เพิ่มทุนทหารไทย: อุ้มไม่เลิก เอาเปรียบคนจน

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก

กรณีคณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงการคลังเพิ่มทุนในธนาคารทหารไทย โดยขายหุ้นองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) ให้ธนาคารออมสิน สะท้อนพฤติกรรมซ้ำซากในการอุ้มพวกพ้องไม่เลิก แต่ครั้งนี้รัฐบาลยังเอาเปรียบคนจนอีกด้วย

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ถมเงินเข้ามาแก้ปัญหาธนาคารนี้จำนวนมากแล้ว และดูเหมือนว่ายังแก้ปัญหาไม่ได้ สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการดำเนินงานที่อาจเอื้อประโยชน์ต่อคนบางกลุ่ม จึงทำให้ภาระการขาดทุนตกอยู่กับธนาคารเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการรับซื้อทรัพย์สินในราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง การตัดหนี้สูญ (hair cut) หลายพันล้านให้กับลูกหนี้รายใหญ่ที่เป็นธุรกิจเครือญาติของคนในรัฐบาล หรือการเอาคนใกล้ชิดหรือญาติพี่น้องเข้าไปมีตำแหน่งในธนาคาร ทำให้ไม่ได้รับความเชื่อมั่นในแง่การบริหารงาน

สำหรับในครั้งนี้ กระทรวงการคลังขายหุ้น อสมท.ให้ธนาคารออมสิน แล้วนำเงินที่ได้จำนวน 3,015 ล้านบาทไปซื้อหุ้นบุริมสิทธิเพื่อเพิ่มทุนให้ธนาคารทหารไทย โดยมีสัญญาว่ากระทรวงการคลังจะซื้อหุ้นคืนในเวลา 3 ปี หรือพูดให้เข้าใจง่าย คือ การที่ธนาคารออมสินปล่อยกู้ให้ธนาคารทหารไทย โดยที่กระทรวงการคลังนำหุ้น อสมท.มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน พฤติกรรมเช่นนี้ นับเป็นการแย่งเงินออมที่ธนาคารออมสินควรจะใช้ในการปล่อยกู้ให้คนยากจน เพื่อเอาไปอุ้มกิจการธนาคารทหารไทย ซึ่งถึงแม้ว่ากระทรวงการคลังจะถือหุ้นในธนาคารทหารไทยถึงร้อยละ 31.2 แต่ต้องไม่ลืมว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกร้อยละ 30.8 เป็นนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ที่เหลือเป็นนักลงทุนไทยและต่างชาติ ที่ถือได้ว่าเป็นผู้มีอันจะกิน (ตารางที่ 1)

การตัดสินใจดึงเงินจากธนาคารออมสินไปอุ้มธนาคารทหารไทย สะท้อนให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วรัฐบาลให้ความสำคัญกับคนยากจนจริงหรือไม่ ถึงแม้ว่าธนาคารออมสินจะได้อัตราผลตอบแทนของการกู้มากกว่าร้อยละ 9.99 ต่อปี (ตารางที่ 2) แต่การที่เงินจำนวนถึง 3,015 ล้านบาทถูกกู้ออกไปจากธนาคารออมสินเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี จะทำให้ประชาชนจำนวนมากขาดโอกาสในการได้รับเงินกู้ ทั้งนี้หากสมมติว่าธนาคารออมสินนำไปปล่อยกู้ให้กับประชาชนคนละ 3 หมื่นบาท จะสามารถให้เงินกู้แก่ประชาชนได้ถึง 1 แสนคนทีเดียว

นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าวยังทำให้คนยากจนเสียเปรียบในแง่ของต้นทุนการกู้เงิน ทั้งนี้หากรัฐบาลนำเงิน 3,015 ล้านบาทของธนาคารออมสินไปปล่อยกู้ในโครงการธนาคารประชาชน คนจนต้องเสียต้นทุนในการกู้เงินร้อยละ 1 ต่อเดือน แต่หากนำเงินจำนวนเดียวกันนำไปซื้อหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารทหารไทยนั้น ธนาคารทหารไทยอาจจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเลยก็เป็นได้

เหตุที่กล่าวเช่นนี้ เพราะธนาคารทหารไทยมียอดขาดทุนสะสม ณ สิ้นปี 2548 ถึง 4.78 หมื่นล้านบาท และหากธนาคารมีกำไรสุทธิ 7.8 พันล้านบาทต่อปี เท่ากับกำไรสุทธิในปี 2548 ธนาคารจะต้องใช้เวลาถึง 6 ปี กว่าจะล้างยอดขาดทุนสะสมได้หมด หมายความว่า ธนาคารจะยังไม่สามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เลยในตลอดช่วง 6 ปีข้างหน้า ผมจึงไม่เข้าใจว่า เหตุใดรัฐบาลจึงไม่เลือกวิธีการอื่นที่ไม่ต้องไปรับความเสี่ยงแทนภาคเอกชนและไม่ส่งผลกระทบต่อคนจน

ตารางที่ 1 โครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในธนาคารทหารไทย ณ วันที่ 7 เมษายน 2549

ลำดับ

ชื่อ

จำนวนหุ้น

ร้อยละ

1

กระทรวงการคลัง

4,772,574,627

1.2

2

DBS Bank A/C 003

2,460,078,607

6.1

3

กลุ่มกองทัพ *

721,454,430

4.7

4

บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด

656,180,947

4.3

5

N.C.B. Trust Limited - UBS AG London BR-IPB Client AC

578,630,668

3.8

6

NORBAX INC., 18

527,198,600

3.4

7

Chase Nominees Limited 1

443,648,200

2.9

8

Little Down Nominees Limited 5

441,372,600

2.9

9

บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

294,660,033

1.9

10

State Street Bank and Trust Company

210,814,877

1.7

* ประกอบด้วย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และ บริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

ตารางที่ 2 อัตราผลตอบแทนที่ธนาคารออมสินจะได้รับ

ร้อยละต่อปี

อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนของธนาคารออมสิน

5

ค่าบริหารจัดการ

1.66

อัตราเงินปันผลของหุ้น อสมท.

3.33

รวม

9.99 *

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกหนี้ชั้นดี (MLR)

7.5**

หมายเหตุ: * อัตราผลตอบแทนนี้ยังไม่รวมกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้น หากในอนาคต ธนาคารออมสินขายหุ้น อสมท. คืนให้กระทรวงการคลังในราคาตลาด

** เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกหนี้ชั้นดีของธนาคารกรุงเทพ

กรณีคณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงการคลังเพิ่มทุนในธนาคารทหารไทย โดยขายหุ้นองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) ให้ธนาคารออมสิน สะท้อนพฤติกรรมซ้ำซากในการอุ้มพวกพ้องไม่เลิก แต่ครั้งนี้รัฐบาลยังเอาเปรียบคนจนอีกด้วย

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ถมเงินเข้ามาแก้ปัญหาธนาคารนี้จำนวนมากแล้ว และดูเหมือนว่ายังแก้ปัญหาไม่ได้ สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการดำเนินงานที่อาจเอื้อประโยชน์ต่อคนบางกลุ่ม จึงทำให้ภาระการขาดทุนตกอยู่กับธนาคารเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการรับซื้อทรัพย์สินในราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง การตัดหนี้สูญ (hair cut) หลายพันล้านให้กับลูกหนี้รายใหญ่ที่เป็นธุรกิจเครือญาติของคนในรัฐบาล หรือการเอาคนใกล้ชิดหรือญาติพี่น้องเข้าไปมีตำแหน่งในธนาคาร ทำให้ไม่ได้รับความเชื่อมั่นในแง่การบริหารงาน

สำหรับในครั้งนี้ กระทรวงการคลังขายหุ้น อสมท.ให้ธนาคารออมสิน แล้วนำเงินที่ได้จำนวน 3,015 ล้านบาทไปซื้อหุ้นบุริมสิทธิเพื่อเพิ่มทุนให้ธนาคารทหารไทย โดยมีสัญญาว่ากระทรวงการคลังจะซื้อหุ้นคืนในเวลา 3 ปี หรือพูดให้เข้าใจง่าย คือ การที่ธนาคารออมสินปล่อยกู้ให้ธนาคารทหารไทย โดยที่กระทรวงการคลังนำหุ้น อสมท.มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน พฤติกรรมเช่นนี้ นับเป็นการแย่งเงินออมที่ธนาคารออมสินควรจะใช้ในการปล่อยกู้ให้คนยากจน เพื่อเอาไปอุ้มกิจการธนาคารทหารไทย ซึ่งถึงแม้ว่ากระทรวงการคลังจะถือหุ้นในธนาคารทหารไทยถึงร้อยละ 31.2 แต่ต้องไม่ลืมว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกร้อยละ 30.8 เป็นนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ที่เหลือเป็นนักลงทุนไทยและต่างชาติ ที่ถือได้ว่าเป็นผู้มีอันจะกิน (ตารางที่ 1)

การตัดสินใจดึงเงินจากธนาคารออมสินไปอุ้มธนาคารทหารไทย สะท้อนให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วรัฐบาลให้ความสำคัญกับคนยากจนจริงหรือไม่ ถึงแม้ว่าธนาคารออมสินจะได้อัตราผลตอบแทนของการกู้มากกว่าร้อยละ 9.99 ต่อปี (ตารางที่ 2) แต่การที่เงินจำนวนถึง 3,015 ล้านบาทถูกกู้ออกไปจากธนาคารออมสินเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี จะทำให้ประชาชนจำนวนมากขาดโอกาสในการได้รับเงินกู้ ทั้งนี้หากสมมติว่าธนาคารออมสินนำไปปล่อยกู้ให้กับประชาชนคนละ 3 หมื่นบาท จะสามารถให้เงินกู้แก่ประชาชนได้ถึง 1 แสนคนทีเดียว

นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าวยังทำให้คนยากจนเสียเปรียบในแง่ของต้นทุนการกู้เงิน ทั้งนี้หากรัฐบาลนำเงิน 3,015 ล้านบาทของธนาคารออมสินไปปล่อยกู้ในโครงการธนาคารประชาชน คนจนต้องเสียต้นทุนในการกู้เงินร้อยละ 1 ต่อเดือน แต่หากนำเงินจำนวนเดียวกันนำไปซื้อหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารทหารไทยนั้น ธนาคารทหารไทยอาจจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเลยก็เป็นได้

เหตุที่กล่าวเช่นนี้ เพราะธนาคารทหารไทยมียอดขาดทุนสะสม ณ สิ้นปี 2548 ถึง 4.78 หมื่นล้านบาท และหากธนาคารมีกำไรสุทธิ 7.8 พันล้านบาทต่อปี เท่ากับกำไรสุทธิในปี 2548 ธนาคารจะต้องใช้เวลาถึง 6 ปี กว่าจะล้างยอดขาดทุนสะสมได้หมด หมายความว่า ธนาคารจะยังไม่สามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เลยในตลอดช่วง 6 ปีข้างหน้า ผมจึงไม่เข้าใจว่า เหตุใดรัฐบาลจึงไม่เลือกวิธีการอื่นที่ไม่ต้องไปรับความเสี่ยงแทนภาคเอกชนและไม่ส่งผลกระทบต่อคนจน

ตารางที่ 1 โครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในธนาคารทหารไทย ณ วันที่ 7 เมษายน 2549

ลำดับ

ชื่อ

จำนวนหุ้น

ร้อยละ

1

กระทรวงการคลัง

4,772,574,627

1.2

2

DBS Bank A/C 003

2,460,078,607

6.1

3

กลุ่มกองทัพ *

721,454,430

4.7

4

บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด

656,180,947

4.3

5

N.C.B. Trust Limited - UBS AG London BR-IPB Client AC

578,630,668

3.8

6

NORBAX INC., 18

527,198,600

3.4

7

Chase Nominees Limited 1

443,648,200

2.9

8

Little Down Nominees Limited 5

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2006-08-14