พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

เมื่อวันที่ 20 เม..ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้อภิปรายเกี่ยวกับร่าง พ... งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม พ..2548 โดยชี้ให้เห็นว่า งบประมาณนี้ได้ซ่อนเร้น ความไม่ชอบมาพากลหลายประการ อาทิ การหางบอย่างมีพิรุธ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลจงใจหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบ โดยรัฐบาลคาดการณ์รายรับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อให้สามารถนำรายรับในส่วนที่เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้มาใช้เป็นงบเพิ่มเติมกลางปีได้ตามต้องการ สังเกตได้จากรัฐบาลประมาณการรายรับในปีงบประมาณ 2548 ไว้เพียงร้อยละ 16.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ทั้ง ๆ ที่ รายรับของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2547 อยู่ที่ร้อยละ 18 ของ GDP รัฐบาลประมาณการว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น หรือ Nominal GDP ซึ่งยังไม่หักอัตราเงินเฟ้อ ในปี 2548 จะขยายตัวร้อยละ 10 ต่อปี แต่กลับประมาณการว่ารายรับจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.1 ต่อปี ทั้ง ๆ ที่ ปี 2547 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น ขยายตัวร้อยละ 9.2 รายรับขยายตัวถึงร้อยละ 16.4

หากประมาณการรายรับอย่างสมเหตุสมผล โดยสมมติให้รายรับอยู่ที่ร้อยละ 18 ของ GDP เท่ากับปี 2547 ประมาณการ GDP ปี 2548 ที่ 7.13 ล้านล้านบาท ประมาณการรายรับที่ควรจะเป็นคือ 1.283 ล้านล้านบาท หรือสูงกว่ารายรับที่รัฐบาลประมาณไว้ 1.2 ล้านล้านบาท ถึง 8.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับความคาดหวังเดิมของท่านนายกฯที่จะมีงบเพิ่มเติมกลางปี ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท

การใช้งบผิดวัตถุประสงค์ เนื่องจากไม่ได้ใช้ในเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนอย่างแท้จริง ทั้ง ๆ ที่หลักการของการจัดทำงบเพิ่มเติมกลางปี ควรเป็นไปเพื่อ ldquo;แก้ไขปัญหา เร่งด่วน หรือกรณีฉุกเฉินrdquo; แต่งบนี้กลับมีค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการระยะยาว มิได้เร่งด่วนและฉุกเฉิน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนหรือ SML 9,400 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 15,000 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจน 4,000 ล้านบาท ซึ่งหากโครงการเหล่านี้จำเป็นเร่งด่วนจริง รัฐบาลย่อมสามารถจัดทำงบประมาณประจำปี 2548 ให้เพียงพอได้

ทางที่ถูกต้อง รัฐบาลควรจัดลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง และใช้งบประมาณเพิ่มเติม สำหรับสิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนจริง ๆ เช่น มาตรการรองรับและชดเชยผู้ได้ผลกระทบจากการเปิดเสรี FTA การชดใช้หนี้ของกองทุนน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดขึ้น

การใช้งบอย่างคลุมเครือ โครงการต่าง ๆ กำหนดแนวทางการใช้งบประมาณอย่างคลุมเครือทำให้ไม่สามารถติดตามและตรวจสอบการใช้งบได้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านหรือชุมชน ไม่ได้ระบุว่าจะนำเงินเพื่อพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนอย่างไร ไม่ระบุหลักเกณฑ์ในเลือกหมู่บ้าน หลักเกณฑ์ในการใช้จ่ายเงิน เป็นต้น

พฤติกรรมการใช้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ไม่สมเหตุสมผลเช่นนี้ น่าจะมีแรงจูงใจอื่น ซึ่งหนีไม่พ้นแรงจูงใจทางการเมือง เพราะโครงการที่รัฐบาลนำมาดำเนินการด้วยงบเพิ่มเติม เป็นโครงการประชานิยมที่ได้หาเสียงไว้ ในช่วงการเป็นรัฐบาลชุดที่ผ่านมา เป็นความตั้งใจที่รัฐบาลพยายามจัดงบประมาณเพื่อไม่ให้มีการตรวจสอบ โดยใช้ช่องว่างทางกฎหมายจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
0000-00-00