธุรกิจไทยที่แข่งขันไม่ได้ต้องปิดตัวลง
ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ต่อเศรษฐกิจไทยได้เกิดขึ้นแล้ว การเตรียมการควบคุมและรองรับผลกระทบอาจจะทำได้ โดยภาครัฐและเอกชนควรปรับตัวและเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้สามารถอยู่รอดได้ในกระแสโลกาภิวัตน์ที่หยั่งรากลึกในประเทศไทยมากขึ้นทุกขณะ ซึ่งผมมีข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้
เลือกระหว่าง ldquo;อำนาจครอบครอง หรือ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจrdquo;
ปัจจุบันมีข้อโต้แย้งมากเกี่ยวกับการเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย ประชาชนและผู้ประกอบการไทยกังวลว่าจะถูกต่างชาติเข้าหาประโยชน์ โดยคนไทยไม่ได้รับประโยชน์มากนัก เช่น ความขัดแย้งในกรณีการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และ พ.ร.บ.ค้าปลีก รวมทั้งการเจรจาเขตการค้าเสรี โดยเปิดให้ต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจมากขึ้น แม้ว่าการเปิดเสรีอาจทำให้ ldquo;อำนาจการครอบครองrdquo; ของคนไทยในภาคธุรกิจลดลง แต่จะทำให้ "ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจrdquo; โดยรวมของประเทศเพิ่มขึ้น (รูปที่ 1)
ภาครัฐและภาคธุรกิจจำเป็นจะต้องเลือกระหว่าง ความเป็นเจ้าของ หรือขนาดของผลประโยชน์ซึ่งผมคิดว่าควรเปิดให้ต่างชาติเข้ามามากขึ้น เนื่องจากธุรกิจในอนาคตไม่มีสัญชาติและการเปิดเสรีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าเราจำเป็นต้องเปิดให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นหรือเปิดเสรีทันที แต่เราควรเตรียมความพร้อมที่จะร่วมงานกับต่างชาติมากขึ้นและแสวงหาพันธมิตรต่างชาติมากขึ้น

ไม่ใหญ่ ก็เล็ก

ผมได้เขียนหนังสือเรื่อง ldquo;SLEs ไม่ใช่ SMEsrdquo; เมื่อปี พ.ศ.2542 โดย SLEs ในที่นี้หมายถึง ldquo;Small and Large Entreprizesrdquo; ผมเห็นว่าธุรกิจที่จะอยู่รอดได้ในอนาคต ในกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันกันสูง บรรษัทข้ามชาติสามารถเคลื่อนย้ายไปที่ใดในโลกได้อย่างเสรี ธุรกิจที่จะอยู่รอดได้จะต้องเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เงินทุนสูง ผลิตเป็นจำนวนมาก มีความประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง หรือไม่ก็เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้รวดเร็ว เน้นช่องว่างตลาด (Niche Market) การผลิตและการจ้างงานมีความยืดหยุ่นสูง ดังนั้นธุรกิจขนาดกลางจะแข่งได้ยากลำบาก เนื่องจาก เงินทุนจำกัด เมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ และยังปรับตัวได้ช้า ไม่คล่องตัว เมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดเล็ก
ผู้ประกอบการไทยควรพิจารณาตนเองว่าจะแข่งขันในฐานะใด หากต้องการแข่งขันในฐานะธุรกิจขนาดใหญ่ ต้องมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาองค์กรให้ได้มาตรฐานโลก อาจอาศัยทางลัด เช่น การควบรวมกิจการ (Merger amp; Acquisition) หรือหากจะแข่งขันในฐานะธุรกิจขนาดเล็กจะต้องสร้างเอกลักษณ์ให้ตนเอง ปรับโครงสร้างองค์กรให้ยืดหยุ่นและหาช่องว่างทางการตลาด โดยจับกลุ่มลูกค้าที่ต่างจากธุรกิจขนาดใหญ่
เปลี่ยนแปลงข้ามพรมแดน (Cross Boundary Transforamation)
เปลี่ยนแปลงข้ามพรมแดน หมายถึง การแปลงรูปแบบองค์กรให้สามารถทำงานข้ามขอบเขตองค์กรหรือประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เป็นเครื่องมือ โดยภาครัฐและภาคธุรกิจควรสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ เช่น บริษัทพร็อกเตอร์แอนด์แกมเบิล (Pamp;G) ปฏิรูปการจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งสร้างมาตรฐานการทำงานด้านอื่นให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ประสานงานกันง่าย สะดวก รวดเร็วและผิดพลาดน้อยลง หรือบางบริษัทมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาจากกลุ่มผู้บริโภค (Customer Advisory Board) ให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนกำหนดนโยบายขององค์กร เป็นต้น
สร้างนวัตกรรม
ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรม เช่น กำหนดให้การสร้างนวัตกรรมเป็นงานหลักขององค์กร โดยมีผู้รับผิดชอบเจาะจง หรือจูงใจให้พนักงานทุกคนพัฒนานวัตกรรมในงานที่ตนเองรับผิดชอบ อีกทั้งเรียนรู้ในการจัดการความรู้ภายในองค์กร เช่น จัดระบบฐานข้อมูล และทำคู่มือสำหรับงานทุกประเภท นอกจากนี้ควรแสวงหาองค์ความรู้จากภายนอกองค์กร โดยการเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างองค์กร จัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายบุคคล เพื่อเป็นแหล่งความรู้และที่ปรึกษา รวมทั้งใช้กลยุทธ์นวัตกรรมที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ (nonproprietary strategies) เพื่อให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์มีส่วนร่วมพัฒนานวัตกรรม และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ต่างชาติลอกเลียนได้ยาก เป็นต้น
บริหารความเสี่ยง
ผู้ประกอบการควรสร้างกลไกป้องกันความเสี่ยง โดยศึกษาเครื่องมือทางการเงินและการบริหารความเสี่ยง เช่น อัตราแลกเปลี่ยน การซื้อขายในตลาดล่วงหน้า เป็นต้น ผู้ประกอบการควร ldquo;กระจายความเสี่ยงrdquo; โดยการไม่พึ่งตลาดใด ตลาดหนึ่ง มากเกินไป ทั้งตลาดปัจจัยการผลิตและตลาดสินค้า และไม่ควรพึ่งพาสินค้าชนิดเดียว แต่สร้างรายได้จากทางอื่นด้วย รวมทั้งไม่ผลิตสิ่งที่ไม่ถนัด และ ldquo;ปรับโครงสร้างองค์กรให้ยืดหยุ่นrdquo; และที่สำคัญ คือ ldquo;การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการrdquo; ในหลายมิติ เช่น มิติภูมิภาค มิติอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อเป็นกลไกในการเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์ คัดค้านนโยบายที่อันตราย
มองเพื่อนบ้าน
เศรษฐกิจเอเชียในอนาคตจะมีความสำคัญมากขึ้น เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและใต้มีแนวโน้มขยายตัวสูง โดยเฉพาะจีน อินเดีย เวียดนาม มีแนวโน้มรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก โครงสร้างการผลิตมีลักษณะเป็นเครือข่ายระหว่างประเทศ หรือมีสายการผลิตข้ามประเทศ ผู้ประกอบการไทยจึงควรให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น โดยการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและติดตามข่าวสารการจัดทำข้อตกลงและความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือจ้างบุคลากรที่มีความรู้และเข้าใจภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งสร้างเครือข่ายกับองค์กรธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน และแสวงหาโอกาสและช่องทางการค้าและลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น
ในประเทศไทย การค้าเสรีหรือโลกาภิวัตน์ถูกมองไปในแง่ลบ มีแนวคิดและความพยายามต่อต้าน รวมทั้งพยายามสร้างเกราะป้องกันให้ตนเองเผชิญกับโลกาภวัตน์ช้าที่สุด อย่างไรก็ตาม คลื่นโลกาภิวัตน์มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ประเทศเล็ก ๆ อย่างประเทศไทย จะหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นภาครัฐและเอกชนควรมองโลกาภิวัตน์อย่างสมจริง คิดเชิงบวก มีวิสัยทัศน์ ไม่ปิดกั้นตนเอง พร้อมเผชิญประสบการณ์ใหม่ ๆ และมีการเตรียมความพร้อม จึงจะสามารถป้องกันตนเองจากผลกระทบ และฉกฉวยโอกาสจากโลกาภิวัตน์ได้
admin
เผยแพร่: 
วารสารกระทรวงพาณิชย์
เมื่อ: 
2008-03-07