เด็กช้ำง่าย หน่ายสังคม

ปัจจุบันสภาพสังคมโดยเฉพาะสังคมเมืองที่ผู้คนต่างดิ้นรนแข่งขันกันในทุกด้าน ส่งผลให้เด็กและเยาวชนยุคใหม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านลบและด้านบวกที่น่าจับตามอง การเปลี่ยนแปลงด้านดีได้แก่ มีความมั่นใจในตนเอง กล้าคิดกล้าทำมากกว่าแต่ก่อน ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงด้านลบที่มักจะได้ยิน เช่น เด็กรุ่นใหม่ไม่ใส่ใจผู้อื่นและสังคมเท่าที่ควร ขาดความไม่รับผิดชอบ ไม่หนักเอาเบาสู้ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ลดลง นิยมความบันเทิงมากกว่าสาระความรู้ เป็นต้น ในต่างประเทศได้เกิดสภาพดังกล่าวเช่นกัน อาทิ
ไต้หวัน เด็กและเยาวชนที่เติบโตช่วงเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว ถูกเรียกว่าเป็นldquo;เด็กสตรอเบอรี่rdquo; คือ ไม่ชอบทำงานหนัก เปลี่ยนงานบ่อย ทนต่อแรงบีบคั้นได้ไม่ดีนัก เป็นลักษณะผลสตรอเบอรี่ที่ช้ำง่ายเมื่อถูกกระแทก เด็กสตรอเบอรี่ในไต้หวันมี 3.5 ล้านคนจากประชากร 23 ล้านคน ซึ่งโตขึ้นมาช่วง ค.ศ.1980- 1990 แนวคิดเด็กและเยาวชนรุ่นนี้เปลี่ยนจาก ldquo;การทำงานหนักเป็นที่มาของความสำเร็จrdquo; เป็น ldquo;การมีสุขภาพดี การแต่งงานมีครอบครัว และชีวิตที่สะดวกสบายคือ ความสำเร็จrdquo; จนผู้ใหญ่ในสังคมไต้หวันออกมากล่าวว่า ต้องโทษระบบการศึกษาที่สอนเรื่องความอดทน มานะบากบั่น และวินัยน้อยมาก
ญี่ปุ่น ศ.มาโกโตะ คุโรซุมิ มหาวิทยาลัยโตเกียวกล่าวว่า ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นคุณลักษณะประจำชาติของคนญี่ปุ่น แต่เมื่อเข้าสู่ยุคเมจิ (ค.ศ.1869-1912) ญี่ปุ่นพัฒนาตนเองให้ทันสมัย วิถีดำเนินชีวิตคนญี่ปุ่นเริ่มเกี่ยวกับการบริโภคมากขึ้น และเน้นความต้องการตนเองเป็นหลัก ศ.ทาซูรุ อุชิ วิทยาลัยโกเบะ อ้างถึงหนังสือที่เขียนเรื่องคาร์ยู ชิโก (Karyu Shiko) ระบุว่าศตวรรษ 1970s ญี่ปุ่นผลิตสินค้าเพื่อบริโภคภายในประเทศครั้งละมาก ๆ ส่งผลให้คนญี่ปุ่นเป็นนักบริโภคนิยม เด็กที่เกิดช่วงศตวรรษ 1970s-1980s หรือช่วงเบบี้บูม แทบไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กลายเป็นเด็กที่เน้นความต้องการตนเองเป็นหลัก สิ่งนี้ยืนยันจากเสียงสะท้อนของครอบครัวอุปถัมภ์ในอังกฤษที่นักศึกษาญี่ปุ่นเข้าไปพักกล่าวว่า ทุกวันนักศึกษาญี่ปุ่นจะกินข้าวคนเดียว ไม่ทักทายผู้อื่น ไม่สนใจผู้ที่พักอยู่ด้วย นักศึกษาญี่ปุ่นบางคนให้เหตุผลว่า เพราะเขาเป็นคนจ่ายเงิน จึงไม่จำเป็นต้องทำในสิ่งที่คนอื่นคาดหวัง
แนวทางแก้ปัญหาและป้องกันเด็กช้ำง่ายและต่างคนต่างอยู่คือ ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสถาบันการศึกษาและผู้ปกครอง ควรสอนทักษะการคิดเป็นการติดอาวุธทางปัญญา ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของข้อมูลข่าวสารที่มักชักนำไปสู่ความฟุ่มเฟือย ความสนุก การเห็นเฉพาะตนเอง หรือไปในทางที่ไม่เหมาะสมจนเกินพอดี และสอนโดยหยั่งรากลึกให้เด็กมีคุณธรรมและมีจิตสาธารณะ ได้แก่ การเห็นคุณค่าความดีงาม มีความรับผิดชอบ มีวินัย อดทน รอคอย ทุ่มเททำงานหนัก เห็นแก่ผู้อื่นและส่วนรวม ฯลฯ ประการสำคัญ ควรส่งเสริมให้เด็กค้นหาเป้าหมายและมุ่งพัฒนาตนเองตามเป้าหมายอย่างสอดรับกัน
admin
Catagories: 
เมื่อ: 
0000-00-00