ถวายความจงรักภักดี ด้วยการมอบไมตรีจิตต่อกัน

ความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่ทุกคนทุกฝ่ายแสดงให้เห็นทำให้ข้าพเจ้าระลึกถึงคุณธรรมข้อหนึ่งที่อุปถัมภ์และผูกพันให้คนไทยรวมเป็นเอกภาพ สามารถธำรงชาติบ้านเมืองให้มั่นคงเป็นอิสระยั่งยืนมาช้านาน คุณธรรมข้อนั้นก็คือ ไมตรี ความมีเมตตา หวังดีให้กันและกัน ผู้ที่มีไมตรีต่อกัน จะคิดอะไรก็คิดแต่ในทางสร้างสรรค์มีคุณประโยชน์ร่วมมือกัน จะพูดอะไรก็ใช้เหตุผลเจรจากัน คือ ความเข้าอกเข้าใจกัน จะทำอะไรก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน

ข้าพเจ้าจึงขอให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณาทบทวนให้ทราบและตระหนักแก่ใจอีกครั้งหนึ่งว่า ในกาย ในใจของคนไทยเรายังมีคุณธรรมข้อนี้อยู่หนักแน่นพร้อมมูลเพียงใด จะได้มั่นใจว่าเราจะสามารถรักษาประเทศชาติและความเป็นไทยของเราไว้ด้วยอย่างยืนยาวตลอดไป......"

พระราชดำรัสข้างต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชดำรัสตอบภายหลังรับการถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2542

พระราชดำรัสดังกล่าวแม้จะเป็นเพียงข้อความสั้น ๆ และพระราชทานไว้หลายปีแล้ว แต่เมื่อพิจารณาในเนื้อหาสาระแล้วมีความสำคัญยิ่ง พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า การดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของประเทศชาติจำเป็นต้องมีคุณธรรมที่สำคัญ นั่นคือ ความมีไมตรีจิต ความมีเมตตา ความหวังดีต่อกัน การช่วยเหลือกันและมุ่งหมายให้เกิดความเจริญร่วมกัน

เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมขอเชิญชวนให้มิตรสหายทุกท่านรับสนองพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในข้อนี้ พร้อม ๆ กับน้อมรับพระราชดำรัสที่พระราชทานเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ..2549 ที่ผ่านมาว่า ldquo;การทำงานเพื่อประเทศชาตินั้นไม่ใช่หน้าที่ของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนต้องขวนขวายทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อธำรงรักษาพัฒนาบ้านเมืองrdquo; เราทุกคนควรน้อมนำพระราชดำรัสของพระองค์มาย่อยลงสู่ภาคปฏิบัติในชีวิต เป็นเหมือนของขวัญที่มอบถวายแด่พระองค์

นักการเมือง ควรเป็นแบบอย่างในการสร้างภาพแห่งไมตรีจิตระหว่างกันแทนการทะเลาะวิวาทขัดแย้งกันแบบไม่สร้างสรรค์ซึ่งย่อมไม่ก่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศชาติแต่ควรถกจุดยืนความแตกต่างได้อย่างเอาประโยชน์ประเทศเป็นที่ตั้ง

สื่อมวลชน ควรเป็นแบบอย่างในการสร้างไมตรีจิตในความเป็นไทย ด้วยการวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์ แทนการวิพากษ์ที่เผ็ดร้อนรุนแรงซึ่งในที่สุดย่อมนำมาซึ่งความแตกแยกระหว่างกัน

คนไทยทุกคน ควรเชื่อมั่นว่า ldquo;ความสามัคคีคือพลังrdquo; และการมีไมตรีจิตระหว่างกันนั้นก็คือเส้นทางที่จะนำไปสู่ความสามมัคีของคนในชาติ หากคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม เชื่อมต่อกันไว้ด้วยสายใยแห่งไมตรีจิต ไม่มองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นศัตรู ไม่มองความแตกต่างเป็นความแตกแยก แต่มองว่าทุกคนในชาติสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชาติได้ ประเทศไทยก็จะมีพลังในการพัฒนาได้ไกลกว่าที่เป็นอยู่ ไม่เป็นสังคมที่คนทำดีท้อแท้ หรือเป็นสังคมของคนที่มีอำนาจ มีกำลังทรัพย์เท่านั้น

พระราชดำรัสสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานอย่างสม่ำเสมอในที่ต่าง ๆ ทรงมีน้ำพระราชหฤทัยให้ประชาชนในชาติเรียนรู้ที่จะรักสามัคคี โดยทรงตระหนักว่า ประเทศชาติจะไม่สามารถอยู่รอดได้หากประชาชนภายในชาติมีความแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่สามัคคีปรองดองกัน เราคนไทยไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายใดจึงควรใช้หลักหันหน้าเข้าหากัน ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อให้พระราชดำรัสนี้ให้เกิดขึ้นเป็นค่านิยมใหม่ในสังคมไทย และทุกคนควรมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศชาติให้เจริญยั่งยืนในทุก ๆ ด้าน

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2006-06-15