ความมั่นคง

บทความที่ผ่านมา ผมได้นำเสนอคะแนนประสิทธิผลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 3 ด้านแรกไปแล้ว ได้แก่ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการศึกษา โดยด้านการศึกษาของไทยน่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะได้คะแนนในลำดับที่ 9 มาตรฐานการศึกษาของประเทศอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ทุกภาคส่วนควรเร่งรัดแก้ปัญหาด้านการศึกษา ตามข้อเสนอต่างๆ ที่ผมเคยเสนอไว้แล้ว

หากพิจารณาในเชิงหลักการ การจำนำข้าวดูเหมือนเป็นแนวคิดที่ดี กล่าวคือ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำในช่วงที่ผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดมาก ชาวนาจะนำข้าวไปจำนำก่อนเพื่อรอเวลาที่ราคาข้าวสูงขึ้นแล้วจึงไถ่ถอนข้าวออกมาจำหน่าย

อย่างไรก็ดี การจำนำมีข้อจำกัดในการนำมาใช้กับข้าวเปลือก เนื่องจากการจำนำข้าวมีต้นทุนการดำเนินการสูง โดยเฉพาะต้นทุนการขนส่งและต้นทุนการเก็บรักษา รวมทั้งยังมีต้นทุนจากการเสื่อมคุณภาพของผลผลิตข้าว ดังนั้นราคารับจำนำจำเป็นต้องต่ำกว่าราคาตลาดมากพอสมควร เพื่อให้ชาวนาที่นำข้าวมาจำนำมีแรงจูงใจมาไถ่ถอนข้าวออกไป หรือเพื่อให้ผู้รับจำนำข้าวมีกำไรหรือไม่ขาดทุนเมื่อนำข้าวที่หลุดจำนำออกขายทอดตลาด

ในภาคปฏิบัติ โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลไม่ใช่การรับจำนำข้าวตามแนวคิดข้างต้น แต่เป็นการรับซื้อข้าวจากเกษตรกรเพื่อมาเก็บรักษาและจัดจำหน่ายเอง ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นนโยบายสงเคราะห์ด้านรายได้แก่เกษตรกร เพราะรัฐบาลรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดมากจนเป็นไปไม่ได้ที่เกษตรกรจะกลับมาไถ่ถอนข้าวออกไป

ยุคที่โลกเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสื่อสารและระบบคอมพิวเตอร์ โลกไซเบอร์ที่ติดต่อเชื่อมโยงกันกลายเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามระดับชาติ กลุ่มอาชญากร กลุ่มก่อการร้าย รัฐที่ประสงค์ร้าย รวมทั้งพวกแฮคเกอร์ ต่างเห็นโอกาสและมุ่งหาประโยชน์จากโลกไซเบอร์ ในขณะที่คนจำนวนมากยังไม่ตระหนักถึงความร้ายแรงของภัยคุกคามนี้

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่หลายประเทศทั่วโลกเผชิญในปัจจุบันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และไม่เพียงก่อกวนสร้างความเสียหายเล็กๆ น้อยๆ แต่สามารถถึงขั้นทำสงครามที่เรียกว่า Cyber Warfare โดยอาศัยกลุ่มคนไม่กี่คน และบางครั้งเป็นกลุ่มที่มีภาครัฐสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ดังมีข่าวปรากฏทางสื่อมวลชนบ่อยครั้งที่ประเทศหนึ่งกล่าวหาอีกประเทศหนึ่งว่าอยู่เบื้องหลังจากโจมตีทางไซเบอร์ หลายประเทศตื่นตัวกับการโจมตีไซเบอร์อย่างมาก

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สถาบันวิจัย
 Center for Strategic and International Studies (CSIS) ได้เผยแพร่งานวิจัยชื่อ U.S. Force Posture Strategy in the Asia Pacific Region: An Independent Assessment เป็นผล

งานวิจัยชิ้นสำคัญที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐ มอบหมายให้ศึกษาแผนการจัดวางกำลังพลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมข้อเสนอแนะทางยุทธศาสตร์และเชิงปฏิบัติลงรายละเอียดถึงระดับหน่วยกำลังต่างๆ ของสหรัฐ ที่ประจำการในภูมิภาคนี้

ประเด็นเรื่องความมั่นคงเป็นสิ่งที่รัฐบาลในทุกประเทศให้ความสนใจ มิติเรื่องความมั่นคงที่กล่าวถึงในปัจจุบันไม่ได้มุ่งเน้นเพียงความมั่นคงทางการทหาร ความมั่นคงทางการเมืองหรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมมิติอื่นด้วย โดยเฉพาะประเด็นที่มีความสำคัญมากขึ้นนั่นคือ ความมั่นคงทางอาหาร
 
ในอนาคตทุกประเทศมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะประสบปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหาร แต่หากพิจารณาแนวโน้มประเทศที่มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางอาหารมากสุดคงหนีไม่พ้นประเทศจีน ซึ่งมีประชากรคิดเป็นร้อยละ 22 ของโลกและจำนวนประชากรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันจีนมีพื้นที่เพาะปลูกไม่ถึงร้อยละ 10 ของพื้นที่โลก ในปี 2015 ประชากรของจีนคาดว่าจะเติบโตถึง 1.39 พันล้านคน และรัฐบาลคาดว่าการบริโภคธัญหารในประเทศจะมากถึง 572.5 ล้านตันในปี 2020 ดังนั้นแม้เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวสูง ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ความมั่นคงด้านอาหารเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลให้จีนมากที่สุดในเวลานี้
 
ด้วยเหตุนี้ในต
 
ปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นตั้งใจเผยแพร่สมุดปกขาว Defense of Japan 2012 ต่อสาธารณชนทั่วโลก อยากให้มีผู้อ่านมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เปิดเผยอย่างชัดเจนว่าญี่ปุ่นถือว่าใครหรืออะไรเป็นภัยคุกคาม วิเคราะห์รายประเทศอย่างละเอียดทั้งด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ลงรายละเอียดถึงขั้นภัยคุกคามนั้นแสดงพฤติกรรมอย่างไร กี่ครั้ง ญี่ปุ่นประเมิน คาดการณ์อย่างไร พร้อมแผนเผชิญภัยคุกคามนั้น
 
สมุดปกขาว Defense of Japan 2012 เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ญี่ปุ่นมองประเทศที่มีศักยภาพเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของตน คือ เกาหลีเหนือ จีน รัสเซีย ญี่ปุ่นมองการพัฒนากำลังรบของเพื่อนบ้านอย่างหวาดระแวง ไม่เชื่อว่าเพื่อนบ้านเสริมสร้างกำลังรบเพื่อสันติ
 
ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางทะเลมาก เพราะสินค้าทั้งขาเข้าขาออกของญี่ปุ่นราวร้อยละ 99 อาศัยการขนส่งทางทะเล การดำรงอยู่ของชาติเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางทะเล จึงต้องรัก
อิทธิพลของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดต่อการเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่น นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะแต่ละปีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสร้างรายได้มหาศาลแก่ท้องถิ่น รายงานในปี ค.ศ. 2002 พบว่า ฮาร์วาร์ดสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นกว่า 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

ถามหาความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคง 5 ใน 7 ด้านของคนไทยยังไม่มั่นคงในยุคปัจจุบัน แนวคิดเรื่องความมั่นคงได้เปลี่ยนแปลงจากความมั่นคงทางทหาร เป็นความมั่นคงของมนุษย์ (Human security) ซึ่งเน้นความอยู่ดีกินดีของบุคคล โดยองค์การสหประชาชาติได้จำแนกมิติของความมั่นคงของมนุษย์ออกเป็น 7

จากอีเมล์ครั้งที่ผ่านมา ผมได้แสดงความคิดเห็นว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็น วิกฤตที่เกิดจากปัจจัยภายนอกคือราคาน้ำมันและภาวะความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก บวกกับปัจจัยภายในคือนโยบายของรัฐบาลเอง โดยนโยบายหนึ่งที่ผมมีความกังวลมาก คือการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ อย่างรีบเร่ง

รัฐสภาไทยร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสหภาพรัฐสภา (IPU) และ ศูนย์ประชาธิปไตยเพื่อกองทัพประจำกรุงเจนีวา จัดการสัมมนาระดับภูมิภาคของรัฐสภาเอเช