November 2012

ช่องว่างของระบบป้องกันและปราบปรามการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (2)

 

     บทความครั้งก่อน ผมได้กล่าวถึงผลการศึกษาที่ได้จากงานวิจัย เรื่อง ?บทบาทของรัฐมนตรี ในการลดการคอร์รัปชันภายในกระทรวง : กรณีศึกษา กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ? ซึ่งผมได้วิเคราะห์ช่องว่างของระบบป้องกันและปราบปรามการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐประการแรกคือ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นระบบปิด  
ในบทความนี้ ผมจะวิเคราะห์ถึงช่องว่างของระบบป้องกันและปราบปรามการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอีกประการหนึ่ง คือ ?การให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐใช้ดุลยพินิจค่อนข้างมาก? ซึ่งทำให้ปัญหาการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างยังมีความรุนแรงอยู่

ข้อพิพาทหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุหมากกลของอำนาจ

 

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

ผลประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมันเป็นเรื่องอนาคตอีกยาวไกล ผลประโยชน์ที่จับต้องได้ในตอนนี้เป็นที่สนใจมากกว่า มีโอกาสสูงที่ข้อพิพาทหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุจะนำสู่การเผชิญหน้ากับการโต้ตอบไปมาด้วยคำพูด กองเรือ ผู้ชุมนุม เศรษฐกิจ ฯลฯ แต่เนื่องด้วยทุกฝ่ายต่างเกรงผลเสียมหาศาลหากเรื่องบานปลายจึงพยายามควบคุมให้ความรุนแรงอยู่ในระดับพอเหมาะ ให้การตอบโต้เป็นเพียงหมากกลที่ต่างฝ่ายต่างเดินเพื่อเป้าหมายเบื้องลึกที่หวังไว้

ไม่ว่าจะวิเคราะห์เช่นไร บทสรุปของการวิเคราะห์คือ สหรัฐฯ จะต้องเข้ามาเกี่ยวพันเข้า มาสอดแทรกด้วย จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ หากวันข้างหน้าเมื่อสหรัฐฯ

พูดถึงประเด็นความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะกล่าวถึงบทบาทของสหรัฐฯ ต่อกรณีข้อพิพาทหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุ (และกรณีข้อพิพาทความขัดแย้งอื่นๆ) ชวนให้คาดการณ์ต่อว่าข้อพิพาทฯ จะไม่สงบลงง่าย ๆ และจะปะทุขึ้นเป็นระยะ ๆ

วัฒนธรรมกับบทบาทของคนจีนโพ้นทะเล

ในบทความครั้งก่อนๆ ผมได้กล่าวถึงบทบาทของคนจีนโพ้นทะเลในการสร้างความมั่งคั่งและพัฒนาประเทศ และทิศทางนโยบายของรัฐบาลจีนในการใช้ประโยชน์จากคนจีนโพ้นทะเล ในบทความนี้ ผมจะกล่าวถึงปัจจัยเชิงวัฒนธรรมที่มีผลต่อบทบาทของคนจีนโพ้นทะเลในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและประเทศที่คนจีนโพ้นทะเลเข้าไปอยู่อาศัย

วัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน (Cultural proximity) เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อบทบาทของคนจีนโพ้นทะเลในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของจีนและเศรษฐกิจของประเทศที่ชาวจีนเข้าไปอาศัยอยู่ ทั้งการเชื่อมโยงทางการค้าและการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ

เป็นที่ทราบกันว่า นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในประเทศจีนในช่วงแรกๆ ที่จีนเริ่มเปิดประตูทางเศรษฐกิจ คือนักลงทุนเชื้อสายจีนจากฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีคนเชื้อสายจีนเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เนื่องจากมีความคุ้นเคยในด้านภาษาและวัฒนธรรม



แหล่งที่มาของภาพ : 
http://www.enn.co.th/uploads/contents/20120216101523.jpg

ทิศทางนโยบายของจีนเกี่ยวกับคนจีนโพ้นทะเล

จากบทความตอนที่แล้ว ผมได้กล่าวถึงบทบาทของคนจีนโพ้นทะเลในการสร้างความมั่งคั่งและการมีส่วนพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในการบรรยายของผมในการประชุม World Chinese Economic Forum ครั้งที่ 4 ส่วนในบทความนี้ผมจะขอกล่าวถึง ทิศทางนโยบายของจีนเกี่ยวกับคนจีนโพ้นทะเล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดบทบาทของคนจีนโพ้นทะเลในอนาคต

รัฐบาลจีนดำเนินยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์จากคนจีนโพ้นทะเล โดยการสร้างความผูกพันทางอารมณ์ความรู้สึกของชาวจีนโพ้นทะเลกับประเทศบ้านเกิด เช่น การจัดตั้งสถาบันเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับคนเชื้อสายจีนในต่างประเทศ (เช่น Oversea Chinese Affairs office และ All China?s Federation of Returned Overseas Chinese) การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนหรือองค์กรของชาวจีนโพ้นทะเล เป็นต้น


แหล่งที่มาของภาพ : http://www.bloggang.com/data/copy/picture/1162720956.jpg

'หาเสียงด้วยนโยบาย'บทเรียนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ

 

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2012 มีเรื่องน่าสนใจให้ความรู้ข้อคิดดีๆ หลายประการ ประการหนึ่ง คือ การหาเสียงด้วยนโยบาย

ข้อสังเกตประการแรก 
คือ นำเสนอนโยบายที่มีรายละเอียดชัดเจน โดยเฉพาะนโยบายสำคัญที่อยู่ในความสนใจมีข้อแตกต่างชัดเจน จะมีการเปรียบเทียบนโยบายเดียวกันระหว่างพรรคการเมือง ให้ทราบข้อดีข้อเสียที่แต่ละพรรคนำเสนอ