ลับคมความคิดด้วย ?ทักษะการเขียน?

คนจำนวนมากมีความคิดว่า ldquo;ทักษะการเขียนrdquo; เป็นเรื่องที่ไกลตัวจากชีวิตประจำวันของคนธรรมดาสามัญทั่วไป โดยคิดว่าเป็นทักษะเฉพาะที่จำเป็นสำหรับบุคคลในบางแวดวงหรือบางอาชีพเท่านั้น เช่น นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่อยู่ในแวดวงวรรณกรรม นักเขียน นักประพันธ์ ฯลฯ
ความคิดเช่นนี้จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญในการพัฒนาทักษะด้านการเขียนของตน ประกอบกับการมองว่าทักษะการเขียนเป็นเรื่องยาก ต้องคนที่มีพรสวรรค์เท่านั้นจึงทำได้ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ทักษะในด้านนี้ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วทักษะการเขียนเป็นทักษะสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคนที่จำเป็นต้องหมั่นฝึกฝนเรียนรู้ให้เกิดความชำนาญ ไม่ว่าจะอยู่ในแวดวงหรือสาขาอาชีพใดก็ตาม อาทิ
hellip; สำหรับผู้ที่ทำงานในแวดวงธุรกิจหรือในองค์กรด้านต่าง ๆ เช่นการเขียนแผนธุรกิจ การเขียนโครงการ การแสดงวิสัยทัศน์ในการทำงาน
hellip; สำหรับผู้ที่ทำงานในแวดวงวิชาการ ครู อาจารย์เช่น การเขียนหนังสือตำรา ผลงานวิชาการ เอกสารประกอบการบรรยาย
hellip; สำหรับผู้ที่ทำงานด้านสื่อสารมวลชน เช่น การเขียนบทพูด (script) รายการวิทยุ โทรทัศน์ บทโฆษณา
hellip; สำหรับการติดต่อสื่อสารและการประสานงานทั้งภายในและระหว่างองค์กร เช่น การเขียนจดหมายการเขียนบันทึกการประชุม การเขียนรายงานผลการดำเนินงาน การเขียนเพื่อประเมินผลการทำงานการเขียน memo การเขียนคู่มือ
hellip;สำหรับผู้ที่กำลังหางานหรือเตรียมตัวเข้าศึกษาต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การเขียนจดหมายสมัครงาน ประวัติการทำงาน การเขียนเรียงความ (essay) แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ
hellip; สำหรับนักเรียน นักศึกษา เช่น การเขียนข้อสอบเชิงอัตนัยหรือเชิงบรรยายการเขียนรายงานเขียนวิทยานิพนธ์
hellip;สาหรับบุคคลทั่วไป เช่น การเขียนไดอารี่ การเขียนจดหมายถึงเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง การเขียนจดหมายร้องทุกข์ การเขียนข้อความหรือบทความเพื่อแสดงความคิดเห็นไปยังสื่อหรือหน่วยงานต่าง ๆ
ผู้ที่มีทักษะด้านการเขียนที่ดีจึงย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมากกว่าไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการได้รับคัดเลือกเข้าทำงานโอกาสที่จะได้รับการส่งเสริมหรือการเลื่อนขั้นตำแหน่งงานโอกาสในการได้รับทุนการศึกษา การวิจัยเป็นต้นนอกจากนี้ ผู้ที่หมั่นฝึกฝนและพัฒนาทักษะด้านนี้เป็นประจำ ยังสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้จากการเขียนด้วย อาทิ การพัฒนางานเขียนไปสู่แวดวงวรรณกรรม การเขียนหนังสือ เรื่องสั้น นวนิยายบทความ ที่อาจนำเสนอจากประสบการณ์จริงในชีวิตรวมทั้งการนำเสนอแนวคิดใหม่ที่สร้างสรรค์อันก่อเกิดเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในวงกว้างต่อไป
โดยจากงานวิจัยพบว่า การพัฒนาทักษะการเขียนนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยระยะเวลาช่วงกว้าง (wide range) ในการฝึกฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเริ่มฝึกฝนตั้งแต่วัยเยาว์ แต่เรากลับพบว่าการพัฒนาทักษะการเขียนในเด็กไทยนั้นยังไม่ได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควร ระบบการศึกษาในโรงเรียนรวมทั้งหลักสูตรการเรียนการสอนที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะด้านนี้มากเท่าไรนัก ทั้งการออกข้อสอบที่เป็นแบบปรนัยมากกว่าอัตนัย รวมทั้งสัดส่วนจำนวนครูที่ไม่เพียงพอในการตรวจงานเขียนของเด็กที่มีจำนวนมากในแต่ละห้องเรียนได้อย่างมีคุณภาพ
ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องสวมบทบาทเป็นครูในการฝึกฝนทักษะด้านการเขียนให้กับลูกด้วยตนเอง โดยเริ่มจาก
สร้างบรรยากาศ ldquo;การเขียนเป็นเรื่องใกล้ตัวrdquo;ให้ลูกมีทัศนคติที่ดีต่อการเขียนว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากหรือไกลตัวแต่อย่างใด การเขียนเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันเช่นเดียวกับการพูดคุยเพื่อการสื่อสารระหว่างกัน โดยแทนที่พ่อแม่จะสื่อสารกับลูกโดยใช้การพูดคุยแต่เพียงอย่างเดียว พ่อแม่ควรใช้การเขียนเป็นอีกช่องทางในการสื่อสารกับลูกด้วยเช่นกัน อาทิ การเขียนโน้ตติดตู้เย็นเพื่อเตือนความจำลูกไม่ให้ลืมเรื่องสำคัญในวันนั้น เช่น อย่าลืมเอางานไปส่งครูที่โรงเรียนกับข้าวอยู่ในเตาไมโครเวฟ เป็นต้นหรือการหมั่นสื่อสารบอกรักลูกด้วยการเขียนโน้ตหรือการ์ดเป็นประจำ การเขียนอีเมล์ถึงกัน รวมทั้งการจัดหากระดานหรือไวท์บอร์ดติดไว้ประจำในแต่ละบ้านเพื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อสารด้วยการเขียนข้อความสื่อสารระหว่างกัน
ฝึกฝนความคิดให้คมชัด ldquo;ทักษะการเขียนrdquo; แท้จริงแล้วเป็นความสามารถในการสื่อสารถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทัศนคติ และความรู้สึกออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นได้เข้าใจตรงกับสิ่งที่เราต้องการที่จะสื่อออกไปนั่นเอง ดังนั้น หัวใจสำคัญของการเขียนเป็นจึงไม่ได้อยู่ที่การเขียนอย่างถูกหลักโครงสร้างไวยากรณ์ สะกดคำได้ถูกต้อง หรือเขียนได้ตรงตามรูปแบบของงานเขียนประเภทต่าง ๆ เท่านั้น แต่ต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาผ่านกระบวนการทางความคิดอย่างเป็นระบบในลักษณะต่าง ๆ เป็นสำคัญ อาทิ
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking) สามารถหาประเด็นใหม่ ๆ เพื่อมากำหนดหัวข้อที่น่าสนใจhellip;ความคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) สามารถวิเคราะห์ข้อมูลอย่างแม่นยำ ในการสืบค้นข้อเท็จจริง สามารถตีความ จำแนกแยกแยะ และทำความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบคำถามและเชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลเกี่ยวกับประเด็นที่นำเสนอ เพื่อให้ข้อเขียนมีเหตุผลหนักแน่นน่าเชื่อถือhellip;ความคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) มีความคิดรวบยอดประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอได้อย่างไม่ขัดแย้งโดยไม่คิดและไม่เขียนออกนอกประเด็นhellip;ความคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-type Thinking) สามารถรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาหลอมรวมภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสมhellip;ความคิดเชิงวิพากษ์(Critical Thinking) สามารถวิพากษ์แนวคิดเดิมและเสนอแนวคิดใหม่ ท้าทายและหาข้อโต้แย้ง (argument) ความคิด ข้อเสนอ หรือหลักปฏิบัติเดิมได้ เพื่อเปิดแนวทางความคิดสู่ทางเลือกใหม่ hellip;ความคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) สามารถประยุกต์ข้อเท็จจริงหรือแนวคิดใหม่ที่นำเสนอให้เข้ากับบริบทในขณะนั้น ประยุกต์แนวคิดเชิงนามธรรมสู่รูปธรรมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ เป็นต้น
โดยในทางปฏิบัติหากลูกยังเด็กไม่สามารถเขียนเองได้หรือไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเขียนอย่างไร พ่อแม่สามารถช่วยลูกฝึกฝนได้โดยเริ่มจากการให้ลูกเล่าเรื่องปากเปล่าจากข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์ที่พบในแต่ละวัน หนังสือที่ได้อ่านฯลฯ พร้อมคอยตั้งคำถามและช่วยจดเป็นคำพูดและอ่านออกเสียงให้ลูกฟังว่าสิ่งที่เขาเล่ามานั้นมีการวิเคราะห์สังเคราะห์และจับประเด็นได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ และค่อยฝึกฝนในขั้นต่อไปโดยให้ลูกเขียนสรุปออกมาด้วยตัวเอง
สนับสนุนและจูงใจให้ลูก ldquo;เขียนldquo;พ่อแม่สามารถสนับสนุนการพัฒนาทักษะด้านการเขียนของลูกไม่เพียงแต่ในเรื่องอุปกรณ์ อาทิ ปากกาดินสอ กระดาษ ไดอารี่หรือสมุดสีสันสดใสสวยงามน่าขีดเขียนเท่านั้น แต่ต้องจูงใจให้ลูกรักหรือชื่นชอบที่จะ ldquo;เขียนrdquo; ทั้งที่เป็นทางการและอย่างไม่เป็นทางการเช่นการเขียนโคลงกลอน เพลง เขียนการ์ตูน มุขตลก แต่งนิทาน ฯลฯ พร้อมทั้งเปิดเวทีให้ลูกได้แสดงผลงานของตน อาทิ มีบอร์ดแสดงผลงานที่บ้าน ส่งเสริมให้ลูกเขียนส่งเข้าประกวดในงานต่าง ๆ นำผลงานเขียนของลูกไปใส่ในอินเทอร์เน็ตหรือเปิด Blog ให้ลูกนำเสนอผลงาน
นอกจากนี้พ่อแม่จำเป็นต้องฝึกลูกให้เป็นคนที่ช่างสังเกต ชอบศึกษาค้นคว้า หาความรู้อยู่เสมอสนใจอ่านหนังสือทุกประเภท เป็นนักเก็บบันทึกประสบการณ์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจในชีวิตประจำวัน เพื่อสั่งสมข้อมูลความรู้มาเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในการเขียนให้มีความหลากหลายและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่พ่อแม่ควรฝึกฝนลูกตั้งแต่ในวัยเยาว์ เพราะนอกจากเป็นใบเบิกทางสำคัญในการเปิดโอกาสสู่ความสำเร็จทั้งด้านการเรียนและหน้าที่การงานแล้ว ยังเป็นการฝึกฝนให้ลูกหลานของเราเติบโตขึ้นมาเป็นนักคิดที่มีคุณภาพของสังคมอีกด้วย ดังประโยคที่ว่า ldquo;การเขียนทำให้เกิดความเฉียบคมทางความคิดrdquo; นั่นเองครับ
admin
เผยแพร่: 
แม่และเด็ก
เมื่อ: 
2008-06-12