ภาวะเศรษฐกิจโลกปี 2550 และผลกระทบต่อไทย

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก

ปีพ.. 2550 เศรษฐกิจโลกชะลอตัว จะกระทบการส่งออกไทย ภาครัฐควรเร่งพิจารณางบประมาณ ปี.. 2550 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสนับสนุนการสำรวจตลาดใหม่

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ประมาณการเศรษฐกิจโลกปี พ.ศ.2550 ไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 ซึ่งชะลอตัวลงจากปี พ..2549 ที่ประมาณการว่าจะขยายตัว ร้อยละ 5.1 และมีความเป็นไปได้ที่จะเติบโตเพียงร้อยละ 3.25 หรือต่ำกว่านั้น หากตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐชะลอตัวรุนแรงกว่าที่คาด

นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟยังประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี พ..2550 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.9 ลดลงจากร้อยละ 3.4 ในปีพ..2549 ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ เจพี มอร์แกน ที่ชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มถดถอย เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเคยเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวกำลังอยู่ในช่วงขาลง ส่วนอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูงเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อที่ยังน่าเป็นห่วง

ในขณะที่เศรษฐกิจสหภาพยุโรป (อียู) ขยายตัวถึงร้อยละ 3.7 ในไตรมาส 2 ปี พ..2549 ซึ่งคาดว่าเป็นจุดที่สูงสุด และต่อจากนี้จะเริ่มชะลอตัว โดยในปี พ..2550 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายการคลังที่เข้มงวด เพื่อแก้ไขปัญหาขาดดุลงบประมาณและหนี้ภาครัฐที่อยู่ในระดับสูง และการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่จะเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจช่วงปลายปี พ..2549 ต่อเนื่องไปจนถึงปี พ..2550

ส่วนญี่ปุ่นที่เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอีกประเทศหนึ่ง กำลังพิจารณาลดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดที่ผู้ปล่อยสินเชื่อจะเก็บได้จากร้อยละ 29.2 เหลือร้อยละ 15ndash;20 ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่พอใจและถอนการลงทุนกลับ ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงอาจจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นในปี พ..2550 ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1 จากเดิมที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.5

เศรษฐกิจของจีนมีแนวโน้มชะลอตัวเช่นกัน เนื่องจากเศรษฐกิจจีนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 11.3 ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ทำให้ธนาคารกลางของจีนต้องปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น เพื่อควบคุมเศรษฐกิจให้ขยายตัวช้าลง และป้องกันภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ที่อาจเกิดขึ้น

ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวลง จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจะบั่นทอนกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศคู่ค้า ซึ่งหมายถึงอุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกจากประเทศไทยที่ลดลงด้วย การส่งออกจึงอาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีหน้า

ผมจึงเห็นว่า การจัดงบประมาณขาดดุลในปี พ..2550 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจึงสามารถทำได้ โดยไม่กระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากนัก เนื่องจากแนวโน้มเงินเฟ้อปีหน้าค่อนข้างทรงตัว และหนี้สาธารณะที่ยังอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลัง นอกจากนี้ภาครัฐควรสนับสนุนการสำรวจตลาดใหม่ๆ เนื่องจากภาครัฐมีหลายช่องทางให้ทำได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าภาคเอกชน เช่น การให้สถานทูตไทยในต่างประเทศทำหน้าที่หาช่องทางตลาด การจัดทำเว็บไซต์ของสถานทูตให้เป็นแหล่งข้อมูลการค้าในต่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าเพียงบางประเทศ และกระจายความเสี่ยงในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2006-10-16