ขอเสนออย่างสร้างสรรค์

เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมในฐานะประธาน ?สภาปัญญาสมาพันธ์? ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวสภาปัญญาสมาพันธ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ผมและเพื่อนนักวิชาการชั้นนำของประเทศได้รวมตัวกัน เพื่อให้เป็นศูนย์รวมของผู้ทรงคุณวุฒิในหลากหลายแขนงวิชาที่มาร่วมกันศึกษา ค้นคว้า วิจัย ในเรื่องหรือประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่ออนาคตของประเทศ เพื่อช่วยนำเสนอแนวคิดและกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศอย่างมียุทธศาสตร์ที่คมชัด และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายของประเทศอย่างแท้จริง

หลังจากที่ผมได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยซึ่งเป็นผลจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มาแล้ว 5 ประเด็น พบว่า ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมและพัฒนาประเทศด้วยมุมมองและในทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้โดดเด่นท่ามกลางนานาประเทศ ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างความไว้วางใจระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกัน รวมถึงมียุทธศาสตร์ในการวางตัวอย่างเหมาะสมกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ เพื่อมีช่องทางและโอกาสในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศอย่างสอดคล้องกับทิศทางของโลก

การเปิด AEC หนึ่งในสามเสาหลักประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการใกล้เข้ามาแล้ว เหลือระยะเวลาเพียงไม่ถึง 1 เดือนเท่านั้น ผมเป็นคนหนึ่งที่ตั้งตารอคอย เพราะต้องการเห็นจุดเริ่มต้นสิ่งใหม่เกิดขึ้นกับประเทศไทย บทความตอนนี้ ยังคงเป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาประเทศไทย โดยผมได้วิเคราะห์ไว้ว่า AEC จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยในหลายด้าน และในครั้งนี้ ผมจะนำเสนออีก 2 ประเด็น ดังนี้ 

บทความตอนที่ผ่านมา ผมได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ว่า จะทำให้การพัฒนาประเทศของไทยเปลี่ยนแปลงไปใน 2 ประเด็น คือ (1) การเปลี่ยนแปลงขอบเขตของการพัฒนา ภาคส่วนต่าง ๆ จึงควรปรับมุมมองในการดำเนินงานให้มีขอบเขตกว้างมากขึ้น จากมุมมองภายในขอบเขตประเทศสู่มุมมองระหว่างประเทศ และ (2) การเปลี่ยนแปลงทิศทางการพึ่งพาต่างประเทศ จากการพึ่งพาตะวันตกสู่การพึ่งพาตะวันออกมากขึ้น (from West to East) และจากการพึ่งพาประเทศพัฒนาแล้ว สู่การพึ่งพาเศรษฐกิจเกิดใหม่มากขึ้น (from North to South) 

    การทำงานเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์ทุกคน เมื่อเราเติบโตพ้นวัยเด็ก เราจะเข้าสู่ ?วัยทำงาน? ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เราต้องอยู่ยาวนานที่สุดในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง หากพิจารณาจากนิยามคนวัยทำงาน ซึ่งกำหนดไว้ว่า มีอายุ 15-59 ปี หรือใช้เวลา 44 ปี ของชีวิตในการทำงาน สมมติแต่ละคนใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงาน วันละ 8-9 ชั่วโมง ตลอดอายุจะใช้เวลาทำงาน เฉลี่ยประมาณ 53,000 ชั่วโมง ... เท่ากับว่า เราใช้เวลามากกว่าครึ่งชีวิต ในการทำงาน (หากเราเสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี)!!
    การทำงานกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ที่ไม่สามารถปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงได้ 

เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 เดือน อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างเป็นทางการ การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของการพัฒนา ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประเด็นที่น่าสนใจ คือ AEC จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศของไทยในอนาคตอย่างไร?

เมื่อวันที่ 8-10 ตุลาคมที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปเมืองวลาดิวอสตอค (Vladivostok) ประเทศรัสเซีย เพื่อเข้าร่วมงาน 2 งานคือ?Young Russia-Young ASEAN: Expanding Regional Connections, The 3rd Russia-ASEAN Youth Summit? และใน Russia-ASEAN Expert Forum ซึ่งผมได้รับเกียรติในการเป็นทั้งวิทยากรบรรยาย อาจารย์สอนนักศึกษา และตัวแทนผู้เชี่ยวชาญอาวุโสจากประเทศไทย เพื่อถกแถลงประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น การสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียน-รัสเซีย ภาวะเศรษฐกิจไทยปัจจุบันและความร่วมมือรัสเซีย-ไทย เป็นต้น

ผู้นำไม่ต้องลงไปทำเองทั้งหมด แต่ต้องรู้ว่าทั้งหมดเป็นอย่างไร ....
     ความแตกต่างระหว่างผู้นำที่ เก่ง กับ ไม่เก่ง มักจะวัดกันตรงที่ความสามารถในการหลบหลีกและรับมือกับปัญหา  ผู้นำที่เก่งจะแก้ปัญหาได้ตรงจุดเพราะวิเคราะห์สาเหตุได้แม่นยำ คาดการณ์อนาคตและวางแผนรับมือได้ทัน
 
"เด็ก ๆ กับนิสัยช่างโกหก  มักเป็นสิ่งที่มาควบคู่กันเสมอ คงเป็นเรื่องแปลกและหายากในการที่จะเสาะหาเด็กสักคนหนึ่งหรือคน ๆ หนึ่งซึ่งไม่เคยพูดโกหกเลยมาตลอดทั้งชีวิต  อย่างไรก็ตาม การโกหกของลูกนั้นหาใช่อุปนิสัยที่พ่อแม่ควรเพิกเฉยแต่อย่างใด ตรงกันข้าม ควรหาทางจัดการอย่างเด็ดขาดในทางที่ถูกต้องเหมาะสม 

 

เมื่อเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา (2557) หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ส ได้ลงบทสัมภาษณ์ การ์โลส สลิม เอลู (Carlos Slim Hel? Aglamaz) เจ้าพ่อแห่งแวดวงสื่อสารโทรคมนาคม ชาวเม็กซิกัน วัย 74 ปี เจ้าของตำแหน่งบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในปัจจุบัน ออกมาเรียกร้องให้ทุกประเทศในโลก ควรกำหนดวันทำงานไว้เพียง 3 วันต่อสัปดาห์ โดยทำงานวันละ 11 ชั่วโมง เพื่อเปิดโอกาสให้กับตนเองได้พักผ่อนและมีเวลาให้กับกิจกรรมอื่นๆ ที่ตนสนใจ รวมถึงมีเวลาให้กับครอบครัวเพิ่มขึ้นเขาคิดว่า แทนที่จะการปล่อยให้งานขโมยชีวิต หรือพรากทุกอย่างไปจากชีวิต การทำงานเพียง 3 วันและหยุดพักผ่อนอีก 4 วันต่อสัปดาห์ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นผลดีต่อสุขภาพและความคิดสร้างสรรค์ของเรามากกว่า  เขาได้เริ่มนำวิธีการดังกล่าวเข้ามาใช้กับพนักงานของบริษัท และไม่ได้ส่งผลกระทบ ต่อรายได้ของบริษัทแต่อย่างใด