 |
|
 |
 |
|
 |
ขอคิดอย่างสร้างสรรค์ |
|
เรียน
มิตรสหายที่เคารพ
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวเกี่ยวกับ
การรื้อยุทธศาสตร์โครงการบัตร
"ไทยแลนด์ อีลิท
การ์ด"
มาดำเนินการอีกครั้ง
โดยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจระดับบน
(hi-end)
ในต่างประเทศ
ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังการใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
โดยรัฐบาลคาดหวังว่า
จะนำเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศไม่ต่ำกว่า
20,000 ล้านบาท
และมั่นใจว่าจะเป็นโครงการที่ทำรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้น
ผมคิดว่า
โครงการนี้หากบริหารจัดการไม่ดีจะมีแนวโน้มประสบความล้มเหลวเช่นเดียวกับโครงการแรก
ซึ่งหากเราย้อนกลับไปทบทวนผลการดำเนินงานในโครงการแรก
จะพบว่า
มีปัญหาในหลายด้านไม่ว่าจะเป็น
การตั้งเป้าไว้สูง
แต่ทำได้ต่ำกว่าเป้ามาก
คือ
ตั้งเป้าขายบัตรได้
1 ล้านใบใน 5 ปี
ในปีแรก คือ 2546
ตั้งเป้าจะขายได้
1แสนใบ
แต่ปัจจุบันปี
2548
มีสมาชิกเพียง
824 คน
การมีรายรับไม่คุ้มค่ากับรายจ่ายที่ใช้ในโครงการ
มีการใช้งบประมาณแผ่นดินเพื่อการลงทุนจัดตั้งบริษัท
ไทยแลนด์
พรีวิเลจ คาร์ด
จำกัด (ทีพีซี)
เพื่อให้บริการบัตรอีลิทประเทศไทย
จำนวน 1,000
ล้านบาท
นอกจากเพียง 6
เดือนหลังการเปิดโครงการ
มีการระดมทุน
6,000 ล้านบาท
ในการเข้าไปขยายการลงทุนด้านต่าง
ๆ เช่น สนามกอล์ฟ
โรงแรม
และสถานบริการอื่น
ๆ
แต่บริษัทมีรายรับจากการขายบัตรเพียง
700 ล้านบาท
การบริหารงานขาดความชัดเจน
ไม่ว่าจะเป็น
ไม่มีการวางกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนตั้งแต่แรก
ทำให้ไม่สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้
เงื่อนไขการรับผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างรัฐกับเอกชน
ไม่มีความชัดเจน
ทำให้เอกชนไม่กล้าลงทุนร่วม
ไม่มีทีมบริหารมืออาชีพที่จะผลักดันให้
บริษัทเป็นไปอย่างสอดคล้องกับแผนงาน
สำหรับโครงการที่สองนี้
แม้ว่ารัฐบาลได้ชี้ให้เห็นว่า
มีความแตกต่างจากโครงการแรกทั้งในแง่ของการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
โดยเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชียเป็นหลัก
อีกทั้งมีการคัดเลือกลูกค้าแทนการเน้นการขาย
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงโปรโมชั่นให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้ามากขึ้น
โดยคาดหมายว่า
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะทำให้มีสมาชิกเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้น
6-7 เปอร์เซ็นต์
จากเดิมที่เข้ามาใช้บริการเพียง
3-4 เปอร์เซ็นต์
แต่อย่างไรก็ตาม
โครงการดังกล่าวยังคงมีความน่าเป็นห่วงว่า
จะเป็นการซ้ำรอยประวัติศาสตร์โครงการไทยแลนด์อีลิทการ์ดโครงการแรก
เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนหลายประการ
ไม่ว่าจะเป็น
ภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มถดถอย
ภัยจากการก่อการร้ายทั้งในระดับโลกและในประเทศที่ไม่อาจยุติโดยง่าย
อีกทั้ง
ความหวาดกลัวต่อภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา
เหตุผลเหล่านี้ส่งผลให้พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไป
โดยนักท่องเที่ยวต้องคำนึงถึงความปลอดภัย
ความประหยัดและความคุ้มค่ามากขึ้น
ดังนั้น
รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องทำการศึกษาอย่างดี
และปรับยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง
เพราะผลที่ได้รับนั้นไม่เพียงสร้างความพึงพอใจต่อกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น
แต่ยังเป็นการนำงบประมาณแผ่นดิน
ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชนทุกคนไปใช้อย่างคุ้มค่า
ไม่เป็นการ
"ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ"
อย่างหลายโครงการที่ผ่านมา |
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
 |
 |
|