อนาคต

คอร์รัปชันเป็นตัวชี้วัดด้านหนึ่งของการขาดคุณธรรมในสังคมไทย จากการสำรวจสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย โดยศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ?นิด้าโพล? ซึ่งได้ถามถึงปัญหาวิกฤตทางคุณธรรมที่มีความรุนแรงในสังคมไทย ผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า ประเด็นที่วิกฤตมากที่สุด คือ ปัญหาความไม่ซื่อสัตย์สุจริต การทุจริตคอร์รัปชั่น รองลงมา คือ ปัญหาขาดความสามัคคีและความขัดแย้งในสังคม และอันดับสาม คือ ปัญหาขาดจิตสำนึกสาธารณะ ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2559 ผมได้มีโอกาสกล่าวสุนทรพจน์ (Key note Speech)เรื่อง ?ประเทศไทยกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกวันนี้? ในพิธีมอบโล่เกียรติยศแด่บุคคลดีเด่นในด้านการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศประจำปี 2559 โดยผมได้วิเคราะห์และนำเสนอแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดปี 2559 มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา การลงประชามติเพื่อออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ Brexit การก่อการร้ายในยุโรปอย่างต่อเนื่องความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ปรากฏการณ์โรดริโก ดูเตอร์เตแห่งฟิลิปปินส์ เป็นต้น
"Trumponomics" หรือแนวนโยบายเศรษฐกิจ ภายใต้การบริหารประเทศ ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นคำที่หลายท่านคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ซึ่งได้สร้างความกังวลใจอย่างมากให้กับหลายฝ่าย ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย

 

Trumponomics สะท้อนให้เห็นถึงแนวนโยบายกีดกันทางการค้า ไม่ว่าจะเป็น นโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ การถอนตัวจาก ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) การปรับปรุงข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งนโยบายลดภาษีเงินได้และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

จากคำถามที่ว่า กรุงเทพและปริมณฑลควรจะเป็นมหานครของเอเชียในมิติใด? ผมได้ใช้ ?ทฤษฎีหลักหมุด? ที่ผมคิดขึ้นเพื่อตอบคำถามดังกล่าว ทฤษฎีนี้ทำให้เราสามารถตอบคำถามโดยพิจารณาตั้งแต่หลักปรัชญาที่เป็นนามธรรม หลักคิด หลักวิชา หลักการ ไปจนถึง หลักปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างสอดคล้องกันตลอดทาง ในบทความครั้งที่ผ่านมา ผมนำเสนอไปแล้ว 3 หลักในทฤษฎีหลักหมุดของผม คือหลักปรัชญา หลักคิด หลักวิชา และในบทความตอนนี้ ผมจะนำเสนออีก 2 หลัก เพื่อตอบคำถามว่า กรุงเทพและปริมณฑลควรจะเป็นมหานครของเอเชียในมิติใด

ในการตอบคำถามนี้ ผมคิดว่าเราควรทำเข้าใจเสียก่อนว่า หากปราศจากนามธรรมและรูปธรรม(ว่าจะเป็นมหานครอะไร?) การพัฒนาจะไร้ทิศทาง เพราะนามธรรมที่ไม่มีรูปธรรม จะขาดความกระจ่างแจ้ง ไม่สามารถปฏิบัติให้เห็นได้ แต่รูปธรรมที่ไม่มีนามธรรม จะทำให้การปฏิบัติไม่ตอบโจทย์ที่แท้จริง ขาดความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ หรืออาจมีการปฏิบัติมีความขัดแย้งกันเอง

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2559 ผมได้มีโอกาสบรรยายพิเศษในการประชุมสภาปัญญาสมาพันธ์เรื่อง ?กฎ 99-1 กับความเหลื่อมล้ำ? ซึ่งมีการถ่ายทอดผ่านทาง Live Facebook ด้วย เนื่องด้วยผมเห็นว่าประเด็นความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้น และปัญหานี้จะส่งผลต่อการพัฒนาและนำมาซึ่งปัญหาในมิติอื่นๆ ทั้งเชิงสังคม เศรษฐกิจ การเมือง

กฎ 99-1 (99 -1 Rule) คือ แนวโน้มความเหลื่อมล้ำแบบรุนแรง โดยคนส่วนน้อย ซึ่งแสดงด้วยตัวเลขสัญลักษณ์ คือ ร้อยละ 1 ครอบครองหรือมีอำนาจควบคุมส่วนแบ่งความมั่งคั่งเกือบทั้งหมด ซึ่งแสดงด้วยตัวเลขสัญลักษณ์ คือ ร้อยละ 99 กฎนี้สามารถเกิดขึ้นในหลายระดับ ทั้งในระดับโลก ประเทศ สังคม อุตสาหกรรม ตลาด ทั้งนี้ภายใต้กลุ่มย่อยหรือหน่วยย่อย ร้อยละ 1 บนสุด ยังมีร้อยละ 1 ย่อยที่มีส่วนแบ่งร้อยละ 99 ซ้อนเป็นชั้นๆ เป็นรูปแบบเดียวกันนี้ด้วย

     ตลอดปี 2559 มีเหตุการณ์ความรุนแรงและการก่อการร้ายที่สร้างความเสียหายรุนแรงเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ ล่าสุดคือ การก่อการร้ายในบริเวณใกล้เคียงกับสนามกีฬาเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2559 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 29 ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บ 166 คน ซึ่งผมขอแสดงความเสียใจมา ณ ที่นี้

จากบทความตอนที่แล้ว ผมได้นำเสนอข้อเสนอแนะในการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่ประเทศไทย 4.0 ภายใต้ประเด็นหลักที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการโดยทุนวัฒนธรรมไปแล้ว ในบทความตอนนี้จะเป็นการให้ข้อเสนอแนะในมิติการสร้างนวัตกรรมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างนวัตกรรม

จากบทความตอนที่แล้ว ผมได้แสดงมุมมองต่อแนวคิดประเทศไทย 4.0 และกล่าวถึงความเกี่ยวข้องระหว่างทุนวัฒนธรรมกับการเป็นประเทศไทย 4.0 ซึ่งผมมองว่าทุนวัฒนธรรมเป็นเหมือนกิจกรรมต้นน้ำ (Upstream)ในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกับทุนวัฒนธรรม คือ กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งต้องทำหน้าที่พัฒนาทุนวัฒนธรรมและส่งมอบไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้นเพื่อสามารถนำไปสร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อไปได้ ผมมีข้อเสนอแนะในการใช้ทุนทางวัฒนธรรมโดยแบ่งเป็น 2 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการโดยทุนวัฒนธรรม และการสร้างวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างนวัตกรรม
รัฐบาลพยายามผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 หรือไทยแลนด์ 4.0 กล่าวคือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี เป็นการเน้นภาคบริการ แทนภาคอุตสาหกรรม เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ที่สร้างความมั่งคั่งผ่านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ เนื่องด้วยนโยบายนี้มีความสำคัญต่อทิศทางการพัฒนาของประเทศ ในบทความนี้ ผมจะนำเสนอมุมมองของผมในการใช้ทุนวัฒนธรรมในการขับเคลื่อนไปสู่ประเทศไทย 4.0 โดยให้ความสำคัญกับมิติทางเศรษฐกิจเป็นหลัก