December 2017

พัฒนาคุณภาพมนุษย์ ด้วยคุณภาพการศึกษาตามบริบทโลกอนาคต

“คุณภาพมนุษย์” เป็นตัวแปรสำคัญที่นำไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้อย่างก้าวกระโดด ประเทศพัฒนาแล้วมีการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ในระดับสูงมากเมื่อวัดโดยดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI)ที่มีตัวชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ อายุขัยเฉลี่ย (Life expectancy) การศึกษา (Education) และรายได้ต่อหัวประชากร (Income per capita) ในปี 2014ประเทศ 10 อันดับแรกที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงที่สุด ล้วนเป็นสมาชิกในกลุ่มOECD ทั้งสิ้น และ เกือบทุกประเทศในกลุ่มOECD มีค่า HDI อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงมาก (ยกเว้นตุรกีกับเม็กซิโกอยู่กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูง) โดยค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูงมากอยู่ที่ 0.875

ขณะที่ประเทศไทย มีคะแนนอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูงถือเป็นอันดับที่ 93 ของโลก(จาก 188 ประเทศ) และได้คะแนน 0.726 และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 เป็นรองจากสิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย ที่อยู่ในอันดับ 11 อันดับ 31 อันดับ 62 ของโลก ตามลำดับ

องค์กรแห่งยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

จากทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านทางสังคม: คลื่นอารยะ 7 ลูก ในหนังสือสยามอารยะ แมนนิเฟสโต ที่ผมเขียนนั้น กล่าวได้ว่า ปัจจุบัน โลกกำลังอยู่ในคลื่นลูกที่ 3 ยุคข้อมูลข่าวสาร และกำลังเคลื่อนไปสู่คลื่นลูกที่ 4 ยุคสังคมแห่งความรู้ การเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ความคิดปฏิวัติสังคม และประเทศใดที่สามารถขี่ยอดคลื่นการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ก่อนจะเป็น “ผู้ชนะ” คือ สามารถก้าวกระโดดสู่การเป็นประเทศชั้นแนวหน้าที่ทรงอิทธิพลของโลก ในมิติทางเศรษฐกิจ ผมมีแนวคิดมโนทัศน์ “เศรษฐกิจหลากสี” อันเป็นแนวคิดที่ระบุถึง เศรษฐกิจหลากหลายมิติที่เราควรให้ความสำคัญ เพื่อสร้างชาติให้เป็นผู้ชนะในโลกคลื่นลูกที่ 3 ถึง 6 โดยเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) หรือเศรษฐกิจ “สี” ใสเป็นมิติหนึ่งในแนวคิดดังกล่าว

ม.แหล่งเสริมสร้างทักษะการทำงาน : ฮาร์วาร์ดสร้างงานแก่เด็กนักเรียน

การศึกษาของประเทศไทยเราทุกระดับตั้งแต่ยุคอดีตจนกระทั่งปัจจุบันเป็นการศึกษาที่ยังไม่สามารถมีส่วนเสริมสร้างสมรรถนะสำหรับการทำงานหรือการประกอบอาชีพให้แก่ผู้เรียนเท่าที่ควร สะท้อนให้เห็นจากแต่ละปีมีผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย แต่ในที่นี้กลับพบว่า บางส่วนมีสมรรถนะและคุณภาพไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน อันเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสถานประกอบการ อาทิ การต้องสูญเสียทรัพยากรและงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรใหม่ เป็นต้น