เศรษฐกิจฝืด...เงินเฟ้อ... ฉวยโอกาสสอนเด็กใช้เงินให้เป็น

ที่มาของภาพ http://www.investorchart.com/images/1172034264/money3.jpg
คำว่า ldquo;ประหยัดrdquo; หรือ ldquo;รัดเข็มขัดrdquo; เป็นคำพูดที่เหมาะกับยุคสมัยปัจจุบัน เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคได้เพิ่มสูงขึ้นไปก่อนหน้านี้ พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เพราะแต่ละเดือนต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย 2 ส่วน เป็นอย่างน้อย คือ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่าใช้จ่ายสำหรับบุตรหลานที่อยู่ในวัยเรียน เดือนสิงหาคม พ.ศ.2551 ที่ผ่านมา รัฐบาลเริ่มใช้นโยบาย ldquo;6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคนrdquo; เพื่อลดค่าใช้จ่ายประชาชน หนึ่งในมาตรการที่พ่อแม่ผู้ปกครองนิยมใช้บริการคือ รถเมล์ฟรี ตอนเช้าจะเห็นพ่อแม่ผู้ปกครองหอบลูกจูงหลานขึ้นรถเมล์ฟรี แม้รถจะแน่นมากก็ตาม
อย่างไรก็ตาม หากผู้ปกครองและสถานศึกษาฉวยโอกาสช่วงเศรษฐกิจฝืดเคือง สอนเด็กให้รู้จักการใช้จ่าย จะส่งผลให้เด็กกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ใช้เงินในทางที่เหมาะสม ดังนี้
วางแผนการเงิน ฝึกให้เด็กกำหนดขอบเขตการใช้จ่ายตามที่จำเป็น เช่น ได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท ควรจัดสรรเป็นค่าใช่จ่ายประจำ เงินออมเพื่อการศึกษา ออมเพื่อการลงทุน ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ค่าใช้จ่ายเพื่อสังคม เป็นต้น เพื่อให้เด็กเห็นภาพรวมของการใช้จ่าย เป็นการช่วยลดความฟุ่มเฟือย และช่วยให้การใช้เงินเป็นไปอย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพ
ใช้ตามความจำเป็น สอนให้เด็กเข้าใจความแตกต่างระหว่าง ldquo;ซื้อของตามความต้องการrdquo; กับ ldquo;ซื้อของตามความจำเป็นrdquo; โดยชี้ให้เห็นว่า การซื้อตามความต้องการ มาจากความอยากที่ไม่จำกัด ส่วนการซื้อของตามความจำเป็น เกิดจากการใช้เหตุผล ldquo;ซื้อเพื่ออะไรrdquo; ldquo;จำเป็นหรือไม่rdquo; ซึ่งช่วยให้เด็กรอบคอบในการใช้จ่าย
ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ที่ผ่านมาพ่อแม่ผู้ปกครองและสถานศึกษาไม่มีกิจกรรมทางเลือกมากนัก เด็กจำนวนมากจึงใช้เวลาว่างในห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิง หรืออยู่บ้านดูโทรทัศน์ จึงถูกกระตุ้นให้ซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็นได้ง่าย ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองและสถานศึกษาควรแนะนำหรือพาเด็กไปทำกิจกรรมช่วงวันหยุด เช่น เล่นดนตรี เล่นกีฬา ไปแหล่งเรียนรู้ ฯลฯ เพื่อดึงเด็กให้ออกจากสิ่งที่มาล่อใจให้ซื้อสินค้า
จัดสรรเงินช่วยเหลือผู้อื่น แม้จะสอนให้เด็กประหยัด แต่ไม่ควรสอนให้เด็กเห็นแก่ตัว ควรแนะนำให้เด็กจัดสรรเงินเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นด้วย เช่น แบ่งเงินไปช่วยเหลือองค์กรที่ทำงานเพื่อสังคม ไปช่วยเหลือญาติพี่น้องที่อยู่ในภาวะยากลำบาก หรือซื้อของขวัญให้ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีจิตสาธารณะ
การสอนเด็กให้ใช้จ่ายอย่างเหมาะสมนั้น เป็นการปลูกฝังให้เด็กเข้าใจคุณค่าของเงิน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับสอนให้เด็กตระหนี่ถี่เหนียว เพราะการเห็นคุณค่าของเงินคือ ความเข้าใจว่าจะใช้เงินไปในทางที่เหมาะสมได้อย่างไร ในขณะเดียวกัน รู้จักที่จะเสียสละเงินบางส่วนเพื่อช่วยเหลือผู้คนในสังคมด้วย
* นำมาจากหนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2551
admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2008-09-02