ขอเสนออย่างสร้างสรรค์


แหล่งที่มาของภาพ : http://img-cdn.jg.jugem.jp/389/2679777/20141018_731587.jpg

ในปี 2010 OECD และ Wolfensohn Center for Development ของสถาบัน Brookings รายงานว่า ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา กำลังซื้อของคนอเมริกาถือได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลก แต่ความผันผวนทางเศรษฐกิจในประเทศช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้บทบาทของสหรัฐอเมริกาในเศรษฐกิจโลกลดลง ในทางตรงกันข้าม การเติบโตของชนชั้นกลางในเอเชียตลอดช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ชนชั้นกลางกลายเป็นพลังเศรษฐกิจใหม่ของโลก จนมีการคาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า ชนชั้นกลางเหล่านี้จะกลายเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในอนาคตแทนสหรัฐอเมริกา คำถามที่น่าสนใจคือ ผลกระทบและอิทธิพลทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากการขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลางนี้จะเป็นอย่างไร? นัยยะต่อประเทศไทยมีอะไรบ้าง? และไทยควรเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างไร?

"คนทำงานเก่ง แต่นำเสนอไม่เก่ง = ไม่เก่ง
คนทำงานไม่เก่ง แต่นำเสนอเก่ง = เก่ง"

คำกล่าวเหน็บแนมที่หลายคนคงยอมรับว่า เป็นความจริง "ในแวดวงการทำงาน คนส่วนใหญ่มักจะตัดสินคนจากภายนอก" ถ้าพูดเก่ง นำเสนอตนเอง นำเสนองานเก่ง ก็มักจะได้รับการประเมินว่า เก่ง ทั้ง ๆ ที่อาจจะทำงานไม่เก่ง ทำงานไม่เป็น ขาดความรับผิดชอบ ขณะที่คนทำงานได้ดีกว่า มีความรับผิดชอบมากกว่า แต่กลับพูดไม่เป็น นำเสนอไม่เก่ง มักจะถูกประเมินว่า ไม่เก่ง ?

Source : http://www.konnectafrica.net/wp-content/uploads/2013/05/e-business-1.jpg

amthaipaper 
amthaiEconomics
 
In the previous article, in the first section I have presented the Thai economic trends after the NCPO, including the growth of the economy along the borders, the lack of skilled labor, and an increasing labor wage. In this article, I will be presenting further Thai economic trends after the NCPO era as the following issues.
 
The forth trend: ?An expansion of E-Business?

ไม่มียุคใดที่คนในสังคมไทยทุกภาคส่วนจะตื่นตัว แสดงความรู้สึกไม่พอใจ และลุกขึ้นมาต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังมากเท่ายุคนี้  จนกล่าวกันว่านี่เป็นสัญญาณที่ดี หากช่วยกันจริงเรามีความหวังว่า ประเทศไทยจะโปร่งใส ไร้การทุจริตคอร์รัปชั่นในแวดวงต่าง ๆ ได้ในอนาคตอันใกล้นี้
“ถ้าละครไทยไม่มี ‘ตัวอิจฉา’ จะเป็นอย่างไร?”...จากคำถามนี้ หลายคนคงตอบว่า ละครคงไม่สนุก ความรักของพระเอกนางเอกคงจะราบเรียบเกินไป ไม่มีใครมาแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น ลอบทำร้าย และคงไม่ได้สะท้อนภาพ ‘นางเอก’ ซึ่งเป็นตัวแทนของ ‘คนดี’ ชนะ ‘ตัวอิจฉา’ ซึ่งเป็นตัวแทนของ ‘คนไม่ดี’ หรือ ธรรมะย่อมชนะอธรรม ในตอนจบให้เรียนรู้กัน
ตัวอิจฉาในละคร คือ ตัวแสดงที่รับบทบาทเป็นผู้มีนิสัยที่เห็นคนอื่นได้ดีแล้วทนดูอยู่ไม่ได้ เป็นตัวแทน ‘ด้านมืด’ ของมนุษย์ ซึ่งในโลกความเป็นจริง เราทุกคนอาจสวมบท ‘ตัวอิจฉา’ ได้อย่างอัตโนมัติ และสามารถ ‘ตีบทแตก’ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อไม่พอใจที่เห็นคนอื่น ‘ได้ดี’ กว่าในเรื่องที่ตนอยากจะมี อยากจะเป็น อยากจะได้.. 
ความรู้สึกอิจฉาเกิดขึ้นตามสัญชาตญาณ โดยไม่ต้องมีใครสอน คนที่ปล่อยให้อีโก้เข้าควบคุมจะถูกความอิจฉาริษยาเข้าครอบงำได้ง่าย เพราะมักเอาจุดอ่อนของตัวเอง ไปเทียบกับจุดแข็งของคนอื่น จึงเกิดความรู้สึกไม่พอใจ 


ความหยิ่งบั่นทอนเส้นทางความสำเร็จ แต่ความถ่อมใจช่วยรักษามันไว้...
คนหยิ่งนั้น มักจะคิดว่า ?ฉันรู้หมดแล้ว?  ?ฉันมั่นใจว่าคิดถูก? ?ฉันไม่เคยพลาดเลย? จึงไม่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่รับฟังคำแนะนำตักเตือน ดึงดันยึดมั่นถือมั่นความคิดตน...ในที่สุดก็ล้มเหลว
มาร์คัม และ สมิธ (Marcum & Smith) ผู้เขียนหนังสือ Economics สำรวจพบว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของธุรกิจที่ตัดสินใจผิดพลาด เกิดจากการขับเคลื่อนด้วยอีโก้ บริษัทที่เคยมีชื่อเสียง กลับล้มเหลวลงอย่างรวดเร็ว เพราะความหยิ่งยโสของผู้บริหาร ที่เชื่อมั่นตนเองเกินไป ไม่ฟังคำแนะนำ ลำพองในอำนาจและความสามารถของตน 

อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) นักปรัชญาที่มีชื่อเสียง กล่าวถึงอีโก้ไว้ว่า
อีโก้ คือ ‘ตัวตนเล็ก ๆ ของเราที่มีค่าสูง'
อีโก้ คือ อัตตา หรือ ตัวตน ที่ตัวเองคิดว่า เราเป็นใคร อาจหมายถึง ตัวเราที่เป็นจริง หรือ เป็นเพียงการรับรู้ตนเอง หรือคิดว่าตัวเองเป็นอย่างไร 
อีโก้ของเราแต่ละคน เป็นส่วนผสมผสาน ระหว่าง ความรู้สึกนึกคิด (mind) ร่างกาย (body) และจิตวิญญาณ (soul) ทำให้เราตระหนักรู้ว่า ตัวเรามีอยู่ เราเป็นใคร ต้องการอะไร และควรตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างไร 
อีโก้มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและการกระทำของเรามากน้อยต่างกัน เพราะส่วนผสมสามส่วนนี้ 
  1. ความรู้สึกนึกคิด (mind) เป็นการใช้สติปัญญา การใช้เหตุผล และอารมณ์ ในการประเมินและตัดสินใจ 
  2. ร่างกาย (body) เป็นการตอบสนองตามสัญชาตญาณ มีความปรารถนา ความต้องการ ความอยาก - อยากมี อยากเป็น อยากได้ เพื่อเติมเต็มความพึงพอใจของร่างกายและจิตใจ 
  3. จิตวิญญาณ (soul) เป็นเรื่


แหล่งที่มาของภาพ : http://mpics.manager.co.th/pics/Images/557000004088701.JPEG

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน