ความ(ไม่)เสี่ยงของการปรับค่าเอฟที

การปรับสูตรคำนวณเอฟที (Ft) ไม่ทำให้ กฟผ. แบกรับความเสี่ยงอย่างแท้จริง เพราะมีกลไกปกป้องผลประโยชน์ของตน แต่ประชาชนต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้น เพราะกลไกคืนกำไรผู้บริโภคได้ถูกทำลายแล้ว

ผมเห็นว่า การปรับสูตรคำนวณค่าเอฟทีในครั้งนี้สำคัญกว่าครั้งใด ๆ เพราะมีผลต่อความชอบธรรมของการแปรรูป กฟผ. และมีผลต่อค่าไฟฟ้าในระยะยาว ประชาชนจึงควรได้รับความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

สูตรคำนวณค่าไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย
2 องค์ประกอบ
หลัก คือ ค่าไฟฟ้าฐาน คำนวณจากค่าใช้จ่ายลงทุนก่อสร้างระบบการไฟฟ้า ภายใต้สมมติฐานความต้องการใช้ไฟฟ้า ราคาเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ และการปรับปรุงประสิทธิภาพของกิจการไฟฟ้า และค่าเอฟที เป็นส่วนของค่าไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยคำนวณจากปัจจัย 4 ประการหลัก ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงของค่าเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ โดยทั้ง 4 ตัวเทียบกับตัวเลขประมาณการในปี 2543

สูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของปัจจัยต่าง ๆ และควบคุมค่าไฟฟ้า ไม่ให้ผู้บริโภคต้องรับภาระมากเกินไป เป็นกลไกคืนกำไรแก่ผู้บริโภค กรณีที่ กฟผ. มีกำไรสูงกว่าที่ควรจะเป็น

แต่ตั้งแต่วันที่
1 .. 48 สูตรคำนวณค่าเอฟทีจะเหลือเพียงการเปลี่ยนแปลงค่าเชื้อเพลิงเทียบกับค่าเชื้อเพลิงเฉลี่ยของเดือน มิ..-.. 2548 รวมกับค่าเอฟทีปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่ 0.4683 บาทต่อหน่วย สูตรใหม่นี้ ทำให้ กฟผ. ต้องจัดการความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ และการที่รายได้ต่ำกว่าแผน ในขณะเดียวกัน ได้ทำให้กลไกการคืนกำไรกลับสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าหายไปด้วย

เมื่อพิจารณาอย่างเป็นกลางจะพบว่า กฟผ. น่าจะได้รับผลกำไรมากขึ้น เนื่องจาก

1.
การปรับสูตรค่าไฟฟ้าเกิดขึ้นในภาวะที่อัตราเงินเฟ้อค่อนข้างสูง ทำให้เมื่อค่าเงินเฟ้อลด กฟผ.จะ มีค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่ำกว่าประมาณการ และมีกำไรมากขึ้น แต่กำไรในส่วนดังกล่าวจะไม่ได้คืนมาสู่ผู้ใช้ไฟฟ้า

2.
การให้อำนาจผูกขาดแก่ กฟผ. ทำให้สามารถมีกำไรได้มากขึ้นในอนาคต
โดยหลังจากการ กระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ กฟผ. ยังเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ และได้รับการคุ้มครองจากเงื่อนไขการได้รับสัมปทาน 50 % ของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ซึ่ง กฟผ. จะผูกขาดความเป็นรายใหญ่ต่อไปได้อีกนาน

3.
การที่คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีอำนาจในการปรับสูตรคำนวณค่าเอฟที
นั้น ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจถึง 2 ใน 3 เป็นเครื่องยืนยันว่า รัฐบาลจะแทรกแซงเพื่อให้ กฟผ. มีกำไรอย่างแน่นอน เพราะหากเกิดสถานการณ์ที่ กฟผ.ต้องขาดทุน การเปลี่ยนแปลงสูตรการคำนวณค่าเอฟทีจะเกิดขึ้นอีก เพื่อปกป้องกำไรของ กฟผ
.

แม้การเปลี่ยนแปลงสูตรคำนวณค่าเอฟที มีเหตุผลเพื่อให้ กฟผ
. รับความเสี่ยงด้านต้นทุนมากขึ้น แต่รัฐบาลได้สร้างเงื่อนไขในการรักษาการผูกขาดไว้กับ กฟผ. และการกำหนดสูตรคำนวณค่าไฟฟ้าไว้กับตนเองแล้ว ผู้ที่จะต้องรับความเสี่ยงมากขึ้น คือ ประชาชน เพราะกลไกคืนกำไรของกิจการไฟฟ้าสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้ถูกทำลายลงแล้ว

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2005-09-20