กฎหมายเศรษฐกิจ : รัฐควรแก้ไขอย่างรอบคอบและครบถ้วน

การแก้ไขกฎหมาย จะส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างมาก รัฐบาลควรทำด้วยความรอบคอบและควรทำด้วยความครบถ้วน ทั้งระบบ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในภาพรวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม มีการรวมตัวกันของนักกฎหมายทั่วประเทศ ในการประชุมนิติศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 5 ซึ่งหัวข้อในการประชุมครั้งนี้ คือเรื่องการพัฒนากฎหมายลมีแผนที่จะเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศและการพาณิชย์ ซึ่งสาเหตุที่หัวข้อนี้ได้รับการหยิบยกขึ้นมา เนื่องจาก รัฐบาปฏิรูปกฎหมายถึง 377 ฉบับ ซึ่งรัฐบาลเห็นว่าอาจขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือเป็นกฎหมายเก่าที่จำเป็นต้องแก้ไข โดยมีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล เพื่อลดภาระของประชาชน และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ผมเห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาลในการแก้ไขกฎหมาย หากแต่รัฐบาลควรรับฟังความเห็นของประชาชน และดำเนินการด้วยความรอบคอบ และทำอย่างครบถ้วน ซึ่งจากการที่ผมได้สำรวจกฎหมายทั้ง 377 ฉบับที่รัฐบาลตั้งใจจะแก้ไขและได้เสนอเพิ่มเติมมานั้น ผมเห็นว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในกฎหมาย 377 ฉบับ
นั้นและเป็นประเด็นที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ แต่เป็นเรื่องที่รัฐบาลควรทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน เช่น

กฎหมายเกี่ยวกับการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) เพื่อป้องกันและรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำ FTA เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลให้ความสำคัญกับการทำ FTA มาก และมีแนวโน้มที่จะทำ FTA มากขึ้น ซึ่งผมไม่เห็นด้วยกับวิธีการของรัฐบาล ที่ไม่มีการนำข้อตกลวง FTA เข้าพิจารณาในรัฐสภาก่อน ทำให้ขาดศึกษาให้รอบคอบ ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รวมทั้งไม่มีมาตรการรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทำ FTA ดังนั้นจึงควรมีกฎหมายมารองรับในเรื่องดังกล่าวด้วย

กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจบริการเงินด่วน
เนื่องจาก ปัจจุบันธุรกิจบริการเงินด่วนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบัตรเครดิตที่ออกโดยองค์กรที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) ซึ่งยังไม่มีหน่วยงานที่กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ทำให้บางแห่งเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นจึงควรออกกฎหมายดังกล่าวเพื่อช่วยให้ประชาชนให้ได้รับบริการที่เป็นธรรม และเพื่อป้องกันวิกฤตหนี้ภาคครัวเรือนที่อาจเกิดขึ้น

กฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลาง
เนื่องจาก กฎหมายเดิมบางส่วนไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และมาตรการของรัฐไม่จูงใจให้แรงงานนอกระบบหรือผู้ที่มีรายได้น้อยออมเงิน ดังนั้นรัฐควรมีมาตรการบังคับออมหรือกฎหมายที่จูงใจ เพื่อสร้างหลักประกันด้านเงินออมให้กับประชาชนในการเข้าสู่วัยชรา ทำให้ไม่เป็นภาระต่อสังคมและช่วยลดภาระต่องบประมาณในการสงเคราะห์คนชรา รวมทั้งเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงของระบบการเงินของประเทศ ช่วยกระจายเงินออมจากระบบธนาคารไปสู่แหล่งอื่น ๆ มากขึ้น

...จัดตั้งศาลคุ้มครองผู้บริโภค
เพื่อช่วยรองรับคดีความด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่ในอนาคตข้างหน้าจะมีจำนวนมากขึ้น ประกอบกับการที่ศาลยุติธรรมมีความจำกัดหลายด้านในการพิจารณาคดีที่เฉพาะทางในเรื่องนี้ ทำให้ใช้เวลาในการพิจารณาคดียาวนาน อาจจะยังมีอีกหลายเรื่องที่รัฐควรทำ และเราในฐานะประชาชนควรมีส่วนร่วมและเรียกร้องให้เกิดขึ้นด้วย

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2005-07-29