?ผู้ว่า สตง.? ปัญหางูกินหางของการไม่รับผิดชอบถึงที่สุด

ปัญหางูกินหางกรณีผู้ว่า สตง. เป็นเพราะองค์กรที่เกี่ยวข้องไม่รับผิดชอบบทบาทหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุด

ผมเห็นว่าปัญหาที่จบไม่ลงในกรณีการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (
สตง.)นั้นต้นเหตุสำคัญอาจมาจากการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นไม่ทำบทบาทหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุดตั้งแต่แรกเริ่มจึงส่งให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาเป็นลูกโซ่และทำให้ผู้รับผิดชอบในขั้นสูงขึ้นไปต้องพลอยรับร่างแหและความเดือนร้อนตามมาอย่างไม่มีจบสิ้น ไม่ว่าจะเป็น

กระบวนการสรรหาผู้ว่า สตง. ของ คตง. ที่ไม่ได้พิจารณาอย่างมีจุดยืนว่าจะยึดตามระเบียบของ คตง. ที่ให้มีการเสนอรายชื่อมาเพียงคนเดียวให้วุฒิสภาเลือก หรือจะยึดตาม พ.ร.บ. การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ตามมาตรา 30 ที่ให้เสนอเป็นบัญชีรายชื่อเพื่อให้วุฒิสภาดำเนินการเลือกในขั้นต่อไป ส่งผลให้เกิดเป็นชนวนความขัดแย้งสำคัญว่าแท้จริงแล้วคุณหญิงจารุวรรณได้รับการสรรหามาอย่างถูกต้องหรือไม่ ตามกฎระเบียบในข้อใด

นอกจากนี้การที่ สตง. ตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไม่พิจารณาให้ดีและรอบคอบเพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเชื่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าวที่ว่า คุณหญิง จารุวรรณ เมณฑกาได้รับการสรรหามาเป็นผู้ว่า สตง. ในกระบวนการของวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังนั้นที่ผ่านมาจึงเสมือนหนึ่งไม่เคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวเลย ทั้ง ๆ ที่โดยอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถวินิจฉัยในลักษณะเช่นนี้ได้

วุฒิสภาไม่ได้ทำหน้าที่ในการการกลั่นกรองอย่างดีเพียงพอ ขาดจุดยืนในการตัดสินใจตั้งแต่แรกเริ่มในการเลือกผู้ว่า สตง. โดยมีการเปลี่ยนมติไปมาตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่ได้พิจารณาตีความข้อกฏหมายต่าง ๆ อย่างละเอียดรอบคอบก่อนนำรายชื่อทูลเกล้าถวายในหลวงในการลงพระปรมาภิไท
ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการวินิจฉัยเกินกว่าขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ตนพึงกระทำได้ ส่งผลให้ผลการวินิจฉัยดังกล่าวได้ถูก คตง.นำไปกล่าวอ้างในการปลดตำแหน่งผู้ว่า สตง. คนเก่า และดำเนินการคัดสรรผู้ว่า สตง. คนใหม่ ด้วยเข้าใจไปว่าผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นการชี้ขาดแล้ว

นอกจากนี้องค์กรที่เกี่ยวข้องดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่ขาดความเป็นเอกภาพกันอย่างชัดเจนทั้งความขัดแย้งกันเองภายในองค์กรและระหว่างองค์กรที่ต่างฝ่ายต่างบอกปัดที่จะรับผิดชอบในเรื่องนี้โดยโยนลูกให้แก่กันเป็นทอด ๆ เป็นงูกินหาง ตั้งแต่ ldquo;
วุฒิสภาrdquo; ที่กล่าวว่าว่าบทบาทหน้าที่ของตนได้จบลงไปแล้วหลังจากที่นายวิสุทธิ์ได้ลาออกไป หน้าที่ต่อไปจึงตกอยู่กับ ldquo;คตงrdquo; ต่างหาก เช่นเดียวกับ คตง. ที่ได้โยนลูกต่อให้ ldquo;สตงrdquo; นำกลับไปพิจารณาถึงประเด็นถกเถียงที่เป็นปัญหาทั้งหมดอีกครั้งภายในระยะเวลา 10 วัน ฯลฯ

การทำงานอย่างไม่รอบคอบ ขาดความเป็นเอกภาพ และไม่รับผิดชอบอย่างถึงที่สุดนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้ประเทศชาติต้องได้รับความเสียหายจากภาวะสุญญากาศในตำแหน่งเท่านั้น แต่เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงการที่ต่างฝ่ายต่างไม่ได้ทำบทบาทหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุดจริงก่อนที่จะถวายงานขึ้นไปสู่สถาบันสูงสุดซึ่งได้ไว้วางใจมอบพระราชอำนาจของพระองค์ให้เราดูแลด้วยปรารถนาให้ผู้ที่รับพระราชอำนาจนั้นทำงานอย่างเต็มที่ด้วยหัวใจที่รักและห่วงใยประเทศชาติอย่างแท้จริง

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2005-10-14