บริหารธุรกิจ

ผู้นำไม่ต้องลงไปทำเองทั้งหมด แต่ต้องรู้ว่าทั้งหมดเป็นอย่างไร ....
     ความแตกต่างระหว่างผู้นำที่ เก่ง กับ ไม่เก่ง มักจะวัดกันตรงที่ความสามารถในการหลบหลีกและรับมือกับปัญหา  ผู้นำที่เก่งจะแก้ปัญหาได้ตรงจุดเพราะวิเคราะห์สาเหตุได้แม่นยำ คาดการณ์อนาคตและวางแผนรับมือได้ทัน

เมื่อเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา (2557) หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ส ได้ลงบทสัมภาษณ์ การ์โลส สลิม เอลู (Carlos Slim Hel? Aglamaz) เจ้าพ่อแห่งแวดวงสื่อสารโทรคมนาคม ชาวเม็กซิกัน วัย 74 ปี เจ้าของตำแหน่งบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในปัจจุบัน ออกมาเรียกร้องให้ทุกประเทศในโลก ควรกำหนดวันทำงานไว้เพียง 3 วันต่อสัปดาห์ โดยทำงานวันละ 11 ชั่วโมง เพื่อเปิดโอกาสให้กับตนเองได้พักผ่อนและมีเวลาให้กับกิจกรรมอื่นๆ ที่ตนสนใจ รวมถึงมีเวลาให้กับครอบครัวเพิ่มขึ้นเขาคิดว่า แทนที่จะการปล่อยให้งานขโมยชีวิต หรือพรากทุกอย่างไปจากชีวิต การทำงานเพียง 3 วันและหยุดพักผ่อนอีก 4 วันต่อสัปดาห์ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นผลดีต่อสุขภาพและความคิดสร้างสรรค์ของเรามากกว่า  เขาได้เริ่มนำวิธีการดังกล่าวเข้ามาใช้กับพนักงานของบริษัท และไม่ได้ส่งผลกระทบ ต่อรายได้ของบริษัทแต่อย่างใด  

     ผู้นำที่ขาดความคิดริเริ่ม และไม่เคยสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ คือ ผู้สร้างความเสี่ยง ?ล้มเหลว? ในการนำคน นำองค์กรสู่อนาคต และพลาดเป้าหมายวิสัยทัศน์ที่วางไว้... 
     อนาคตเป็นของผู้ที่มีความพร้อมมากกว่าเสมอ ผู้นำที่มี ?ความคิดริเริ่ม? และมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ย่อมมีโอกาสก้าวไปก่อน ก้าวไปไกล ก้าวไปสู่อนาคต ที่ประสบความสำเร็จได้มากกว่า 
     ตรงข้ามกับผู้นำที่นำแบบไปเรื่อย ๆ พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ รักษาระบบแบบอนุรักษ์นิยม ไม่คิดจะริเริ่มเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ดีกว่าด้วยตนเอง ถ้าไม่มีใครสั่งหรือไม่มีสถานการณ์บีบบังคับ อาจนำได้ในสถานการณ์ปกติ แต่จะไม่ใช่ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ยิ่งใหญ่ และไม่ใช่ผู้นำที่ปรับตัวเข้ากับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้

ในบทความ 2 ตอนที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึงการบริหารปัจจัยนำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพ (efficiency) และกระบวนการดำเนินงานอย่างดีเลิศ (Excellence) ไปแล้ว สำหรับบทความตอนที่ 3 ในบทความชุดยุทธศาสตร์การบริหาร 8E ที่ผมสร้างขึ้น ผมจะนำเสนอความหมาย นิยาม และมุมมองที่แตกต่างของ E ตัวที่ 3 คือ Effectiveness หรือแปลเป็นไทยได้ว่า ?ประสิทธิผล? รวมถึงยกตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้งาน เพื่อเกิดความเข้าใจง่ายและเห็นภาพชัดเจน และสามารถนำไปปรับใช้กับเรื่องอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม

จากบทความตอนที่แล้ว ผมได้นำเสนอยุทธศาสตร์การบริหาร 8E ซึ่งเป็น Model ใหม่ที่ผมสร้างขึ้น E ตัวที่หนึ่ง ได้แก่ Efficiency หรือประสิทธิภาพ อันเป็นการบริหารและจัดสรรปัจจัยนำเข้า (inputs) หรือทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดไปแล้ว สำหรับบทความในตอนนี้ ผมจะนำเสนอยุทธศาสตร์ E ตัวที่สอง ที่นับว่าเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในการบริหาร นั่นคือ Excellence คือ ความดีเลิศในกระบวนการ หรือขอเรียกว่าประสิทธิการ


แหล่งที่มาของภาพ : http://www.gelder-gingras.ca/wp-content/uploads/2015/01/shutterstock_152986346.jpg 
 
ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 จัดโดย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 -ผมได้เสนอแบบตัวแบบใหม่สำหรับการบริหารองค์กรหรือประเทศ เรียกว่า ยุทธศาสตร์การบริหาร 8E (Dr. Dan Can Do 8E Model of Management Strategies) ซึ่งเป็นแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ทางการบริหารที่ครบวงจร ในบทความตอนนี้และบทความต่อ ๆ ไป แต่ละหลักคิดมาอธิบายขยายความให้กระจ่าง และยกตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เห็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนมากขึ้น 

         คนเก่งที่ทำงานเป็นทีมร่วมกับคนอื่นไม่ได้ มักไม่เป็นที่ต้องการ เพราะความสำเร็จของงาน คือ ความสำเร็จของทีม...ไม่ใช่ของคน ๆ เดียว
         ที่ผ่านมา ผมบังเอิญได้เห็นเวบไซต์หนึ่ง ซึ่งได้จัดทำ info graphic กล่าวถึง ?นิสัยไทย ๆ ที่ทำให้ไทยไม่พัฒนา? มี 8 ลักษณะนิสัย ได้แก่

"ถ้าการกระทำของคุณสร้างแรงบันดาลใจให้คนภายใต้ ..มีฝันที่ยิ่งใหญ่ขึ้น เรียนรู้ได้เพิ่มขึ้น ทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น และทำหน้าที่ในบทบาทต่าง ๆ ได้หลากหลายขึ้น  ..คุณคือผู้นำ" จอห์น ควินซี อดัมส์ (John Quincy Adams) ประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวข้อความข้างต้นไว้ สะท้อนบทบาทสำคัญประการหนึ่งของผู้นำ นั่นคือ ผู้นำต้อง "สร้างคน"

งานวันนี้
ปีที่ 16 ฉบับที่ 708 วันที่ 14-21 ตุลาคม 2557

 

ผู้บริหาร 2 คน พูดกับทีมงาน หลังจากพบความผิดพลาดเกิดขึ้น....

ผู้บริหารคนที่ 1 ...?ทำงานกันผิดพลาดแบบนี้....ถ้าครั้งหน้าไม่ดีขึ้น ผมจะตัดเงินเดือนไม่ใช่คุณคนเดียวนะ แต่จะตัดเงินเดือนทั้งทีมเลย และถ้าไม่ดีขึ้นอีก ก็เตรียมหางานใหม่ได้เลย?

ผู้บริหารคนที่ 2 ....?ไหนลองวิเคราะห์สิว่า ความผิดเกิดตรงไหน และจะแก้ไขอย่างไร หวังว่า บทเรียนครั้งนี้ จะทำให้เราเรียนรู้และไม่ผิดพลาดอีก ผมเชื่อมั่นในความสามารถของพวกเราทุกคน ขอบคุณในความตั้งใจทำงานมาโดยตลอด?

ถ้าเราเป็นหนึ่งในทีมงาน คิดว่า เราอยากจะทำงานร่วมกับผู้บริหารงานคนไหนมากกว่ากัน?...ถ้าเลือกได้ คงเลือกทำงานกับคนที่ 2 เพราะรู้สึกว่า มีกำลังใจ มีความเชื่อมั่นในตัวเองที่จะทำงานให้ดีขึ้น มากกว่าการทำงานด้วยความกลัวว่าจะถูกตัดเงินเดือน หรือถูกให้ออกจากงาน...

     "คิดดีแล้วหรือครับหัวหน้า แบบนี้ไม่เวิร์คหรอก เอาวิธีผมดีกว่า"
     "หัวหน้าจะไปรู้อะไร เคยเรียนมาหรือเปล่า ผมจบมาโดยตรงเลยนะ"
     "เห็นไหม..นี่ครับฝีมือผม ผมว่าถ้าเป็นคนอื่นคงทำไม่ได้"
     หัวหน้างานที่ต้องทำงานร่วมกับลูกน้องที่มีคำพูดประมาณนี้...คงเครียดน่าดู!
     ที่ผ่านมา มีลูกศิษย์หลายคนมาปรึกษาผมว่า จะจัดการอย่างไรกับผู้ใต้บังคับบัญชาที่ชอบทำตัวแบบ ?เก่งขั้นเทพ? รู้ดีไปหมด เชื่อมั่นในตัวเองสูง โอ้อวด ชอบดูถูกคนอื่น..ไม่เว้น แม้แต่หัวหน้าตัวเอง ถ้ามีโอกาสจะชอบแสดงความเก่งเพื่อข่มหัวหน้า ยิ่งเป็นพวกที่จบมาจากสถาบันที่มีชื่อเสียง หรือจบการศึกษาในระดับที่สูงกว่าหัวหน้าด้วยแล้ว หลายครั้งชอบทำหยิ่ง มั่นใจตัวเองเกินร้อย และชอบทำท่าดูแคลนคำสั่งหรือการตัดสินใจของหัวหน้าตน