ทำไม ?ขาโจ๋? จึงเป็นคู่กัดกับ ?ขาประจำ? (1)

นักการเมืองกับนักวิชาการนั้นเป็นไม้เบื่อไม้เมากันทุกยุค ทุกสมัย แต่ในยุคนายกทักษิณ ความขัดแย้งนี้ดูจะรุนแรงเป็นพิเศษ มากกว่ายุคใด ๆ ในประวัติศาสตร์ของการเมืองไทย

เริ่มต้นด้วยการที่ท่นนายกเรียกนักวิชาการที่ออกมาแนะนำการบริหารนโยบายว่า พวก ldquo;ขาประจำrdquo; ด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว จนสุดท้ายหนึ่งใน ldquo;ขาประจำrdquo; ที่ท่านนายกกรุณาตั้งชื่อให้นั้น ได้ตอบแทนบุญคุณด้วยการตั้งฉายากลับให้ท่านนายกบ้างว่าเป็น ldquo;ขาโจ๋rdquo; ในระบบการเมืองไทย

วิวาทะระหว่างขาโจ๋และขาประจำนี้มีแนวโน้มว่าจะไม่ยุติลงง่าย ๆ มิหนำซ้ำยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นตามจำนวนปีที่ท่านนายกทักษิณยึดครองเก้าอี้เอาไว้ จนล่าสุดนั้นอาจารย์มหาวิทยาลัยถึง 129 ท่านได้ร่วมกันลงชื่อขอให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง

จุดที่ผมให้ความสนใจ ต้องการหาคำตอบและคำอธิบายคือประเด็นที่ว่า ทำไมนักการเมืองกับนักวิชาการดูจะต้องเป็นคนละขั้วกันเสมอ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในฐานะที่ผมเป็นทั้ง 2 ฐานะ คือเป็นนักวิชาการ และเป็นนักการเมืองด้วย ทำให้ผมเกิดความสนใจและเกิดความเห็นใจในฐานะที่ผมสวมหมวกทั้ง 2 ใบนี้

น่าสังเกตว่า จุดเริ่มต้นของวิวาทะระหว่างนักการเมือง (ซึ่งมักจะเป็นฝั่งรัฐบาลเสียเป็นส่วนมาก) กับนักวิชาการนั้น มาจากความขัดแย้งในแนวความคิดการผลิตนโยบาย เราจึงควรเริ่มที่การวิเคราะห์กระบวนการผลิตนโยบายเสียก่อน

ตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองนั้น นโยบายมีฐานะเป็น ldquo;สินค้าrdquo; ตัวหนึ่ง และเมื่อมี ldquo;สินค้าrdquo; ย่อมต้องมี ldquo;ผู้ผลิตrdquo; และ ldquo;ผู้ซื้อrdquo; ดังนั้นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จึงแยก ldquo;ตัวละครrdquo; ที่มีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายออกเป็น 2 ฝั่ง ดังต่อไปนี้

ฝั่งแรก คือ ผู้ทำหน้าที่ออกนโยบาย ซึ่งเป็น ldquo;ผู้ผลิตrdquo; นโยบาย ได้แก่ รัฐบาล ข้าราชการที่ทำหน้าที่ทางเทคนิค หรือที่เรียกว่า ldquo;เทคโนเครตrdquo; (Technocrat) และรัฐสภาที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ซึ่งเศรษฐศาสตร์มองว่าตัวละครฝั่งนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นอุปทาน (supply) ของนโยบาย

อีกฝั่งคือ ผู้รับผลกระทบจากนโยบาย ซึ่งเป็น ldquo;ผู้ซื้อrdquo; นโยบาย ได้แก่ ประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อสารมวลชน รวมถึงนักวิชาการด้วย ซึ่งทำหน้าที่เป็นอุปสงค์ (demand) ของนโยบาย

ธรรมชาติของผู้ซื้อและผู้ขายนั้นจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกัน ผู้ขายต้องการกำไรสูงสุด ในขณะที่ผู้ซื้อต้องการความพอใจจากสินค้าให้มากที่สุดภายใต้วงเงินจำกัด จึงเป็นเรื่องสามัญสำนึกที่ผู้ขายต้องการขายสินค้าในราคาแพง แต่ผู้ซื้อต้องการซื้อของถูก เมื่อเป้าหมายขัดแย้งกันจึงเกิดการเจรจาต่อรองเพื่อหาข้อตกลง รูปแบบพื้นฐานที่สุดของการต่อรอง คือการต่อราคาของผู้ซื้อกับผู้ขาย จนกระทั่งมีข้อยุติว่าจะซื้อหรือไม่ ที่ราคาเท่าไร

เมื่อมองเรื่องของนโยบายนั้น ldquo;ตัวละครrdquo; แต่ละฝ่ายมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกันเช่นเดียวกัน รัฐบาล (ในระบอบประชาธิปไตย) มีเป้าหมายในการออกนโยบายเพื่อให้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด (Maximize voting) ในขณะที่ ldquo;ตัวละครrdquo; ฝั่งผู้ซื้อนโยบายนั้นมีเป้าหมายเพื่อให้ผลประโยชน์ของตนเองสูงที่สุด ซึ่งหากนักวิชาการตามอุดมคติ ที่มีอุดมการณ์เพื่อประเทศชาติ เป้าหมายของนักวิชาการตามอุดมคติจึงเป็นการมุ่งให้สวัสดิการของประเทศสูงที่สุด (Maximize welfare)

ฟังดูเผิน ๆ เป้าหมายเพื่อให้คะแนนเสียงสูงที่สุดของนักการเมือง กับเป้าหมายเพื่อให้สวัสดิการสูงที่สุดของนักวิชาการไม่น่าจะขัดแย้งกัน เนื่องจากหากประชาชนได้รับประโยชน์จากนโยบายของพรรคการเมือง ประชาชนน่าจะลงคะแนนเสียงเพื่อให้พรรคนั้นเข้ามาเป็นรัฐบาลอยู่แล้ว

แต่ปัญหาติดอยู่ที่ว่านโยบายที่ดีบางประการกลับไม่เป็นที่ชอบใจของผู้ซื้อนโยบาย เช่นนโยบายการบังคับออม การเก็บภาษีทรัพย์สิน เป็นต้น แต่นโยบายบางประการที่ทำให้เกิดปัญหาในระยะยาว กลับเป็นที่ชอบอกชอบใจของชาวบ้านดีนักแล ที่เห็นชัดคือนโยบายประชานิยมต่าง ๆ ที่ลดแลกแจกสะบัด

ดังนั้น นโยบายเพื่อคะแนนเสียงสูงสุด กับนโยบายเพื่อสวัสดิการสูงสุดจึงเป็นคนละอย่าง

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2006-02-13