การเมือง

จากการตอบข้อซักถามของ พล..สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ถึงการแต่งตั้งทหารเข้ามาเป็นบอร์ดของรัฐวิสาหกิจจำนวนมากว่า การให้ทหารเข้าไปเป็นบอร์ด ไม่ได้เป็นการให้รางวัลหรือเป็นการตอบแทน แต่พิจารณาจากคุณสมบัติที่เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ

เมื่อเอ่ยถึง "การเมือง" หลายคนแสดงออกถึงอาการเบื่อหน่าย ไม่น่าสนใจ ไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยว เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัวและมีทัศนคติมุมมองในเชิงลบต่อการเมืองไทยที่เต็มไปด้วยการทุจริตโกงกิน การกอบโกยผลประโยชน์ การแย่งชิงอำนาจและตำแหน่ง การซื้อเสียง การเล่นพรรคเล่นพวก การใช้อำนาจโดยมิชอบ ฯลฯ มุมมองดังกล่าวจึงส่งผลให้คนจำนวนมากขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองไปอย่างน่าเสียดาย ดังเห็นได้จากสถิติของจำนวนผู้ที่ออกมาลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นมีเปอร์เซ็นต์ของการนอนหลับทับสิทธิ์ที่สูงมากมาโดยตลอด
ถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ของการเมืองไทย เมื่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ใช้เวลาอ่านคำวินิจฉัยนับ 10 ชั่วโมง ที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคการเมือง 5 พรรคได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นคดีที่พรรคไทยรักไทยถูกกล่าวหาว่าจ้างพรรคเล็กลงสมัครเพื่อหลีกเลี่ยงกฎ 20 % หากเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครเพียงพรรคเดียว ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ถูกตั้งข้อหาใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยและขัดขวางการเลือกตั้ง

กรอบการพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญในเรื่องที่ว่าด้วยสถาบันทางการเมืองที่ยังไม่เป็นข้อยุติในหลายส่วน ทั้งเรื่องการให้มีหรือไม่มี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เกณฑ์สัดส่วน ส.ส.ต่อประชากร และการกำหนดให้มี ส.ส.แบบแบ่งเขตที่มาจากเขตพื้นที่ใหญ่ มีจำนวน 3 คนต่อเขต ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนได้ 3 เสียง หรือระบบเลือกตั้งแบบเดิมที่กำหนดให้มี ส.ส.แบบเขตเดียวเบอร์เดียว เพื่อนำไปสู่การได้มาซึ่งตัวแทนที่สะท้อนเสียงประชาชนมากที่สุด