มุ่งประเด็นขัดแย้ง มิใช่ ?คู่ขัดแย้ง?

ในที่ประชุมแห่งหนึ่ง ผู้จัดการได้นำเสนอแนวคิดว่า ldquo;ในการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของบุคลากร ควรเปลี่ยนอัตราการจ่ายค่าจ้างใหม่ โดยประเมินตามผลงานที่แต่ละคนทำ เพื่อกระตุ้นให้คนทำงานมากขึ้นrdquo;
พนักงานคนหนึ่งได้แย้งว่า ldquo;ผมคิดว่าการจ่ายค่าจ้างในลักษณะเดิมก็ดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ผมเสนอว่าหากต้องการพัฒนาประสิทธิภาพ ควรเน้นการทำงานเป็นทีม มีการแข่งขันกันภายในทีมและระหว่างทีม รวมทั้งมีการฝึกอบรมทักษะความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง องค์กรน่าจะพัฒนาได้ก้าวหน้ามากกว่าการทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนทางการเงินเพียงอย่างเดียวrdquo;
คนในที่ประชุมค่อนข้างเห็นด้วยกับความคิดของพนักงานคนนี้ เรื่องนี้น่าจะหาข้อสรุปกันได้ด้วยดี แต่ทว่า...ข้อเสนอของพนักงานกลับทำให้ผู้จัดการรู้สึกไม่พอใจ ไม่เพียงแต่ข้อเสนอของตนไม่ได้รับการยอมรับ ยิ่งเมื่อเห็นว่าพนักงานคนนี้เป็นลูกน้องของตน เขายิ่งรู้สึกเสียหน้า
จึงแย้งกลับไปด้วยความไม่ค่อยพอใจว่า ldquo;ผมคิดว่า ข้อเสนอของผมอาจทำให้คนหลายคนไม่พอใจ คุณก็เป็นคนหนึ่งที่ผมคิดว่าหากใช้วิธีนี้จะช่วยให้คุณตั้งใจทำงานมากขึ้น เพราะประวัติการทำงานที่ผ่านมาของคุณยังไม่น่าพอใจนัก และผมกำลังจะประเมินคุณอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้rdquo;
แม้สิ่งที่ผู้จัดการโต้แย้งนั้นเป็นความจริง แต่เขาก็ไม่ได้โต้แย้งในประเด็นที่พนักงานคนนั้นนำเสนอ แต่กลับหาเหตุต่อว่าพนักงานคนนั้นเพื่อทำให้เขารู้สึกเสียหน้า และเพื่อรักษาหน้าของตนเท่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่เลยแม้แต่น้อย
ในหลายครั้งความขัดแย้งในเรื่อง ๆ หนึ่ง แทนที่จะสามารถยุติได้ด้วยเหตุผล แต่กลับถูกให้ขัดแย้งหนักยิ่งขึ้นอีก หากมีฝ่ายหนึ่งเบี่ยงประเด็นความขัดแย้ง มากล่าวโทษหรือต่อว่าที่ตัวบุคคลแทนดังตัวอย่างข้างต้น
การตอบสนองที่ผิด ๆ เหล่านี้มักจะมีความหยิ่งเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เมื่อเรารู้สึกเหมือนถูกทำให้เสียหน้า อาจทำให้เรามองคนนั้นเป็นศัตรู และมองข้ามทัศนะที่เขานำเสนอ แต่กลับมุ่งโจมตีคนนั้นกลับ โดยอาจยกประวัติหรือประสบการณ์ที่ไม่ดีของเขามากล่าว ยกข่าวลือในทางร้ายที่เขาเคยถูกกล่าวหามาตอบโต้ วัตถุประสงค์เพื่อให้เขาได้รู้สึกอับอายเหมือนเรา โดยไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำลังกล่าวถึง
การตอบสนองเช่นนี้ย่อมไม่ก่อให้เกิดผลดี กลับกลายเป็นการจุดไฟความขัดแย้งให้โหมกระพือขึ้น ทางที่ดีกว่า เราควรเรียนรู้ที่จะแยกแยะระหว่าง ldquo;เนื้อหาrdquo; หรือประเด็นที่กำลังกล่าวถึง กับ ldquo;ตัวบุคคลrdquo; ผู้พูดออกจากกัน
การตอบสนองที่ถูกต้องเพื่อป้องกันความขัดแย้ง อาทิ ให้เราพิจารณาที่เนื้อหาสาระที่อีกฝ่ายหนึ่งพูดว่ามีเหตุผลเพียงไร เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเพราะเหตุใด มิใช่พิจารณาที่ตัวบุคคลผู้พูด ที่สำคัญต้องยอมเปิดใจออก ลดความหยิ่งถือตัวลง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และหาพิจารณาแล้วว่าความคิดของผู้อื่นดีกว่า ต้องมีความกล้าที่จะยินดีรับข้อเสนอตามนั้น ไม่ดึงดันตามความคิดตน
การป้องกันความขัดแย้งได้ดีวิธีหนึ่งคือ การจัดการตนเอง โดยมุ่งไปที่สาระหรือเนื้อหาที่กล่าวถึง มากกว่าพุ่งเป้าโจมตีตัวบุคคล ซึ่งไม่เกิดประโยชน์อันใดในการหาข้อสรุปร่วมกัน
admin
เผยแพร่: 
งานวันนี้
เมื่อ: 
2008-07-18