ดับไฟใต้?ระวังปลุกการกระแสชาตินิยม

จากการตอบข้อซักถามนักข่าวของนายกรัฐมนตรีในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เมื่อนักข่าวได้ยก ประเด็นนาวิกโยธิน 2 นายถูกฆ่าตาย นายกฯ ได้กล่าวคำยืนยันว่า ldquo;ทหารต้องไม่ตายฟรีrdquo; และจากรายการนายกฯทักษิณพบประชาชน ได้กล่าวประณามคนร้ายว่า ldquo;คนพวกนี้เหมือนสัตว์เดรัจฉานrdquo;

แน่นอนที่สุดที่คนไทยทั้งประเทศ รวมทั้งผมด้วย มีความสะเทือนใจอย่างมากต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนาวิกโยธินทั้งสอง และผมคิดว่าการกล่าวเจตนารมณ์ของนายกฯ ได้แสดงความรับผิดชอบต่อกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกสังหาร และเป็นหลักการที่ถูกต้องในการจะนำคนผิดมาลงโทษตามวิถีทางกฎหมาย แต่เมื่อเราตั้งข้อสังเกตในกรณีที่ชาวบ้านในพื้นที่ถูกลอบยิงในร้านน้ำชาก่อนหน้านั้นไม่กี่ชั่วโมง นายกฯกลับไม่กล่าวแสดงความรับผิดชอบอย่างชัดเจนว่า จะหาคนผิดมาลงโทษเหมือนในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฆ่า

การใช้คำพูดที่แข็งกร้าวแต่ขาดความสมดุล อาจทำให้ประชาชนในประเทศเกิดความรู้สึกเกลียดชังต่อคนในพื้นที่เพิ่มขึ้น การกล่าวคำพูดในลักษณะนี้จะเป็นการปลุกกระแสชาตินิยม ซึ่งอาจทำให้ประชาชนในประเทศรู้สึกเกลียดชังประชาชนในพื้นที่โดยไม่ตั้งใจหรือไม่ รวมทั้งทำให้ประชาชนใน
3 จังหวัดเกิดความหวาดระแวงและไม่ไว้วางใจรัฐมากขึ้นหรือไม่

ผมตั้งข้อสังเกตว่า การกำหนดนโยบาย การให้สัมภาษณ์ หรือการแสดงความคิดเห็นของคนในฝ่ายรัฐบาลหลายต่อหลายครั้ง อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และประชาชนในพื้นที่อื่น เช่น การแบ่งโซนสีในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ การปิดโรงเรียนสอนศาสนา การทำโครงการนำร่องใช้บัตรประชาชนเอนกประสงค์ใน 3 จังหวัดภาคใต้ก่อนภาคอื่น หรือแม้แต่การออก พ...การบริหารราชการแผ่นดินในภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น มาตรการเหล่านี้อาจทำให้พี่น้องใน 3 จังหวัดภาคใต้เกิดข้อกังขาว่ารัฐบาลมองคนใต้แปลกแยกจากคนในพื้นที่อื่น

ผมเห็นว่าในสถานการณ์ที่เปราะบางเช่นนี้ รัฐบาลต้องให้ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบาย และการให้ข้อมูลหรือให้สัมภาษณ์แก่สื่อสารมวลชนและประชาชนในประเทศ รัฐบาลควรจัดระบบกลั่นกรองนโยบายและการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
3
จังหวัดภาคใต้เสียใหม่ เพื่อให้ข้อมูลถูกเผยแพร่ออกไปอย่างรัดกุมและสมดุลมากที่สุด

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2005-10-01